Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/61179
Title: กลวิธีการเล่าเรื่องและการใช้สัญลักษณ์ในวรรณกรรมของท์ซุฌิมะ ยูโกะ
Other Titles: Narrative techniques and use of symbols in Tsushima YūKO’S literary works
Authors: ชยาพร ปรีชาปัญญา
Advisors: เดือนเต็ม กฤษดาธานนท์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะอักษรศาสตร์
Advisor's Email: Duantem.K@Chula.ac.th
Subjects: ท์ซุฌิมะ, ยูโกะ
วรรณคดีญี่ปุ่น -- ประวัติและวิจารณ์
Tsushima, Yūko
Japanese literature -- History and criticism
Issue Date: 2558
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากลวิธีการเล่าเรื่องและการใช้สัญลักษณ์ในวรรณกรรมท์ซุฌิมะยูโกะ นักเขียนหญิงชาวญี่ปุ่นผู้รังสรรค์งานเขียนในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2และวิเคราะห์ถึงความสัมพันธ์ระหว่างแม่-ลูก ในวรรณกรรมทั้งห้าเรื่อง ได้แก่ โจจิ ฮิกะริโนะเรียวบุน โยะรุโนะฮิกะรินิ โอวะเระเตะ มะฮิรุเอะ นาราเระโพโตะ จากการศึกษาพบว่า ในแต่ละช่วงชีวิตของท์ซุฌิมะ ยูโกะมีอิทธิพลต่อการรังสรรค์ผลงานอย่างมาก ทำให้กลวิธีการเล่าเรื่องและการใช้สัญลักษณ์มีความเปลี่ยนแปลง โดย ผลงานสองเรื่องแรก คือ โจจิ และ ฮิกะริโนะเรียวบุน จะใช้กลวิธีการเล่าเรื่องและการใช้สัญลักษณ์เพื่อนำเสนอภาพของตัวละครที่มีสถานะเป็นแม่เลี้ยงเดี่ยว ซึ่งเป็นลักษณะแม่รูปแบบใหม่ที่แตกต่างจากที่สังคมรับรู้ แต่เมื่อภายหลังจากลูกชายเสียชีวิตส่งผลให้กลวิธีการเล่าเรื่องและการใช้สัญลักษณ์ได้เปลี่ยนแปลงไปดังปรากฏในผลงานเรื่อง โยะรุโนะฮิกะรินิโอะวะเระเตะ และ มะฮิรุเอะ จะใช้กลวิธีการเล่าเรื่องและการใช้สัญลักษณ์เพื่อปลอบประโลมจิตใจของแม่ที่สูญเสียลูกชายและย้อนมองตนเองเพื่อทบทวนความสัมพันธ์ระหว่างตนเองและแม่ ส่วนผลงานเรื่อง นาราเระโพโตะ ใช้กลวิธีการเล่าเรื่องและสัญลักษณ์ที่แตกต่างออกไป คือตัวละครลูกชายเป็นผู้เล่าเรื่อง ได้มีการใช้และการนำเอาวรรณกรรมโบราณที่เกี่ยวข้องกับพุทธศาสนา รวมถึงสัญลักษณ์ที่เกี่ยวข้องกับศาสนาพุทธ เพื่อแสดงความไม่เท่าเทียมระหว่างระหว่างชายหญิง จากประเด็นทั้งที่กล่าวมาข้างต้น ทำให้ผู้วิจัยได้ตระหนักเกี่ยวกับประเด็นเกี่ยวกับความคาดหวังทางสังคมที่มีต่อสตรี และจะเห็นได้อย่างชัดเจนว่าผู้เขียนได้นำเสนอภาพของแม่ที่มีชีวิตอย่างอิสระ มีความเป็นปัจเจกชน ผู้เลี้ยงดูบุตรให้เติบโตเป็นมนุษย์ที่มีความรู้สึก ความคิดในฐานะบุคคลคนหนึ่งมากกว่าการมุ่งหวังให้ลูกเติบโตตามความคาดหวังของสังคม
Other Abstract: This thesis aims to study at the narrative techniques and the use of symbols in the postwar female writer; Tsushima Yūko’s literary works. This thesis also aims to analyze the mother-child relationship in the following five literary works: Chōji , Hikari no Ryōbun , Yoru no Hikari ni Owarete , Mahiru e and Nara Repōto . The research shows that every period of Tsushima Yūko’s life influence her literary works. It effects the changes of her narrative techniques and the use of symbols in her works that are gradually changed. Firstly, the narrative techniques and the use of symbols in Chōji and Hikari no Ryōbun are used for presenting the image of a single mom character; a new type of mother whose character does not meet the social expectations. Secondly, after the death of her son, the narrative techniques and the use of symbols in Yoru no Hikari ni Owarete and Mahiru e are changed to use for consoling the mother who has lost her son and look back at herself to reconsider the relationship between herself and her mother. Finally, the narrative techniques and the use of symbols in Nara Repōto are different from other works. The son character is now a narrator in the story. There also are the modifications of Buddhist related to classical literature and the Buddhist symbols in this work to reflect the un-equality between male and female. From this research, the researcher comes to realize about the social expectations towards Japanese women after the WW II period. It is obviously seen that the writer try to present the image of the independent mother who has her own free will and raise her child to become an individual who has feeling and thoughts as than one who only follow the social expectations.
Description: วิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558
Degree Name: อักษรศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ภาษาญี่ปุ่น
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/61179
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2015.559
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2015.559
Type: Thesis
Appears in Collections:Arts - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5580115522.pdf6.44 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.