Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/61574
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorวันเฉลิม โปรา-
dc.contributor.authorอนุตร์ อรุณานันท์-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์-
dc.date.accessioned2019-02-26T14:03:33Z-
dc.date.available2019-02-26T14:03:33Z-
dc.date.issued2561-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/61574-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2561-
dc.description.abstractงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาระบบอ่านมิเตอร์แบบอัตโนมัติจากมิเตอร์ด้วยโปรโตคอลดีแอลเอ็มเอสโคเซ็ม ให้สามารถอ่านข้อมูลจากมิเตอร์จากหลากหลายบริษัทผู้ผลิตที่รองรับมาตรฐานโปรโตคอลสื่อสารนี้ ผ่านเครือข่ายสื่อสารแบบอีเทอร์เน็ต เพื่อลดจำนวนซอฟต์แวร์และเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้งานระบบอ่านมิเตอร์จากแต่ละบริษัทผู้ผลิตให้เหลือเพียงชุดเดียว และสามารถให้บริการข้อมูลค่าวัดทางไฟฟ้าที่รวบรวมได้จากมิเตอร์แบบเวลาจริง พร้อมทั้งนำข้อมูลค่าวัดทางไฟฟ้ารายคาบที่อ่านได้จากมิเตอร์คำนวณเพื่อจัดทำใบแจ้งค่าไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์แบบเวลาจริง ให้ถูกต้องตามสัญญาขายไฟฟ้าของลูกค้าที่ซื้อไฟฟ้าแต่ละราย โดยทดสอบระบบที่พัฒนากับมิเตอร์ลูกค้าตรงของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยที่รองรับมาตรฐานโปรโตคอลสื่อสารดีแอลเอ็มเอสโคเซ็มนี้ และหาวิธีสร้างพลังงานไฟฟ้าฐานที่เหมาะสมกับโหลดประเภทโรงงานอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ เพื่อใช้สำหรับวัดประสิทธิภาพของมาตรการตอบสนองด้านโหลดในอนาคต โดยใช้ข้อมูลค่าวัดความต้องการใช้ไฟฟ้ารายคาบย้อนหลังสร้างแบบจำลอง ด้วยวิธีการวิเคราะห์การถดถอยเชิงเส้นแบบพหุคูณ วิธีการวิเคราะห์การถดถอยโพลีโนเมียล และวิธีให้เครื่องคอมพิวเตอร์เรียนรู้เองแบบโครงข่ายประสาทเทียม ผลการวิจัยสามารถพัฒนาระบบอ่านข้อมูลมิเตอร์แบบอัตโนมัติด้วยโปรดตคอลดีแอลเอ็มเอสโคเซ็ม ใช้งานกับมิเตอร์ของลูกค้าตรงการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยที่รองรับมาตรฐานโปรโตคอลสื่อสารนี้ พร้อมทั้งสามารถให้บริการข้อมูลค่าวัดทางไฟฟ้าและจัดทำใบแจ้งค่าไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์แบบเวลาจริงได้อย่างถูกต้องตามสัญญาขายไฟฟ้าแต่ละฉบับ สำหรับแบบจำลองพลังงานไฟฟ้าฐานสำหรับโหลดประเภทโรงงานอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ที่สร้างโดยวิธีการเรียนรู้ของเครื่องคอมพิวเตอร์แบบโครงข่ายประสาทเทียมมีความแม่นยำมากที่สุดแต่มีความซับซ้อนในการคำนวณมากที่สุดเช่นกัน สำหรับวิธีการวิเคราะห์การถดถอยเชิงเส้นแบบพหุคูณมีความแม่นยำสูงและคำนวณได้ง่ายที่สุด-
dc.description.abstractalternativeThis research has 3 objectives. The first objective is the development of an EGAT automatic meter reading system conformed to DLMS/COSEM protocol for reading the electricity meter data from many manufacturers that support this communication protocol via EGAT WAN. The second is the development of a real-time e-billing system. The electricity bill for each contract must be correctly calculated from the periodical measurement data. The developed systems experiment has to test with the supported DLMS/COSEM electricity meters of EGAT’s direct customers. The third is to find the methodology of electricity consumption baseline calculation, which must suitable with the industrial factory. The baseline calculation is one of the most important issues in the demand response program for measuring the efficiency of the program. This research has used the historical load profile data to model the baseline with three methods: multiple linear regression, polynomial regression, and neural network. The developed systems could real-time read and provide correctly data service. This research has shown that the most accurate result of the baseline in the sampled industrial factory is neural networks using the Levenberg-Marquardt algorithm. But this method is the highest complicated calculation. And the highly accurate result and highest simplicity calculation is multiple linear regression method.-
dc.language.isoth-
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.relation.urihttp://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2018.1245-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.subjectใบแจ้งราคาอิเล็กทรอนิกส์-
dc.subjectเครื่องวัดไฟฟ้า-
dc.subjectElectronic invoices-
dc.subjectElectric meters-
dc.subject.classificationEngineering-
dc.titleการพัฒนาระบบอ่านมิเตอร์แบบอัตโนมัติของ กฟผ. ตามโปรโตคอล DLMS/COSEM สำหรับการจัดทำใบแจ้งค่าไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์แบบเวลาจริง และการคำนวณพลังงานไฟฟ้าฐาน-
dc.title.alternativeDevelopment of an EGAT automatic meter reading system conformed to DLMS/COSEM protocol for real time e-billing and energy baseline calculation-
dc.typeThesis-
dc.degree.nameวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต-
dc.degree.levelปริญญาโท-
dc.degree.disciplineวิศวกรรมไฟฟ้า-
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.subject.keywordระบบอ่านมิเตอร์แบบอัตโนมัติ-
dc.subject.keywordโปรโตคอลดีแอลเอ็มเอสโคเซ็ม-
dc.subject.keywordใบแจ้งค่าไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์แบบเวลาจริง-
dc.subject.keywordพลังงานไฟฟ้าฐาน-
dc.subject.keywordAutomatic Meter Reading System-
dc.subject.keywordDLMS/COSEM protocol-
dc.subject.keywordReal Time e-Billing-
dc.subject.keywordBaseline-
dc.identifier.DOI10.58837/CHULA.THE.2018.1245-
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5970353221.pdf8.28 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.