Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/60879
Title: ความสัมพันธ์ระหว่างความแปรผันทางพันธุกรรมของยีนซิพ2ดี6 ยีนเอบีซีบี1 และปัจจัยที่ไม่เกี่ยวข้องกับพันธุกรรมกับการตอบสนองทางคลินิกต่อยาริสเพอริโดนในผู้ป่วยจิตเภทชาวไทย
Other Titles: Association of genetic variants in CYP2D6, ABCB1 genes and non-genetic factors with clinical response to risperidone in Thai schizophrenic patients
Authors: วัชรดนัย ไตรสุวรรณ
Advisors: พรพิมล กิจสนาโยธิน
รัชนี รอดศิริ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะเภสัชศาสตร์
Subjects: ยาต้านโรคจิต
จิตเภท -- การรักษาด้วยยา
Antipsychotic drugs
Schizophrenia
Issue Date: 2559
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ริสเพอริโดนเป็นยาต้านโรคจิตรุ่นที่ 2 ซึ่งถูกบรรจุอยู่ในรายการยาบัญชียาหลักแห่งชาติ แม้ว่าริสเพอริโดนมีประสิทธิภาพสูงในการรักษาโรคจิตเภท แต่มีผู้ป่วยบางรายที่ไม่ตอบสนองต่อยา การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยทางพันธุกรรมและปัจจัยที่ไม่เกี่ยวข้องกับพันธุกรรมที่ส่งผลต่อการตอบสนองยาริสเพอริโดนในผู้ป่วยจิตเภท การศึกษานี้เป็นการศึกษาเชิงสังเกตแบบติดตามไปข้างหน้า โดยมีจำนวนผู้ป่วยจิตเภทที่ถูกวินิจฉัยตามเกณฑ์ของ DSM-IV 50 ราย ซึ่งได้รับการรักษาด้วยยาริสเพอริโดนจากแผนกผู้ป่วยใน ของโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า ตัวอย่างจีโนมิกดีเอ็นเอจากผู้ป่วยแต่ละรายถูกนำไปตรวจหาลักษณะพหุสัณฐานได้แก่ CYP2D6*2 CYP2D6*10 และ ABCB1 3435C>T การตอบสนองต่อยาริสเพอริโดนประเมินโดย positive and negative syndrome scale (PANSS) ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยทางพันธุกรรมและปัจจัยที่ไม่เกี่ยวข้องกับพันธุกรรมกับผลการตอบสนองต่อยาริสเพอริโดนวิเคราะห์ด้วยสถิติ multiple linear regression และ multiple logistic regression ผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยทางพันธุกรรมได้แก่ CYP2D6*10 และ ABCB1 T อัลลีล และปัจจัยที่ไม่เกี่ยวข้องกับพันธุกรรม คืออายุและระยะเวลาของการป่วยเป็นโรค มีความสัมพันธ์กับการตอบสนองต่อยาริสเพอริโดนที่แสดงโดยร้อยละการลดลงของคะแนน PANSS ในหมวดอาการด้านบวก ปัจจัยดังกล่าวสามารถอธิบายความแตกต่างในการตอบสนองต่อยาได้ร้อยละ 48.3 (R2 = 0.483, p-value <0.001) โดยพบว่าการตอบสนองที่ดีขึ้นมีความสัมพันธ์กับการมีจีโนไทป์แบบ CYP2D6 *10 homozygous (adjusted OR = 16.135, p=0.019)  ABCB1 3435 T อัลลีล (adjusted OR = 4.921, p=0.038)  และอายุ (adjusted OR = 1.171, p=0.032)  การศึกษานี้แสดงให้เห็นว่าไม่เพียงแต่ปัจจัยที่ไม่ใช่พันธุกรรมที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการรักษาด้วยยาริสเพอริโดน ปัจจัยทางพันธุกรรมก็มีผลต่อความแตกต่างในการตอบสนองของยาในแต่ละบุคคลด้วย ผลการศึกษานี้เป็นข้อมูลเบื้องต้นในการศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับการรักษาเฉพาะบุคคลในโรคจิตเภท
Other Abstract: Risperidone is an atypical antipsychotic drug which is included in the National List of Essential Medicine. Although risperidone has high efficacy in schizophrenia, some patients do not respond to risperidone treatment. The present study aimed to investigate the association between genetic and non-genetic factors and the response to risperidone treatment in schizophrenic patients. This was an observational prospective study. Fifty-schizophrenic in-patients of Phramongkutklao Hospital who were diagnosed according to the DSM-IV criteria and treated with risperidone were included in this study. Genomic DNA from each patient were examined for the polymorphisms of CYP2D6*2, CYP2D6*10, and ABCB1 3435C>T. The treatment response was evaluated by positive and negative syndrome scale (PANSS). The association between genetic and non-genetic factors and treatment response were statistically determined by multiple linear regression and multiple logistic regression. The findings showed that genetic factors including CYP2D6*10 and ABCB1 T allele and non-genetic factors including age and duration of illness were associated with patients’ response to risperidone treatment, as shown by percentage of a decrease of PANSS positive subscale score. These factors could explain the variability of treatment response by 48.3% (R2 = 0.483, p-value <0.001). The better response was related to the presence of CYP2D6*10 homozygous genotypes (adjusted OR = 16.135, p=0.019), ABCB1 3435 T allele (adjusted OR = 4.921, p=0.038), and age (adjusted OR = 1.171, p=0.032). The study indicated that not only non-genetic factors influence the efficacy of risperidone treatment, but genetic factors also play a role in the inter-individual variability in risperidone response. The results from this study are the initial information for further study of personalized treatment in schizophrenia.
Description: วิทยานิพนธ์ (ภ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559
Degree Name: เภสัชศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: เภสัชวิทยาและพิษวิทยา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/60879
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2016.100
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2016.100
Type: Thesis
Appears in Collections:Pharm - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5676216833.pdf4.42 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.