Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/61396
Title: | ยุทธศาสตร์การบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์ของสถาบันอุดมศึกษาเอกชนในสองทศวรรษหน้า |
Other Titles: | Human resource management strategies of private higher education institutions in the next two decades |
Authors: | ภีมพิพัฒน์ มโนมัยกุล |
Advisors: | พันธ์ศักดิ์ พลสารัมย์ วราภรณ์ บวรศิริ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ |
Subjects: | สถาบันอุดมศึกษาเอกชน -- การบริหารงานบุคคล -- ไทย Private universities and colleges -- Personnel management -- Thailand |
Issue Date: | 2561 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์สภาพปัจจุบัน สภาพปัญหาของการบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์ของสถาบันอุดมศึกษาเอกชนและสภาพในอนาคตของการบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์ของสถาบันอุดมศึกษาเอกชนในสองทศวรรษหน้า 2) วิเคราะห์แนวโน้มทิศทางการบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์ของสถาบันอุดมศึกษาเอกชนในสองทศวรรษหน้า 3) นำเสนอยุทธศาสตร์การบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์ของสถาบันอุดมศึกษาเอกชนในสองทศวรรษหน้า โดยมีกลุ่มตัวอย่าง คือ 1) มหาวิทยาลัยเอกชน จำนวนทั้งหมด 34 แห่ง โดยผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ อธิการบดี รองอธิการบดีฝ่ายบริหาร คณบดี รองคณบดีฝ่ายบริหารของกลุ่มสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กลุ่มสาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพ กลุ่มสาขาสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ รวมกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 136 คน 2) ผู้บริหารของมหาวิทยาลัยเอกชน จำนวน 15 คน 3) ผู้บริหารองค์กรธุรกิจ จำนวน 5 คน 4) ผู้ทรงคุณวุฒิตรวจสอบร่างยุทธศาสตร์ จำนวน 8 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แบบวิเคราะห์สาระ แบบสัมภาษณ์ แบบสำรวจ แบบสอบถาม แบบตรวจสอบร่างยุทธศาสตร์ การวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การวิเคราะห์สาระ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน SWOT IFAS EFAS SFAS กราฟแสดงปัจจัยยุทธศาสตร์ และ TOWS Matrix ซึ่งผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. สภาพปัจจุบันของการบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์ของสถาบันอุดมศึกษาเอกชน ภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง หากพิจารณาตามรายด้าน พบว่า สถาบันอุดมศึกษาเอกชนให้ความสำคัญในระดับที่มากในด้านการฝึกอบรมและการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ สถาบันอุดมศึกษาเอกชนให้ความสำคัญในระดับปานกลางในด้านการมีส่วนร่วมในงานและการสร้างความผูกพันในองค์กร ด้านการวางแผนทรัพยากรมนุษย์หรือการวางแผนกำลังคน ด้านการประเมินผลการปฎิบัติงาน ด้านการสรรหาและการคัดเลือก และด้านการบำรุงรักษาทรัพยากรมนุษย์หรือการบริหารค่าตอบแทน ตามลำดับ สำหรับสภาพในอนาคตของการบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์ของสถาบันอุดมศึกษาเอกชนในสองทศวรรษหน้า ภาพรวมอยู่ในระดับมาก หากพิจารณาตามรายด้าน พบว่า สถาบันอุดมศึกษาเอกชนให้ความสำคัญในระดับมากในทุกด้าน โดยด้านที่ให้ความสำคัญสูงที่สุด คือ ด้านการมีส่วนร่วมในงานและการสร้างความผูกพันในองค์กร 2. แนวโน้มทิศทางการบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์ของสถาบันอุดมศึกษาเอกชนในสองทศวรรษหน้า ประกอบด้วย แนวโน้มด้านการวางแผนทรัพยากรมนุษย์หรือการวางแผนอัตรากำลังคน 12 ข้อ แนวโน้มด้านการสรรหาและการคัดเลือกบุคลากร 13 ข้อ แนวโน้มด้านการบำรุงรักษาทรัพยากรมนุษย์หรือการบริหารค่าตอบแทน 14 ข้อ แนวโน้มด้านการฝึกอบรมและการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ 14 ข้อ แนวโน้มด้านการมีส่วนร่วมในงานและการสร้างความผูกพันในองค์กร 12 ข้อ และแนวโน้มด้านการประเมินผลการปฎิบัติงาน 10 ข้อ 3. ยุทธศาสตร์การบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์ของสถาบันอุดมศึกษาเอกชนในสองทศวรรษหน้า ประกอบด้วย วิสัยทัศน์ พันธกิจ ประเด็นยุทธศาสตร์ 6 ประเด็น “H A P P I E” ได้แก่ 1) พัฒนาระบบการวางแผนแบบองค์รวมและการบริหารอัตรากำลังบุคลากรสายวิชาการให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงการจัดการทรัพยากรมนุษย์ในอนาคต (Holistic HR Planning) 2) ส่งเสริมการสรรหาเชิงรุกและการคัดเลือกบุคลากรสายวิชาการให้ได้มาซึ่งบุคลากรที่มีความสามารถและศักยภาพสูงและเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ (Aggressive Recruitment) 3) การบำรุงรักษาอย่างชำนาญการโดยการบริหารจัดการค่าตอบแทนและสวัสดิการเพื่อให้องค์กรสามารถรักษาบุคลากรสายวิชาการให้คงอยู่กับองค์กรและป้องกันการแย่งชิงบุคลากรสายวิชาการจากองค์กรอื่น (Professional Retention) 4) การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์อย่างมีประสิทธิภาพให้มีความรู้ความสามารถและทักษะต่างๆโดยการพัฒนาและการเรียนรู้ด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัยและแตกต่างจากเดิม (Productive Learning & Development) 5) การบูรณาการการมีส่วนร่วมของบุคลากรในการปฏิบัติงานและเสริมสร้างความผูกพันต่อองค์กรอย่างยั่งยืน (Integrating Participation and Engagement) และ 6) การประเมินผลอย่างมีประสิทธิภาพและเป็นธรรมโดยอาศัยการมีส่วนร่วมจากผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการประเมินผลการปฏิบัติงาน (Effective Performance Evaluation) ประกอบด้วย 23 เป้าประสงค์ 26 กลยุทธ์ 68 ตัวชี้วัด 76 โครงการ/กิจกรรม |
Other Abstract: | The purposes of this research are to 1) analyze the current states and problems of human resource management of private higher education institutions and the future states of human resource management of private higher education institutions in the next two decades. 2) analyze trends in human resource management of private higher education institutions in the next two decades. 3) propose human resource management strategies of private higher education institutions in the next two decades. The samples include 1) 34 private higher education institutions by the contributors of 136 the rectors, vice-rectors for administration, human resource management committees including deans or vice-deans for administration of science and technology, health sciences, social sciences and humanities. 2) 15 the rectors or vice-rectors for administration or assistants to the rector for administration. 3) 5 human resource executives of business organizations 4) 8 experts for focus group. The research instruments include the content analysis form, interview form, survey form, questionnaire and form for validation of (draft) strategies. Meanwhile, the content analysis, frequency, percentage, mean, standard deviation, SWOT, IFAS, EFAS, SFAS, strategic factor radar chart and TOWS Matrix. The research results can be summarized as follows: 1. The current states of human resource management of private higher education institutions are found that overall current state is at the intermediate level. In term of individual aspect, private higher education institutions prioritize at the high level on training and human resource development. Private higher education institutions prioritize at the intermediate level on job participation and organizational engagement, human resource planning or manpower planning, performance evaluation, recruitment and selection, human resource retention or compensation management, respectively. For the future states of human resource management of private higher education institutions in the next two decades are found that overall future state is at the high level. In term of individual aspect, private higher education institutions prioritize at the high level on all of human resource management aspects. The most high aspect is job participation and organizational engagement. 2. Trends in human resource management for private higher education institutions in the next two decades comprise of 12 human resource planning or manpower planning trends, 13 recruitment and selection trends, 14 human resource retention or compensation management trends, 14 training and human resource development trends, 12 job participation and organizational engagement trends and 10 performance evaluation trends. 3. The proposed human resource management strategies of private higher education institutions in the next two decades consist of the vision, missions, 6 strategic themes "H A P P I E". The themes include 1) Holistic HR Planning 2) Aggressive Recruitment 3) Professional Retention 4) Productive Learning & Development 5) Integrating Participation and Engagement 6) Effective Performance Evaluation. There are 23 goals, 26 tactics, 68 indicators and 76 projects/activities. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2561 |
Degree Name: | ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาเอก |
Degree Discipline: | อุดมศึกษา |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/61396 |
URI: | http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2018.1523 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.58837/CHULA.THE.2018.1523 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Edu - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5884237427.pdf | 21.39 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.