Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/61452
Title: การศึกษาพัฒนาการด้านโลจิสติกส์เพื่อมนุษยธรรมในประเทศไทย
Other Titles: A study on humanitarian logistics development in Thailand
Authors: วีรชัย อู๋สมบูรณ์
Advisors: ธารทัศน์ โมกขมรรคกุล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Subjects: การส่งกำลังบำรุง
การจัดการภาวะฉุกเฉิน -- ไทย
Logistics
Emergency management -- Thailand
Issue Date: 2561
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: เนื่องจากโลจิสติกส์เพื่อมนุษยธรรมมีบทบาทอย่างยิ่งในการช่วยเหลือบรรเทาทุกข์ผู้ประสบภัยพิบัติ งานวิจัยฉบับนี้จึงมุ่งศึกษาเชิงสำรวจโลจิสติกส์เพื่อมนุษยธรรมในการโต้ตอบภัยพิบัติทางธรรมชาติที่เกิดขึ้นในประเทศไทย โดยใช้เหตุอุทกภัยจังหวัดพระนครศรีอยุธยาช่วง พ.ศ. 2555 – 2560 เป็นกรณีศึกษา การวิเคราะห์เนื้อหาจากบทความความข่าวชี้ให้เห็นว่าหน่วยงานที่มีบทบาทในการช่วยเหลือผู้ประสบภัยได้ดำเนินการเชิงโลจิสติกส์เพื่อมนุษยธรรมมากขึ้นนับตั้งแต่ปี 2558 เป็นต้นมา ซึ่งเป็นผลสืบเนื่องจากการประกาศใช้แผนการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติฉบับ พ.ศ. 2558 การศึกษาครั้งนี้ยังเผยให้เห็นว่า การประเมินและการวางแผน เป็นกระบวนการเชิงโลจิสติกส์เพื่อโต้ตอบภัยพิบัติทางธรรมชาติที่มีจำนวนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมากที่สุด อย่างไรก็ตาม เนื้อหาข่าวกลับไม่กล่าวถึงการยุติความช่วยเหลือเท่าใดนักในกระบวนการบรรเทาภัยพิบัติ ผลที่ได้จากการศึกษาครั้งนี้ช่วยส่งเสริมความเข้าใจที่ดียิ่งขึ้นต่อการบริหารจัดการโลจิสติกส์เพื่อมนุษยธรรมในประเทศไทย ก่อประโยชน์แด่ทั้งเชิงวิชาการและเชิงนโยบายด้านการจัดการภัยพิบัติในประเทศ โดยในเชิงวิชาการ งานวิจัยฉบับนี้นับว่าเป็นจุดเริ่มต้นให้ศึกษากระบวนการโลจิสติกส์เพื่อมนุษยธรรมในขั้นตอนอื่นๆนอกเหนือจากการโต้ตอบภัย อันประกอบกันขึ้นเป็นวงจรการบริหารจัดการภัยพิบัติ ส่วนในเชิงนโยบาย การศึกษาชี้ให้เห็นว่าหากแผนชาติได้ระบุขอบเขตความรับผิดชอบของผู้มีอำนาจอย่างชัดเจนจะส่งผลต่อปฏิบัติการให้ความช่วยเหลือประชาชนเมื่อภัยเกิดขึ้น
Other Abstract: Central to alleviate the pain and suffering of disaster victims, humanitarian logistics was explored in this paper. Flooding in Ayutthaya Province during 2012 – 2017 was used as a case study to examine humanitarian logistics in natural disaster response within Thailand context.  With a framework of logistics process for disaster response, Content Analysis was used to extract content from news articles reporting flood situations. It unveiled humanitarian logistics has been more operationalized in aid opertions since 2015, owing to the implementation of the current  National Disaster Prevention and Mitigation Plan B.E. 2558 (2015). Assessment and Planning is the process engaged the broadest range of participants, whereas Demobilization seemed irrelevant in Thai flood settings. This paper provides a better understanding on humanitarian logistics management in Thailand, including actors and their roles. Contributions are conveyed to both academics and policymakers. As academic contribution, researches on logistics process characteristics through complete stages of disaster management cycle are called. Policymakers are recommended to realize impacts of a clearer responsibility scope of person authorized.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2561
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/61452
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2018.639
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2018.639
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5987204320.pdf2.25 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.