Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/62032
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorวรรณา ปูรณโชติ-
dc.contributor.authorศรียาตรา จิวสวัสดิ์-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย-
dc.date.accessioned2019-05-30T08:11:37Z-
dc.date.available2019-05-30T08:11:37Z-
dc.date.issued2525-
dc.identifier.isbn9746511336-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/62032-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2525en_US
dc.description.abstractการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อที่จะศึกษาถึงประสิทธิผลทางการศึกษา ของวิทยาลัยช่างอุตสาหกรรม สังกัดกรมอาชีวศึกษา ในกรุงเทพฯ ซึ่งประกอบด้วยวิทยาลัยช่างกลปทุมวัน วิทยาลัยเทคนิคดุสิต วิทยาลัยเทคนิคมีนบุรี วิทยาลัยเทคนิคราชสิทธาราม และวิทยาลัยเทคนิคดอนเมือง โดยพิจารณาจากต้นทุนทางการศึกษาต่อคนต่อปีเฉพาะส่วนที่เป็นต้นทุนทางตรงในแง่สังคม อัตราการคงอยู่ อัตราส่วนวุฒิครู อัตราส่วนครู : นักเรียน อัตราส่วนประสิทธิภาพทางการศึกษา อัตราส่วนความสูญเปล่าทางการศึกษา สัดส่วนจำนวนผู้สำเร็จการศึกษา และจำนวนเงินที่สูญเสียไปเนื่องจากความสูญเปล่าทางการศึกษา การทดสอบสมมุติฐานในการทดสอบที โดยหาช่วงความเชื่อมั่นของค่าเฉลี่ย การทดสอบไคสแควร์ และการทดสอบซี ผลการวิจัยพบว่า 1. ต้นทุนทางตรงในแง่สังคมของวิทยาลัยช่างอุตสาหกรรม เฉลี่ยต่อคนต่อปีเป็น 9,639.29 บาท จำแนกเป็นต้นทุนดำเนินการ 7,373.55 บาท และต้นทุนทรัพย์สิน2,265.74 บาท 2. อัตราส่วนครูวุฒิปริญญาตรี และสูงกว่าปริญญาตรี ต่อครูวุฒิต่ำกว่าปริญญาตรีตั้งแต่ปีการศึกษา 2519-2523 มีค่าเป็น 4.6 : 6.4, 5.2 : 4.8, 5.5 : 4.5, 5.7 : 4.3 และ 6.0 : 4.0 ตามลำดับ ซึ่งไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ กับเกณฑ์มาตรฐานของคณะกรรมการดำเนินงานศึกษา และวิจัยปัญหาเรื่องการผลิตครู (อัตราส่วนวุฒิครูเป็น 5.0 : 5.0) แสดงว่า ปีการศึกษา 2519-2523 วิทยาลัยช่างอุตสาหกรรมมีจำนวนครูวุฒิปริญญาตรี และสูงกว่าปริญญาตรี ไม่แตกต่างจากจำนวนครูวุฒิต่ำกว่าปริญญาตรี 3. อัตราส่วน ครู-นักเรียน ของวิทยาลัยช่างอุตสาหกรรม ตั้งแต่ปีการศึกษา 2519-2523 มีค่าเป็น 1 : 16, 1 : 17, 1 : 16 และ 1 : 14 ตามลำดับ ซึ่งมีค่าดีกว่าเกณฑ์มาตรฐานของคณะกรรมการดำเนินงานศึกษา และวิจัยปัญหาเรื่องการผลิตครู (อัตราส่วนครู-นักเรียน เป็น 1:25) 4. วิทยาลัยช่างอุตสาหกรรม มีความสูญเปล่าทางการศึกษาทั้งในด้าน การเรียนช้ากว่ากำหนด และการลาออกกลางคัน เมื่อพิจารณาแต่ละวิทยาลัยแล้ว ปรากฏว่า วิทยาลัยเทคนิคดอนเมือง มีความสูญเปล่าทางการศึกษาด้านการลาออกกลางคัน เพียงลักษณะเดียวแต่วิทยาลัยอื่นๆ มีความสูญเปล่าทางการศึกษาทั้ง 2 ลักษณะ อย่างไรก็ตาม ความสูญเปล่าทางการศึกษาด้าน การเรียนช้ากว่ากำหนดมีแนวโน้มลดลง ในขณะที่ความสูญเปล่าทางการศึกษาด้านการลาออกกลางคัน กลับมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น จำนวนเงินที่วิทยาลัยช่างอุตสาหกรรม ต้องสูญเสียไปเนื่องจากการเรียนซ้ำกว่ากำหนด และการลาออกกลางคันจำนวน 6 รุ่น เป็นเงิน 40,275,078.31 บาท 5. วิทยาลัยช่างกลปทุมวัน มีสัดส่วนจำนวนผู้สำเร็จการศึกษา สาขาวิชาช่างยนต์ ช่างไฟฟ้า ช่างกลโรงงาน ช่างวิทยุโทรคมนาคม และช่างเชื่อมโลหะแผ่น เป็น 0.8934, 0.9330, 0.9093, 0.8546 และ 0.8655 ตามลำดับ ซึ่งมีค่ามากกว่าวิทยาลัยเทคนิคราชสิทธาราม และวิทยาลัยเทคนิคมีนบุรี อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ สำหรับสาขาวิชาช่างก่อสร้าง สัดส่วนจำนวนผู้สำเร็จการศึกษาของวิทยาลัยเทคนิคดอนเมือง และวิทยาลัยเทคนิคราชสิทธาราม มีค่าเป็น 0.7978 และ 0.8050 ตามลำดับ ซึ่งไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ แต่ค่าสัดส่วนดังกล่าวของวิทยาลัยทั้ง 2 มากกว่าวิทยาลัยเทคนิคดุสิต และวิทยาลัยเทคนิคมีนบุรี อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติen_US
dc.description.abstractalternativeThe purposes of this study were to investigate the Educational Productivity of Industrial Technical Colleges under the Department of Vocational Education in Bangkok Metropolis : Patumwan Technical Institute, Dusit Techincal College, Meanburi Technical College, Rajsittaram Technical College and Donmuang Technical College. The educational Productivity was to considered on the direct social cost per student per year, the retention ratio, the teacher’s qualification ratio, the student teacher ratio, the educational efficiency ratio, the educational wastage ratio, the proportion of graduates and the total expenditure that Industrial Technical Colleges had wasted on the repeaters and drop outs. The null hypotheses were tested by means of the confidence interval of mean, Chi-square test and z-test. The results were : 1. The direct social cost per student per year was 9,639.29 baht which were 7,373.55 baht for the recurrent cost and 2,265.74 baht for the capital cost 2. During academic year 1976-1980, The teacher’s qualification ratio of Industrial Technical Colleges Bachelor’s degree or higher to lower than Bachelor’s degree were 4.6 : 6.4, 5.2 :4.8, 5.5 :4.5, 5.7 :4.3 and 6.0 : 4.0 respectively which were not statistically significant from the standard Criterion (The teacher’s qualification ratio was 5:5) 3. During academic year 1976-1980, the student-teacher ratio of Industrial Technical Colleges were 1:16, 1:6, 1:17, 1:16 and 1:14 respectively which were better than the standard criterion (the student-teacher ratio was 1:25) 4.Industrial Technical Colleges had wastage of both repetition and drop out. To consider each individual Technical College, Donmuang Technical College had only the drop out wastage but the others had the educational wastage of both aspect. However, the wastage of repetition had a tendency to decrease but the wastage of drop out had a tendency to increase. The total expenditure that Industrial Technical Colleges had wasted on the repeaters and the drop outs of six cohorts (1972-1977) was 40,275,078.31 baht. 5. The proportion of graduates of Patumwan Technical Institute in five fields of studies (Auto Mechanirs, Electricity, Machine shop, Radio and Telecommunication, Welding and Sheet metal) were 0.8934, 0.9330, 0.9093, 0.8546 and 0.8655 respectively which were significantly higher than that of Rajsttaram Technical College and Meanburi Technical College. The proportion of graduates of Donmuang Technical College and Rajsittaram Technical College in the field of Building Construction were 0.7978 and 0.8050 respectively which were significantly higher than that of Dusit Technical College and Meanburi Technical College.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.1982.26-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectโรงเรียนอาชีวศึกษา -- ไทย -- กรุงเทพฯ-
dc.subjectอาชีวศึกษา -- การบริหาร-
dc.subjectVocational education -- Administration-
dc.titleประสิทธิผลทางการศึกษาของวิทยาลัยช่างอุตสาหกรรม สังกัดกรมอาชีวศึกษา ในกรุงเทพมหานครen_US
dc.title.alternativeEducational productivity of industrial technical colleges under the department of vocational education in Bangkok metropolisen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameครุศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineวิจัยการศึกษาen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.1982.26-
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Sriyatra_Je_front.pdf414.74 kBAdobe PDFView/Open
Sriyatra_Je_ch1.pdf395.18 kBAdobe PDFView/Open
Sriyatra_Je_ch2.pdf864.52 kBAdobe PDFView/Open
Sriyatra_Je_ch3.pdf256.84 kBAdobe PDFView/Open
Sriyatra_Je_ch4.pdf1.16 MBAdobe PDFView/Open
Sriyatra_Je_ch5.pdf428.85 kBAdobe PDFView/Open
Sriyatra_Je_back.pdf470.5 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.