Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/60950
Title: Stability and nano-encapsulation of oxyresveratrol
Other Titles: เสถียรภาพและการกักเก็บระดับนาโนเมตรของออกซีเรสเวอราทรอล
Authors: Saranyoo Sornkamnird
Advisors: Pattara Sawasdee
Other author: Chulalongkorn University. Faculty of Science
Subjects: Plant bioactive compounds
Artocarpus lakoocha
สารออกฤทธิ์ทางชีวภาพจากพืช
มะหาด (พืช)
Issue Date: 2014
Publisher: Chulalongkorn University
Abstract: The stilbene trans-oxyresveratrol is an active compound from the heartwoods of Artocarpus Lakoocha. Its stability towards light and temperature was studied compared to that of trans-resveratrol. The results revealed that trans-isomers of oxyresveratrol and resveratrol were stable towards the fluorescent light and temperature within 7 days. The UV-A radiation caused the isomerization from trans-isomer to be cis-isomer in oxyresveratrol faster than resveratrol. Cis-oxyresveratrol rapidly isomerized to be trans-oxyresveratrol via thermal process. In contrast to resveratrol, cis-resveratrol changed to be trans-resveratrol via both thermal and light pathways. Moreover, trans- and cis-isomers both of oxyresveratrol and resveratrol showed the same anti-oxidation activity. Trans-oxyresveratrol showed higher anti-tyrosinase activity than cis-oxyresveratrol while both isomers of resveratrol had low activity. Trans-oxyresveratrol-loaded nanospheres were prepared using ethyl- and methyl-cellulose blend as the polymeric shell material. The 2:1 ratio of cellulose blend and trans-oxyresveratrol gave nanospheres with the average size of 190 nm and the highest encapsulation efficiency percentage (76%). These preparing nanospheres showed a sustained release of trans-OXY at pH 5.5. In addition, trans-oxyresveratrol-loaded nanospheres can penetrated the skin barrier and accumulated at the hair folicles of the porcine ear detected by confocal laser scanning fluorescence microscopy.
Other Abstract: ทรานส์ออกซีเรสเวอราทรอล เป็นสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพ ที่พบได้จากแก่นของต้นมะหาด ได้ถูกนำมาศึกษาความเสถียรต่อแสงและอุณหภูมิ โดยทำการศึกษาเปรียบเทียบกับทรานส์เรสเวอราทรอล ผลการศึกษาพบว่าทรานส์ออกซีเรสเวอราทรอลและทรานส์เรสเวอราทรอลมีความเสถียรต่อแสงฟลูออเรสเซนต์และอุณหภูมิเป็นระยะเวลา 7 วัน ในขณะที่รังสียูวีเอ เป็นสาเหตุที่ทำให้ทรานส์ออกซีเรสเวอราทรอลและทรานส์เรสเวอราทรอลเปลี่ยนโครงสร้างกลายเป็นซิส โดยทรานส์ออกซีเรสเวอราทรอลจะเกิดการเปลี่ยนแปลงได้เร็วกว่าทรานส์เรสเวอราทรอล ซิสออกซีเรสเวอราทรอลจะเปลี่ยนแปลงโครงสร้างกลับมาเป็นแบบทรานส์อีกครั้งเมื่อถูกกระตุ้นด้วยอุณหภูมิ ในขณะที่ซิสเรสเวอราทรอลสามารถเปลี่ยนโครงสร้างกลับมาเป็นทรานส์อีกครั้งเมื่อถูกกระตุ้นด้วยอุณหภูมิหรือแสง จากการศึกษาฤทธิ์ยับยั้งอนุมูลอิสระ โครงสร้างแบบทรานส์และซิสให้ผลที่ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทั้งออกซีเรสเวอราทรอลและเรสเวอราทรอล แต่ทรานส์ออกซีเรสเวอราทรอลแสดงฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ไทโรซิเนสได้ดีกว่าโครงสร้าแบบซิส ส่วนเรสเวอราทรอลไม่แสดงฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ไทโรซิเนส เมื่อทำการกักเก็บทรานส์ออกซีเรสเวอราทรอลลงในอนุภาคระดับนาโนเมตรโดยใช้เมทิลและเอทิลเซลลูโลส ที่อัตราส่วนเซลลูโลสต่อทรานส์ออกซีเรสเวอราทรอล 2:1 พบว่าอนุภาคที่เตรียมได้มีขนาด 190 นาโนเมตร มีประสิทธิภาพการห่อหุ้ม 76% อนุภาคที่เตรียมได้นี้ สามารถควบคุมให้เกิดการปลดปล่อย ทรานส์ออกซีเรสเวอราทรอลออกมาอย่างช้า ๆ ที่ pH 5.5 และจากการศึกษาด้วยกล้องจุลทรรศน์แบบคอนโฟคอลชนิดที่ใช้เลเซอร์ในการสแกน พบว่าอนุภาคที่กักเก็บทรานส์ออกซีเรสเวอราทรอลสามารถซึมผ่านผิวหนังบริเวณใบหูของหมูลงไปสะสมอยู่ที่บริเวณรอบรูขุมขน
Description: Thesis (M.Sc.)--Chulalongkorn University, 2014
Degree Name: Master of Science
Degree Level: Master's Degree
Degree Discipline: Chemistry
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/60950
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2014.1470
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2014.1470
Type: Thesis
Appears in Collections:Sci - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5572120323.pdf3.85 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.