Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/61425
Title: ความเห็นของประชาชนต่อการออกแบบสารในภาวะวิกฤต
Other Titles: People’s opinion on message design crisis communication
Authors: สิโนบล สายเพ็ชร
Advisors: พนม คลี่ฉายา
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์
Subjects: การสื่อสารในการจัดการภาวะวิกฤต -- มติมหาชน
Communication in crisis management -- Public opinion
Issue Date: 2561
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์และอธิบายการออกแบบสารที่ใช้ในการสื่อสารภาวะวิกฤตขององค์กรหรือตราสินค้า และเพื่อสำรวจความเห็นของประชาชนที่ทำงานในกรุงเทพและปริมณฑลที่มีต่อการออกแบบสารฯ ใช้รูปแบบการวิจัยแบบการวิเคราะห์เนื้อหา และการวิจัยเชิงสำรวจ โดยวิเคราะห์เอกสารคำชี้แจงขององค์กรหรือตราสินค้าในภาวะวิกฤตในช่วงปี พ.ศ.2557 – 2561 จากนั้นนำผลการวิเคราะห์ไปทำแบบสอบถามสำรวจข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง ผลการวิจัยพบว่า  ด้านกลยุทธ์มี 12 รูปแบบ โดยกลุ่มตัวอย่างที่มีอายุ รายได้และระดับการศึกษาต่างกันมีความเข้าใจ ยอมรับเหตุผล และคล้อยตามต่อกลยุทธ์ที่ใช้แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05  โดยการใช้กลยุทธ์การขอโทษ และกลยุทธ์ที่มีการระบุว่าจะมีบทลงโทษ กรณีองค์กรเป็นฝ่ายผิด และเหตุการณ์ส่งผลกระทบต่อความปลอดภัย ร่างกาย ชีวิต หรือทรัพย์สิน ทำให้กลุ่มตัวอย่างมีความเข้าใจ ยอมรับเหตุผล และคล้อยตามในระดับมาก   สำหรับด้านการเรียบเรียงสาร มี 4 แบบ  โดยกลุ่มตัวอย่างที่มีระดับการศึกษาต่างกันมีความเข้าใจ ยอมรับเหตุผล และคล้อยตามต่อการเรียบเรียงสารที่ใช้แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05  ซึ่งการเรียบเรียงสารโดยแบ่งเนื้อหาเป็นหัวข้อทีละหัวข้อเรียงกันไป และการเรียบเรียงโดยอธิบายตามลำดับเวลาของเหตุการณ์ ทำให้กลุ่มตัวอย่างมีความเข้าใจ ยอมรับเหตุผล และคล้อยตามในระดับมาก   ด้านการจัดลำดับข้อความ มี 3 แบบ โดยกลุ่มตัวอย่างที่มีอายุ รายได้และระดับการศึกษาต่างกัน มีความเข้าใจ ยอมรับเหตุผล และคล้อยตามต่อการจัดลำดับข้อความที่ใช้แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05  โดยการจัดให้สาระสำคัญอยู่ตอนต้น ทำให้กลุ่มตัวอย่างเข้าใจและยอมรับเหตุผลในระดับมาก  ด้านจุดจูงใจ มี 2 ประเภท โดยกลุ่มตัวอย่างที่มีเพศ อายุ รายได้ และระดับการศึกษาต่างกันมีความเข้าใจ ยอมรับเหตุผล และคล้อยตามต่อจุดจูงใจที่ใช้แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Other Abstract: The purpose of this study was to analyze and describe the message designs used in organization or brand crisis communications and to explore people’s perceptions who were working in Bangkok Metropolitan Region on the message design used in the organization or brand crisis communication. The content analysis and exploratory research were used. Statements from organizations or brands  crisis communications from 2014 to 2018 were analyzed create survey’s questions. The research found that twelve message design strategies. The samples that have the differences income and education levels were differently understanding, acceptable and compliant with the strategies at the .05 level of significance. The strategy of apology and the strategy of penalties in case of organizational error and events that affect the life, body and property’s safety can be convinced by the samples and made them understand at the high level. There are four types of structuring message. The samples who have different levels of education understand, accept and rationalize differently structured message at the .05 level of significance. Content which is divided by topic, or the chronological description of the incident was understanded, accepted and rationalized at the high level. There are three types of message order. The samples who have different age, income and education levels understand, accept, and are aligned with the order messages statistical classification at the .05 level of significance. The samples understand and accept at the high level when main point is placed at the beginning. In addition, the two message appeals were found in the statement. The samples who have different age, income and education levels understand, accept, rationalize to varied message appeals at the .05 level of significance.
Description: วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2561
Degree Name: นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นิเทศศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/61425
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2018.848
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2018.848
Type: Thesis
Appears in Collections:Comm - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6084877628.pdf3.26 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.