Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/61200
Title: แนวทางการพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่นกลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ เรื่อง การทอผ้าลายตาจัก สำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 3 จังหวัดกาญจนบุรี
Other Titles: Guidelines for development of a local curriculum of art learning area on Ta-Jug hand weaving for ninth grade students in Kanchanaburi Province
Authors: วรามัย ใจมั่น
Advisors: วัชรินทร์ ฐิติอดิศัย
ปุณณรัตน์ พิชญไพบูลย์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: No information provided
Poonarat.P@Chula.ac.th
Subjects: การวางแผนหลักสูตร
ศิลปกรรม -- การศึกษาและการสอน (มัธยมศึกษา)
การทอผ้า -- ไทย -- กาญจนบุรี
Curriculum planning
Art -- Study and teaching (Secondary)
Weaving -- Thailand -- Kanchanaburi
Issue Date: 2553
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ศึกษาสภาพและขั้นตอนพื้นฐานของการจัดหลักสูตรท้องถิ่นกลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ และเพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่นกลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะเรื่อง การทอผ้าลายตาจัก สำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 3 ในด้านการกำหนดวัตถุประสงค์ เนื้อหา กิจกรรมการเรียนการสอนและสื่อการเรียนรู้ และการวัดการประเมินผล ประชากรและกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย ครูผู้สอนวิชาศิลปศึกษาด้านทัศนศิลป์ในโรงเรียนมัธยมศึกษาจังหวัดกาญจนบุรี จำนวน 33 คน ผู้อำนวยการโรงเรียนมัธยมศึกษาในจังหวัดกาญจนบุรี จำนวน 33 คน ศึกษานิเทศก์ด้านการนิเทศและติดตามผลกลุ่มสาระศิลปะด้านทัศนศิลป์ และด้านการนิเทศและติดตามผลทางด้านหลักสูตร ในโรงเรียนมัธยมสังกัดสำนักงานการศึกษาจังหวัดกาญจนบุรี จำนวน 11 คน รวมถึงผู้ผลิตผ้าทอลายตาจักเป็นอาชีพ จำนวน 15 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า ในด้านสภาพปัญหาในการจัดการเรียนการสอนโดยทั่วไป ครูผู้สอนไม่มีประสบการณ์การทอผ้าลายตาจัก และโรงเรียนไม่มีงบประมาณในการสนับสนุนอุปกรณ์การทอผ้า ในด้านความคิดเห็นของผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการจัดการศึกษามีความเห็นเกี่ยวกับหลักสูตรท้องถิ่นกลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ เรื่องการทอผ้าลายตาจัก อยู่ในระดับเห็นด้วยมาก สรุปผลได้ดังนี้ 1) การกำหนดวัตถุประสงค์ ได้แก่ ศึกษาวิธีการทอผ้าลายตาจักจากปราชญ์ชาวบ้าน ช่างทอผ้าหรือผู้รู้เรื่องการทอผ้าลายตาจักภายในชุมชนและท้องถิ่น รวมทั้งสามารถนำทักษะเทคนิคทางด้านศิลปะเช่นการออกแบบมาใช้ในการตกแต่งผ้าทอลายตาจักของตน พร้อมทั้งนำเสนอผลงานตามแนวคิดของตนเองได้อย่างอิสระ 2) การกำหนดเนื้อหาสาระ ในเรื่องความสำคัญ คุณค่า ประโยชน์และหน้าที่ใช้สอยของผ้าทอลายตาจักที่มีต่อชุมชนในอดีตจนถึงปัจจุบัน เช่น ด้านสังคม วัฒนธรรม เศรษฐกิจและชีวิตประจำวัน เป็นต้น 3) การกำหนดกิจกรรมและสื่อการเรียนรู้ ได้แก่ วิเคราะห์ตัวอย่างผ้าทอลายตาจักทั่วไปและผ้าทอลายตาจักที่คัดสรรแล้ว และ 4) การประเมินผล ผู้เรียนสามารถอธิบายประเภท คุณค่า ประโยชน์หน้าที่ใช้สอยของผ้าทอลายตาจักได้ ข้อเสนอแนะสำหรับการวิจัยคือ 1) ควรมีการวิจัยถึงคติความเชื่อที่แฝงอยู่ในการสร้างสรรค์ศิลปะพื้นบ้าน และภูมิปัญญาทางด้านศิลปะประเภทต่างๆ 2) ควรมีการวิจัยถึงความสัมพันธ์ของภูมิปัญญาท้องถิ่นกับความร่วมมือกันของผู้จัดการศึกษาและบุคคลในชุมชน 3) ควรมีการวิจัยเกี่ยวกับการพัฒนาหลักสูตรจากภูมิปัญญาท้องถิ่นทางด้านศิลปะ ในทุกระดับการศึกษา 4) ควรมีการวิจัยถึงสภาพปัญหาและแนวทางในการอนุรักษ์ศิลปะท้องถิ่นทั้งในระดับจังหวัดและในระดับชาติ
Other Abstract: To explore the state and propose the basic steps for local art curriculum development on Ta-Jug hand weaving for the ninth grade students in Kanchanaburi. This study suggests learning objectives, classroom activities, teaching aids, and student assessment. Population and samples included 33 secondary-level art teachers in Kanchanaburi, 33 secondary-level school administrators, 11 art teacher supervisors in Kanchanaburi, and 15 local Ta-Jug hand weaving makers. Research instruments are questionnaires were interviews. The data from the questionnaires were analyzed by descriptive stratistics for percentage, mean, standard deviation. The obtained data from interviews were trancribed and categorized using content analysis. The findings concerning problems in teaching show that the teachers did not have experience in the hand weaving, and schools did not have the budget for the weaving teaching equipments. Opinions of the stakeholders about local art curriculum are as follows: 1) Define purpose: the local art curriculum on Ta-Jug hand weaving should be collaboratively developed by the curriculum designers and the local experts. Besides, the curriculum should aim to promote learners’ creativity. 2) Define contents: the curriculum should emphasize on the importance, the benefits, and the social, cultural, and economic impacts of Ta-Jug hand weaving on the community. 3) Define learning activities and teaching aids: different samples of Ta-Jug hand weaving should be presented and analyzed. 4) Student assessment: students should be able to explain about different types, values, and functions of Ta-Jug hand weaving. Based on the findings mentioned, there are several recommendations for further studies. Firstly, there should be more studies on local wisdom in different contexts (settings). Secondly, there should be collaboration among curriculum designers, local experts, and the community. Moreover, the local art curriculum should be implemented in all levels of education. Finally, there should be future studies on problems and solutions for conserving local arts regionally and nationally.
Description: วิทยนิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ศิลปศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/61200
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2010.1656
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2010.1656
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Waramai Chaimun.pdf2.28 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.