Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/61588
Title: การสร้างข้อต่อแรงเสียดทานต้นแบบ เพื่อพัฒนาชุดจำลองความสูงอายุ
Other Titles: Creation of friction joint prototype to develop a model of aging
Authors: ธีพิสิฐ คชภักดี
Advisors: ไพโรจน์ ลดาวิจิตรกุล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Subjects: ไดนาโมมิเตอร์
ข้อ
อัตราการเต้นของหัวใจ
Dynamometer
Joints
Heart beat
Issue Date: 2561
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุของประชากรทั่วโลก ก่อให้เกิดความห่วงใยในการดูแลผู้สูงอายุ ทัศนคติต่อผู้สูงอายุในทางลบ มองผู้สูงอายุเป็นภาระของครอบครัวและสังคม มีการปรับปรุงทัศนคติเหล่านี้ด้วยชุดจำลองความสูงอายุ งานวิจัยนี้สร้างข้อต่อแรงเสียดทานต้นแบบเพื่อพัฒนาชุดจำลองความสูงอายุ โดยออกแบบจากข้อมูลการเปลี่ยนแปลงร่างกายผู้สูงอายุในส่วนกล้ามเนื้อที่ลดลงตามอายุและใช้หลักการของแรงเสียดทาน มีผู้เข้าร่วมทดลองวัยหนุ่มและวัยสูงอายุ ทดสอบ Ergometer และการเดิน(Gait Analysis) เปรียบเทียบอัตราส่วนระหว่างอัตราการเต้นของหัวใจคงที่กับสูงสุดในการทดสอบ Ergometer และพิจารณาองศาเข่า ระยะก้าวระหว่างเท้าข้างหนึ่งถึงเท้าอีกข้างหนึ่ง,จำนวนก้าวใน 1 นาทีในการเดิน ผลการทดลองทางสถิติ ในอัตราส่วนระหว่างอัตราการเต้นของหัวใจคงที่กับสูงสุดในการทดสอบ Ergometer และระยะก้าวระหว่างเท้าข้างหนึ่งถึงเท้าอีกข้างหนึ่ง จำนวนก้าวใน 1 นาที ในการเดินที่ระดับความเชื่อมั่น 95% และองศาเข่าในวงจรการเดินพบว่า วัยหนุ่มสวมข้อต่อแรงเสียดทานต้นแบบไม่มีความแตกต่างกับวัยสูงอายุ แต่ไม่สวมข้อต่อแรงเสียดทานต้นแบบมีความแตกต่างกับผู้สูงอายุ การสวมข้อต่อแรงเสียดทานต้นแบบของวัยหนุ่มมีความใกล้เคียงกับผู้สูงอายุมากกว่าไม่สวมข้อต่อแรงเสียดทานต้นแบบ เนื่องจากการสวมข้อต่อแรงเสียดทานเป็นการเพิ่มภาระให้กับร่างกาย ทำให้เหนื่อยง่ายขึ้น เคลื่อนไหวไม่คล่องตัว ร่างกายใช้พลังงานมากขึ้น กำลังสถิตของกล้ามเนื้อลดลงเหมือนกับผู้สูงอายุ ทั้งในการทดสอบ Ergometer และการเดิน (Gait Analysis) สามารถจำลองความสูงอายุได้
Other Abstract: Access to elderly society of the world population cause concern care of the elderly. Attitude towards the elderly in the negative. Look at the elderly as a family and social burden. These attitudes improved with aging suit. This research creation of friction joint prototype. The design from elderly body change data in muscle decreases with age and uses the principle of friction. With trial participants adult and elderly test ergometer and gait analysis compare the ratio between steady and maximum heart rate in Ergometer test and determine knee degrees, step length, cadence in gait analysis. Statistical result analysis ratio between steady and maximum heart rate in the Ergometer test and step length, cadence in gait analysis at 95% confidence level and knee degrees in the gait cycle. Adult wear friction joint no different with elderly but adult not wear joint is different with elderly. The wearing of friction joint prototype in adult similar to the elderly more than not wearing. Because wearing friction joint prototype increases a burden on the body. Make more tired, Uncomfortable movement, the body uses more energy, Static muscle strength decreases with age. Both in Ergometer and Gait Analysis. Can simulate the elderly.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2561
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมอุตสาหการ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/61588
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2018.1313
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2018.1313
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5970929821.pdf4.24 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.