Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/60787
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorชาญวิทย์ โคธีรานุรักษ์-
dc.contributor.advisorอัจฉรา จันทร์ฉาย-
dc.contributor.advisorรัฐชัย ศีลาเจริญ-
dc.contributor.authorศักดิ์สิทธิ์ พรรัตนศรีกุล-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย-
dc.date.accessioned2018-12-03T02:43:22Z-
dc.date.available2018-12-03T02:43:22Z-
dc.date.issued2559-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/60787-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559-
dc.description.abstractแนวคิดการพัฒนาสุขภาพแบบองค์รวม (Holistic Health Approach) เป็นแนวคิดในการประสานองค์ความรู้ที่เป็นศาสตร์ต่าง ๆ ในแนวการพัฒนาความคิดใหม่ในการดูแลและเตรียมความพร้อมของตนเอง เพื่อสร้างสมดุลการดูแลด้วยตนเอง จัดเป็นการพัฒนาโดยการบูรณาการความรู้ทั้งที่เป็นศาสตร์และศิลป์ กระบวนทัศน์ปรับการเรียนรู้ เน้นการจัดสัดส่วนตามศักยภาพของแต่ละบุคคล การดูแลสุขภาวะแบบองค์รวมนี้จึงเป็นการริเริ่มสร้างกระบวนทัศน์ใหม่ทางการแพทย์ ให้เชื่อมโยงองค์ความรู้ต่าง ๆ กับการนำไปปฎิบัติ โดยเป็นระบบและมีแบบแผนที่ครอบคลุมศาสตร์ทางด้านร่างกาย จิตใจ สังคมและด้านเศรษฐศาสตร์ส่วนบุคคล เริ่มเรียนรู้ในตนเองอย่างลึกซึ้ง (Contemplative Practices) แล้วขยายศักยภาพให้อยู่ในจุดที่สมดุลในชีวิตอย่างมีสติ จนในที่สุดแต่ละบุคคลสามารถจัดการความรู้ให้เกิดประโยชน์ต่อชีวิตอย่างมีคุณภาพ มีความสุขและมั่งคงทางการเงินอย่างเศรษฐกิจพอเพียง วัตถุประสงค์ของงานวิจัยเพื่อศึกษาระบบการประเมินสุขภาพแบบองค์รวม เพื่อพัฒนาสร้างดัชนีแบบประเมินสุขภาพแบบองค์รวมทั้งสุขภาพร่างกาย จิตใจ สังคมและสุขภาพการเงินส่วนบุคคลเพื่อนำมาประยุกต์ใช้ในการพัฒนาระบบเก็บข้อมูลด้านสุขภาพแบบองค์รวม พัฒนานวัตกรรมเครื่องมือประเมินสุขภาพแบบองค์รวมในรูปแบบโปรแกรมและการวางแนวทางในการนำนวัตกรรมเทคโนโลยีการประเมินสุขภาพแบบองค์รวมไปสู่การใช้งาน วิธีการศึกษาในครั้งนี้ได้ข้อมูลเชิงคุณภาพจากการสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้เชี่ยวชาญทั้ง 4 ศาสตร์ทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ สังคมและการเงิน จำนวน 40 ท่าน รวมทั้งการวิจัยเชิงปริมาณจากกลุ่มตัวอย่างประชากรในกรุงเทพมหานครในช่วงอายุ 21 – 80 ปี จำนวน 807 ตัวอย่าง นำมาประมวลผลหาดัชนีที่สอดคล้องกับโมเดลของสุขภาพองค์รวม ทำการถ่วงน้ำหนักในแต่ละมิติ จนได้ดัชนีเชิงเดียวในแต่ละด้าน แล้วนำดัชนีมาตรวจสอบความถูกต้อง ความเที่ยงตรงกับกลุ่มตัวอย่างก่อน นำไปพัฒนาและสร้างเครื่องมือสุขภาพองค์รวมในรูปแบบโปรแกรม การตรวจสอบความถูกต้องและแม่นยำในระบบการทำงานรูปแบบโปรแกรม การประเมินการยอมรับเทคโนโลยีนวัตกรรมจากผู้ใช้และการวางแนวทางในการนำนวัตกรรมเทคโนโลยีการประเมินสุขภาพแบบองค์รวมไปสู่การใช้งาน ผลการศึกษา จากการวิจัยได้โมเดลดัชนีชี้วัดสุขภาพองค์รวมประกอบองค์ประกอบต่าง ๆ ในสุขภาพด้านร่างกาย จิตใจ สังคมและการเงิน การสัมภาษณ์ได้ค่าถ่วงน้ำหนักจากผู้เชี่ยวชาญ ร้อยละ 27.63, 25.08, 22.19, 25.14 ตามลำดับ โดยการวิจัยเชิงปริมาณได้ทดสอบค่าความเที่ยงตรง จะมีค่า Cronbach’s Alpha โดยภาพรวมเท่ากับ 0.952 วิเคราะห์ปัจจัยตัวประกอบ เพื่อจับกลุ่มตัวแปรต้นทั้งหมดไว้ในปัจจัยเดียวกัน ได้มิติสุขภาพองค์รวมเชิงเดียวในแต่ละมิติ จากนั้นนำมาวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของข้อมูลการถดถอยแบบพหุ ใช้ในการพยากรณ์ค่าใช้จ่ายต่าง ๆ เช่น ค่าใช้จ่ายภายในครอบครัว ทางสังคม ทางการแพทย์ (ค่าใช้จ่ายในการดูแลและป้องกัน การรักษาพยาบาล) และสภาวะสุขภาพองค์รวมซึ่งมาประกอบกับการวิจัยเชิงปริมาณในคะแนนดัชนีชี้วัดสุขภาพเชิงเดียว ได้ค่าคะแนนสุขภาพองค์รวมในแต่ละบุคคล ดังนี้ TOTAL HOLISTIC HEALTH SCORE (THHS) = (PSHS*Wp)+(MSHS*Wm)+(SSHS*Ws)+(FSHS*Wf) การคำนวณหาค่านํ้าหนักและสัดส่วนความสอดคล้องกันสามารถใช้ในการประเมินสุขภาพองค์รวมผ่านเทคโนโลยีนวัตกรรมโปรแกรมการประเมินสุขภาพองค์รวม และนำไปใช้งานได้จริงในรูปแบบ Web application พร้อมคำแนะนำในการดูแลสุขภาพในแต่ละมิติภายหลังการทดสอบความถูกต้องของฟังก์ชั่นการทำงาน ผ่านการทดสอบการยอมรับเทคโนโลยีนวัตกรรมโปรแกรมการประเมินสุขภาพองค์รวมนั้นได้ผลการยอมรับในฐานะผู้ใช้และผู้ซื้อโปรแกรมด้วยคะแนนเฉลี่ย 4.6, 4.2 ตามลำดับ ในการวางแนวทางในการนำนวัตกรรมเทคโนโลยีการประเมินสุขภาพแบบองค์รวมไปสู่การใช้งาน นำเสนอสู่ในเชิงพาณิชย์ ผ่านการประเมินความเป็นไปได้ทางการตลาด การดำเนินงานและการเงิน ในรูปแบบ Web application แบบ B2B, B2C-
dc.description.abstractalternativeConcept of development in holistic approach in healthcare is a combination of knowledge and innovation in prevention and providing care for a person as a whole. It is an integration of both science and art, and knowledge in life. Holistic approach was initially built to provide a new healthcare paradigm. The entire patient is evaluated and the physical, mental, social and even personal financial health are included in the treatment planning. Aging has become a topic of interest during the past few years as the life expectancy has increased, thus more number of retiring people in the society. Individual knowledge in management for aging is relevant for a good quality of life. Happiness, financial stability and future economic self-sufficiency, are also needed to take into account in the retirement plan. The purpose of this research was to study the effect of the holistic approached health system on self-sufficient aging in the aging society in Thailand. The study design included the structured interviews from 4 specialties: medicine, psychology, social science and personal finance, and the survey questionnaire from 807 samples (21 – 80 year old) in Bangkok, Thailand. To analyze the data, the interviews were transcribed and analyzed qualitatively by identifying emerging themes. The questionnaires were analyzed quantitatively using the SPSS program. Study mean, standard deviation, the Pearson product moment correlation coefficient, factor analysis, single health index and multiple linear regression were analyzed. The Innovative Holistic Health Evaluation Program (IHHEP) was then developed and validity and reliability were tested. The data from physical, mental, social and personal financial health index were weighted 27.63, 25.08, 22.19, and 25.14 % respectively for adjustment. Each dimension then tested quantitatively for reliability (Cronbach’s Alpha was 0.952). Analyzing factors were then grouped to the same dimensions before analyzing. The multiple linear regression composed of forecasting equations such as totally family expenses, social expenses and medical expense (both for prevention and treatment). The total holistic health score was calculated using the health dimensions (TOTAL HOLISTIC HEALTH SCORE (THHS) = (PSHS*Wp)+(MSHS*Wm)+(SSHS*Ws)+(FSHS*Wf)). IHHEP was then developed. It was rated 4.6 point and 4.2 point (out of 5 score) from the buyers and the users respectively. The plan was then to launch IHHEP in a web- based application platform in both B2B and B2C in preparing for the future self-sufficient aging healthcare system.-
dc.language.isoth-
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.relation.urihttp://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2016.381-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.subjectการดูแลสุขภาพด้วยตนเอง-
dc.subjectพฤติกรรมสุขภาพ-
dc.subjectโปรแกรมประยุกต์บนเว็บ-
dc.subjectSelf-care, Health-
dc.subjectHealth behavior-
dc.subjectWeb applications-
dc.subject.classificationMultidisciplinary-
dc.subject.classificationBusiness-
dc.subject.classificationHealth Professions-
dc.subject.classificationSocial Sciences-
dc.titleนวัตกรรมเทคโนโลยีการประเมินสุขภาพแบบองค์รวม-
dc.title.alternativeInnovative holistic health evaluation-
dc.typeThesis-
dc.degree.nameวิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิต-
dc.degree.levelปริญญาเอก-
dc.degree.disciplineธุรกิจเทคโนโลยีและการจัดการนวัตกรรม-
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.email.advisorkcharnvit@hotmail.com-
dc.email.advisorachandrachai@gmail.com-
dc.email.advisorRuttachai.S@Chula.ac.th-
dc.subject.keywordAGING SOCIETY-
dc.subject.keywordSELF-SUFFICIENT AGING-
dc.subject.keywordINDEPENDENT RETIREMENT-
dc.subject.keywordSUCCESSFUL AGING-
dc.subject.keywordHEALTHY AGING-
dc.identifier.DOI10.58837/CHULA.THE.2016.381-
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5487812420.pdf16.3 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.