Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/60809
Title: การศึกษาต้นทุนการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการใช้วัสดุทดแทนปูนเม็ดในอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ของประเทศไทย
Other Titles: Greenhouse gas abatement cost of clinker substitute in Thailand cement industry
Authors: ปรียานุช แช่มศิริวัฒน์
Advisors: วีรินทร์ หวังจิรนิรันดร์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: Weerin.W@Chula.ac.th
Subjects: ก๊าซเรือนกระจก -- การลดปริมาณ
อุตสาหกรรมปูนซีเมนต์
Greenhouse gas mitigation
Cement industries
Issue Date: 2558
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยนี้ศึกษาต้นทุนการลดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากแนวการนำเถ้าซึ่งเป็นวัสดุเหลือทิ้งจากโรงงานอุตสาหกรรมไปใช้เป็นวัสดุทดแทนปูนเม็ดในอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ของประเทศไทย ประกอบไปด้วย เถ้าลอย เถ้าชานอ้อย และเถ้าปาล์มน้ำมัน ทำการศึกษาโดยแบ่งออกเป็น 3 กรณีคือกรณีที่อัตราค่าใช้จ่ายในปัจจุบัน กรณีที่มีการซื้อขาย และกรณีค่าใช้จ่ายที่สูงขึ้นในอนาคต การวิเคราะห์จะเป็นไปตามทฤษฎีของต้นทุนและประโยชน์ที่เกิดขึ้น ส่วนของต้นทุน คือ ต้นทุนของเถ้ารวมกับค่าขนส่ง ส่วนของประโยชน์ที่เกิดขึ้นคือ ต้นทุนการดำเนินงานที่เกิดจากปริมาณปูนเม็ดที่ลดลง จะวิเคราะห์ที่อัตราส่วน 1:1 คือปริมาณปูนเม็ดลดลง 1 ตันเท่ากับใช้ปริมาณวัสดุทดแทนปูนเม็ด 1 ตัน ปริมาณปูนเม็ดที่ลดลงเป็นข้อมูลที่ได้จากงานวิจัยอื่นที่ได้มีการศึกษาไว้แล้ว ผลการวิเคราะห์พบว่าต้นทุนการลดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ของทั้ง 3 กรณี นั้นมีต้นทุนต่ำ โดยผลการวิเคราะห์ทั้ง 3 กรณี เถ้าที่มีต้นทุนที่ต่ำที่สุดคือเถ้าชานอ้อย เถ้าลอยและเถ้าปาล์มน้ำมัน ผลการวิเคราะห์ในกรณีที่ 1 มีต้นทุนเท่ากับ -4596.30 THB/tCO2 ,-3533.24 THB/tCO2 และ-3265.21 THB/tCO2 ตามลำดับ ในกรณีที่ 2 มีต้นทุนเท่ากับ -4390.24 THB/tCO2 , -3533.24 THB/tCO2 และ-3059.15 THB/tCO2 ตามลำดับ ในกรณีที่ 3 มีต้นทุนเท่ากับ -2944.17 THB/tCO2 ,-1311.81 THB/tCO2 และ -408.75 THB/tCO2 ตามลำดับ และปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อต้นทุนการลดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์มากที่สุดคือ อัตราค่าขนส่ง การวิเคราะห์หาระยะทางการขนส่งที่ไกลที่สุดที่จะไม่ทำให้ต้นทุนมากกว่าศูนย์ พบว่าในกรณีที่1 และ 2 มีระยะทางการขนส่งที่ค่อนข้างครอบคลุมทุกเส้นทางการขนส่ง  ส่วนในกรณีที่ 3 นั้นเส้นทางในการขนส่งบางเส้นทางที่มีระยะทางไกลนั้นไม่สามารถนำไปใช้ได้ เนื่องจากจะส่งผลกระทบต่อต้นทุน แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นโรงงานปูนซีเมนต์ยังสามารถเลือกรับซื้อเถ้าจากพื้นที่ใกล้เคียงได้ โดยสรุปแล้วแนวทางการนำเถ้าไปใช้เป็นวัสดุทดแทนปูนเม็ดในอุสาหกรรมปูนซีเมนต์เป็นแนวทางที่มีต้นทุนต่ำ และเมื่อเปรียบเทียบกับศักยภาพการลดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ยิ่งถือได้ว่าเป็นแนวทางที่มีประสิทธิภาพ ควรมีการสนับสนุนให้มีมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้ประกอบการและผู้บริโภค
Other Abstract: This research study the CO2 abatement costs by using ash waste from industrial as a clinker substitution  in  Thailand cement industry with consists of fly ash, bagasse ash and palm oil fuel ash. The study is divided into three cases, First, the case that in the current rates. Second, the case of trading and third in case higher costs in the future The analysis based on the theory of cost and benefit. Part of the cost is the cost of ash combined with transportation rate. Part of the benefit is operating costs resulting from a reduced quantity of clinker and assumption is the quantity of clinker reduces to 1 ton is equal to 1 ton of ash used as a clinker substitution. Result of the CO2 abatement cost of all 3 cases, the ash has the lowest cost is bagasse ash and fly ash. The ash has the highest cost is palm oil fuel ash. Result of case 1 is -4596.30 THB/tCO2, -3533.24 THB/tCO2 and -3265.21 THB/tCO2 respectively. Result of case 2 is -4390.24 THB/tCO2 , -3533.24 THB/tCO2 and -3059.15 THB/tCO2 respectively. Result of case 3 is -2944.17 THB/tCO2,-1311.81 THB/tCO2 and -408.75 THB/tCO2 respectively. The factors are most affected to the changes of CO2 abatement cost is transportation rate. The result from maximum distance analysis of all three cases, Found that incase 1 and 2 the almost covers all route to transport. But in case 3 some routes to transport have distances more than maximum distance In summary, the using ash as a clinker substitute material in Thailand cement industry is the low cost and effective approach. There should be a policy to encourage the industrial standards for cement with each ash to build confidence with the operators and consumers
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: เทคโนโลยีและการจัดการพลังงาน
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/60809
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2015.1375
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2015.1375
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5787566320.pdf4.51 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.