Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/60907
Title: | Microencapsulation of andrographolide using konjac glucomannan hydrolysate by spray drying technique |
Other Titles: | ไมโครเอนแคปซูเลชันแอนโดรกราโฟไลด์ที่ใช้คอนยักกลูโคแมนแนนไฮโดรไลเสตด้วยเทคนิคการทำแห้งแบบพ่น |
Authors: | Supichar Wattanaprasert |
Advisors: | Chaleeda Borompichaichartkul George Srzednicki Pilanee Vaithanomsat |
Other author: | Chulalongkorn University. Faculty of Science |
Subjects: | Microencapsulation Plant bioactive compounds Spray drying ไมโครเอนแคปซูเลชัน สารออกฤทธิ์ทางชีวภาพจากพืช การอบแห้งแบบพ่นกระจาย |
Issue Date: | 2015 |
Publisher: | Chulalongkorn University |
Abstract: | This research aimed at developing a suitable coating material from konjac glucomannan (KGM) for encapsulating a plant bioactive compound, andrographolide, using spray drying. There are three steps of study. In the first step, a suitable process for modifying the rheological properties of KGM solution by enzymatic treatment was developed. Mannanase (1500 units of enzyme) per 9% (w/w) of KGM solution was used in the study. The concentration of KGM solution was varied from 9 to 18% (w/w). It was found that 12% (w/w) was the optimum KGM concentration to obtain the konjac glucomannan hydrolysate (KGMH) with the viscosity less than 100 mPa·s. High Performance Liquid Chromatography (HPLC) analysis of hydrolyzed KGM showed that more than 27% of DP4-DP7 oligosaccharides were obtained. The second step, the solution was then used as coating material in spray drying with inlet air temperature of 170 °C and outlet air temperature of 85±3 °C. It was found that KGMH which was prepared from 12% (w/w) KGM was suitable for coating 2% (w/w) andrographolide. Its efficiency of encapsulation was also higher than using KGMH combined with gamma-cyclodextrin or beta-cyclodextrin. To produce a bioactive microcapsule, effect of spray drying temperature (outlet air temperature, 75±3 °C and 85±3 °C and inlet air temperature 150 °C, 170 °C and 190 °C) and concentration of the KGM (9%, 12%, 15%, 18% and 21% (w/w)) on encapsulation efficiency and yield of andrographolide microcapsules was studied. In the third step, the results indicated that andrographolide microcapsules produced at outlet air temperature at 85±3 °C had significantly (p≤0.05) higher % encapsulation and % product yield than those at 75±3 °C. Increasing inlet air temperature to 170 °C and 190 °C resulted in a higher significantly (p≤0.05) % encapsulation yield than at 150 °C. Therefore, the effect of inlet air temperature and concentration of KGM can effect with encapsulation efficiency of microcapsules. The 18% and 21% (w/w) concentration of KGM can enhance the retention of andrographolide in the microcapsules more than those of 9%, 12%, 15% (w/w). It was found that increasing the concentration of KGM during enzymatic hydrolysis had the same effect as increasing the inlet temperature to 170 °C and 190 °C. Physical and chemical properties of the microcapsules did not differ significantly (p>0.05). The best condition is to use 21% (w/w) of KGM along with an inlet air temperature of 190 °C and outlet air temperature of 85±3 °C. It provided the best retention efficiency and yield of androprapholide. In vitro testing of release of andrographolide in a simulation model of piglet’s digestive system showed that more than 70% of andrographolide remained in the microcapsules and can be further released to the target site. |
Other Abstract: | งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ในการพัฒนาสารเคลือบจากผงบุก เพื่อใช้ในการทำไมโครแคปซูล (encapsulation) ของสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพจากพืช คือ แอนโดรกราโฟไลด์ โดยวิธีการทำแห้งแบบพ่น (spray drying) โดยมีขั้นตอนการทดลองดังนี้ขั้นตอนที่หนึ่งการใช้เอนไซม์ mannanase 1,500 Unit เพื่อปรับปรุงคุณสมบัติการไหลของสารละลายบุก 9% (w/w) ให้มีความหนืดที่เหมาะสมสำหรับนำไปทำแห้งแบบพ่น จากผลทดลองพบว่าความเข้มข้นของสารละลายบุก 12% (w/w) เป็นความเข้มข้นที่เหมาะสมที่ทำให้ความหนืดของสาระลายบุกไฮโดรไลเสต (konjac glucomannan hydrolysate, KGMH) มีค่าน้อยกว่า 100 mPa·s และผลการวิเคราะห์องค์ประกอบของสารละลายบุกไฮโดรไลเสตที่ได้ โดยเทคนิค HPLC พบว่า มีปริมาณโอลิโกแซคคาไลค์ (DP4-DP7) เป็นองค์ประกอบมากกว่า 27% ขั้นตอนที่สองคือการศึกษาการใช้สารละลายบุกไฮโดรไลเสตเป็นสารเคลือบโดยวิธีการทำแห้งแบบพ่น และเปรียบเทียบประสิทธิภาพในการทำไมโครแคปซูลโดยใช้สารละลายบุกไฮโดรไลเสตเพียงอย่างเดียว กับการใช้สารละลายบุกไฮโดรไลเสตร่วมกับสารเคลือบอื่น จากผลการทดลองพบว่า ที่อุณหภูมิลมร้อนขาเข้า 170 °C และอุณหภูมิลมร้อนขาออก 85±3°C สารละลายบุกไฮโดรไลเสตที่เตรียมจากสารละลายบุก 12% (w/w) เป็นความเข้มข้นที่เหมาะสมสำหรับการเคลือบและกัก-เก็บสารแอนโดรกราโฟไลด์ 2% (w/w) และผลการศึกษาประสิทธิภาพในการทำไมโครแคปซูล พบว่า การใช้สารละลายบุกไฮโดรไลเสตเพียงอย่างเดียวให้ประสิทธิภาพดีกว่าการใช้ สารละลายบุกไฮโดรไลเสต ร่วมกับ gamma-cyclodextrin หรือ beta-cyclodextrin ขั้นตอนที่สามคือการศึกษาผลของการใช้สารละลายบุกไฮโดรไลเสตในการผลิตไมโครแคปซูลโดยวิธีการทำแห้งแบบพ่นต่อประสิทธิภาพการกักเก็บสารแอนโดรกราโฟไลด์ และร้อยละผลผลิตของการผลิตไมโครแคปซูล โดยมีปัจจัยที่ทำการศึกษา ดังนี้อุณหภูมิลมร้อนขาเข้า 150 °C, 170 °C และ 190 °C, อุณหภูมิลมร้อนขาออก 75±3 °C และ 85±3 °C และความเข้มข้นของสารละลายบุกไฮโดรไลเสต 9%, 12%, 15%, 18% และ 21% (w/w) จากผลการทดลองพบว่า ที่อุณหภูมิลมร้อนขาออก 85±3 °C ให้ร้อยละผลผลิตของสารไมโครแคปซูลแอนโดรกราโฟไลด์สูงกว่าการใช้อุณหภูมิลมร้อนขาออก 75±3 °C อย่างมีนัยสำคัญ และพบว่าการเพิ่มอุณหภูมิลมร้อนขาเข้าสูงขึ้นทำให้ร้อยละผลผลิตของไมโครแคปซูลเพิ่มสูงขึ้นด้วย โดยอุณหภูมิลมร้อนขาเข้า 170 °C และ 190 °C ให้ร้อยละผลผลิตสูงกว่าการใช้อุณหภูมิลมร้อนขาเข้า 150 °C อย่างมีนัยสำคัญ ซึ่งอุณหภูมิลมร้อนขาเข้ามีผลต่อร้อยละผลผลิตของสารไมโครแคปซูล นอกจากนี้พบว่าการเพิ่มความเข้มข้นของสารละลายบุกในการเตรียมสารละลายบุกไฮโดรไลเสตช่วยเพิ่มปริมาณสารแอนโดรกราโฟไลด์ในไมโครแคปซูล โดยการใช้ความเข้มข้นของสารละลายบุก 18% และ 21% (w/w) ให้ปริมาณสารแอนโดรกราโฟไลด์ ในไมโครแคปซูลสูงกว่าการใช้ความเข้มข้น 9%, 12% และ 15% (w/w) แต่สมบัติทางเคมีและทางกายภาพของไมโครแคปซูลที่ผลิตได้ในแต่ละความเข้มข้นไม่แตกต่างกัน จากผลการทดลองสามารถสรุปได้ว่า สภาวะที่เหมาะสมที่สุดในการผลิตไมโครแคปซูลของสารแอนโดรกราโฟไลด์ คือ การใช้ความเข้มข้นของสารละลายบุกไฮโดรไลเสตที่เตรียมจากสารละลายบุก 21% (w/w) ร่วมกับการทำแห้งแบบพ่นโดยใช้อุณหภูมิลมร้อนขาเข้า 190 °C และอุณหภูมิลมร้อนขาออก 85±3°C และขั้นตอนสุดท้ายการทดสอบความคงตัวของไมโครแคปซูลแอนโดรกราโฟไลด์ ในระบบจำลอง (In vitro) ทางเดินอาหารของสุกร จากผลการทดลองพบว่า ไมโครแคปซูลแอนโดรกราโฟไลด์มากกว่าร้อยละ 70 สามารถทนต่อระบบการย่อยของสุกรซึ่งจะสามารถเคลื่อนผ่านและถูกดูดซึมในสำไส้ของสุกรต่อไปได้ |
Description: | Thesis (Ph.D.)--Chulalongkorn University, 2015 |
Degree Name: | Doctor of Philosophy |
Degree Level: | Doctoral Degree |
Degree Discipline: | Biotechnology |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/60907 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2015.346 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2015.346 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Sci - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5373919523.pdf | 5.16 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.