Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/61278
Title: การศึกษาความสัมพันธ์ของระดับการติดสีสารมิวซินในชิ้นเนื้อของผู้ป่วยโรคผื่นผิวหนังลูปัสอีริย์ธีมาโตซัส ชนิดดิสคอยด์ กับการเป็นการเป็นโรคลูปัสอีริย์ทีมาโตซัสทั่วร่างในโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย
Other Titles: Association between quantity of dermal mucin in discoid lupus erythematosus patients and the diagnosis of systemic lupus erythematosus in King Chulalongkorn Memorial Hospital
Authors: เบญจพร ศรีสันติธรรม
Advisors: เจตน์ วิทิตสุวรรณกุล
ภาวิณี ฤกษ์นิมิต
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์
Advisor's Email: Jade.W@chula.ac.th
pawinee.r@chula.ac.th
Subjects: มิวซิน
เอสแอลอี
ผิวหนัง -- โรค
Mucins
Systemic lupus erythematosus
Skin -- Diseases
Issue Date: 2560
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ที่มา: การติดสีของสารมิวซินในชั้นหนังแท้เป็นองค์ประกอบหนึ่งที่ใช้ช่วยในการวินิจฉัยโรคผื่นผิวหนังลูปัสอีริย์ทีมาโตซัส ชนิดดิสคอยด์ และในการะบวนเกิดโรค สารมิวซินในชั้นหนังแท้เป็นสิ่งที่ทำให้ผื่นผิวหนังอักเสบมากขึ้น อย่างไรก็ตามยังไม่เคยมีการศึกษาว่าการติดสีของสารมิวซินเป็นปัจจัยบอกการเกิดโรคลูปัสอีริย์ทีมาโตซัสทั่วร่างในผู้ป่วยมาก่อน วัตถุประสงค์:  ต้องการศึกษาความสามารถในการพยากรณ์การเกิดโรคลูปัสอีริย์ทีมาโตซัสทั่วร่าง (เอสแอลอี) ในผู้ป่วยโรคผื่นผิวหนังลูปัสอีริย์ทีมาโตซัส ชนิดดิสคอยด์ โดยใช้ระดับการติดสีของสารมิวซินในชั้นหนังแท้เป็นงานวิจัยแบบ exploratory study เพื่อมุ่งหวังงานวิจัยต่อยอด วิธีการศึกษา: การวิจัย ณ จุดเวลาใดเวลาหนึ่ง โดยการสืบค้นผู้ป่วยที่วินิจฉัยว่าเป็นโรคผื่นผิวหนังลูปัสอีริย์ทีมาโตซัส ชนิดดิสคอยด์จากการผลพยาธิวิทยา ตั้งแต่ปี 2554-2560  จำนวน 77 คน ณ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย นำชิ้นเนื้อมาย้อมสี H&E, PAS, Alcian blue เพื่อยืนยันการวินิจฉัย และประเมินการติดสีมิวซินจากชั้น  papillary dermis, supficial reticular dermis, deep reticular dermis โดยให้คะแนน 0-3 ในแต่ละชั้น (mucin score) หลังจากนั้นเก็บข้อมูลการวินิจฉัยโรคลูปัสอีริย์ทีมาโตซัสทั่วร่างและผลทางห้องปฏิบัติการของผู้ป่วยจากเวชระเบียน ผลการศึกษา: : พบผู้ป่วยโรคผื่นผิวหนังลูปัสอีริย์ทีมาโตซัส ชนิดดิสคอยด์อย่างเดียว จำนวน 49 คน ผู้ป่วยโรคผื่นผิวหนังลูปัสอีริย์ทีมาโตซัส ชนิดดิสคอยด์ที่พัฒนาเป็นโรคลูปัสอีริย์ทีมาโตซัสทั่วร่าง จำนวน 8 คน ผู้ป่วยโรคลูปัสอีริย์ทีมาโตซัสทั่วร่างที่มีผื่นผิวหนังลูปัสอีริย์ทีมาโตซัสชนิดดิสคอยด์ภายหลัง จำนวน 5 คน และผู้ป่วยโรคลูปัสอีริย์ทีมาโตซัสทั่วร่างที่มีผื่นผิวหนังลูปัสอีริย์ทีมาโตซัสชนิดดิสคอยด์ พร้อมกันขณะวินิจฉัย จำนวน 15 คน พบว่าค่าเฉลี่ยของการติดสีสารมิวซิน [OR=0.97 (95%CI0.49-1.92)] ค่าสูงสุดของการติดสีสารมิวซิน [OR=0.98 (95%CI0.6-1.58)] การติดสีของสารมิวซินแต่ละชั้นหนังแท้ [Papillary dermis : OR=0.7 (95%0.31-1.57), Superficial reticular dermis: OR=1.06 (95%CI0.62-1.85), Deep reticular dermis: OR=1.04 (95%CI0.64-1.66)] และการพบการติดสีของสารมิวซิน [OR=1.01 (95%CI0.31-3.32]  ในชิ้นเนื้อของผู้ป่วยผื่นผิวหนังลูปัสอีริย์ทีมาโตซัสชนิดดิสคอยด์ ไม่สัมพันธ์กับการเป็นโรคโรคลูปัสอีริย์ทีมาโตซัสทั่วร่าง โดยปรับปัจจัยเรื่องของเพศและการกระจายของผื่น นอกจากนี้ยังพบว่าค่าเฉลี่ยของการติดสีสารมิวซินมีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญในผู้ป่วยโรคผื่นผิวหนังลูปัสอีริย์ทีมาโตซัสชนิดดิสคอยด์ที่สูบบุหรี่และไม่สูบบุหรี่ (p-value=0.013) สรุปผล: การติดสีของสารมิวซินในชั้นหนังแท้ไม่สามารถใช้ในการพยากรณ์การเกิดโรคลูปัสอีริย์ทีมาโตซัสทั่วร่างในผู้ป่วยโรคผื่นผิวหนังลูปัสอีริย์ทีมาโตซัส ชนิดดิสคอยด์ ได้  การสูบบุหรี่อาจเป็นปัจจัยที่สัมพันธ์กับปริมาณมิวซินในผู้ป่วยโรคผื่นผิวหนังลูปัสอีริย์ทีมาโตซัส ชนิดดิสคอยด์ อย่างไรก็ตามอาจมีปัจจัยจำกัดในเรื่องของจำนวนคนไข้ ความเสื่อมของชิ้นเนื้อ ตำแหน่งที่ตัดชิ้นเนื้อของผู้ป่วย และระยะเวลาติดตามการเกิดโรคโรคลูปัสอีริย์ทีมาโตซัสทั่วร่าง
Other Abstract: Background: Demal mucin is one of histiologic features making diagnosis of discoid lupus erythematosus (DLE). In pathophysilogy of DLE, acuumulation of dermal mucin might further perpetuate inflammation of lesions. However, the utility of dermal mucin as a prognostic factor to predict the development of systemic lupus erythematosus (SLE) in DLE patients has never been studied. Objectives: To study whether amount of dermal mucin can be a predictor of developing SLE in DLE patients Methods: A cross-sectional study was conducted on 77 DLE lesions, histopathologically diagnosed from 2011 to 2017 at King Chulalongkorn Memorial Hospital. H&E, PAS and alcian blue staining were performed on tissue specimen to confirm the diagnosis and evaluate amount of dermal mucin from each compartment - papillary dermis, superficial reticular dermis and deep reticular dermis by scoring 0-3 (mucin score). After that medical records were reviewed about SLE status and lab investigations. Results: Among 77 DLE patients, 49 DLE-only, 8 DLE developing SLE, 5 SLE developing DLE and 15 SLE diagnosed simultaneously with DLE patients were documented. Between DLE-only and any SLE patients, mean and maximum of mucin score had no statistically significant association with the diagnosis of SLE in our DLE patients, after adjusted for gender and extent of lesions [OR=0.97 (95%CI0.49-1.92)]  [OR=0.98 (95%CI0.6-1.58) respectively]. In each compartment, dermal mucin in papillary dermis [OR=0.7 (95%0.31-1.57)], superficial reticular dermis [OR=1.06 (95%CI0.62-1.85)] and deep reticular dermis [OR=1.04 (95%CI0.64-1.66)] had no statistical significance to diagnosed SLE in our DLE patients either. Positive staining of mucin in DLE had no statistical relevance with the diagnosis of SLE, after adjusted for gender and extent of lesions [OR=1.01 (95%CI0.31-3.32]. But between smoker and non-smoker DLE patients, mean of dermal mucin was statistically diffrent (p-value<0.05) Conclusions: Dermal mucin might not be used as prognostic marker to predict progressing of  SLE from DLE. However, dermal mucin might involve in pathogenesis between DLE and smoking. Our study has small sample sizes, degeneration and unspecified locations of tissue specimens and short time to observe development of SLE from DLE as limitations.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2560
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: อายุรศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/61278
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2017.1604
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2017.1604
Type: Thesis
Appears in Collections:Med - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5974072630.pdf3.07 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.