Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/6204
Title: | ผลของความต้องการส่วนบุคคลและเพศที่มีต่อการเลือกลักษณะองค์การที่ต้องการร่วมงานด้วย |
Other Titles: | Effects of personal needs and genders on organization choices |
Authors: | นนท์นที พิยะกูล |
Advisors: | ชัยพร วิชชาวุธ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะจิตวิทยา |
Advisor's Email: | ไม่มีข้อมูล |
Subjects: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย -- นิสิต ภาพลักษณ์องค์การ การสรรหาบุคลากร ความต้องการ (จิตวิทยา) ความแตกต่างระหว่างบุคคล |
Issue Date: | 2546 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาการเลือกลักษณะองค์การที่ต้องการ และผลของความต้องการส่วนบุคคลและเพศที่มีต่อการเลือกลักษณะองค์การที่ต้องการร่วมงานด้วย โดยมีกลุ่มตัวอย่างเป็นนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ชั้นปีที่ 4 ระดับปริญญาบัณฑิต จำนวน 216 คน กลุ่มตัวอย่างจะต้องตอบแบบสำรวจลักษณะความต้องการส่วนบุคคลและลักษณะองค์การที่ต้องการร่วมงานด้วย ซึ่งเป็นแบบมาตรวัด 7 ระดับ ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างต้องการเป็นอย่างยิ่งที่จะทำงานในองค์การที่มีลักษณะกลุ่มนิยม มีความเหลื่อมล้ำของอำนาจต่ำ และมีความเป็นหญิง รองลงมาได้แก่ องค์การที่มีความเป็นชาย และมีการหลีกเลี่ยงความไม่แน่นอนต่ำ รู้สึกเฉยๆ ที่จะทำงานในองค์การที่มีการหลีกเลี่ยงความไม่แน่นอนสูง และมีลักษณะปัจเจกนิยม แต่ไม่ต้องการเป็นอย่างยิ่งที่จะทำงานในองค์การที่มีความเหลื่อมล้ำของอำนาจสูง ความต้องการส่วนบุคคลมีผลต่อการเลือกลักษณะองค์การที่ต้องมาร่วมงานด้วย โดยพบว่า เมื่อเปรียบเทียบกลุ่มตัวอย่างที่มีความต้องการประสบความสำเร็จสูงต้องการทำงานด้วยมากกว่ากลุ่มตัวอย่างที่มีความต้องการประสบความสำเร็จต่ำ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.05) คือ องค์การที่มีความเหลื่อมล้ำของอำนาจต่ำ (Ms = 6.23, 5.86, t[subscript .05(199.46)] = 3.01) มีความเป็นหญิง (Ms = 6.18, 5.88, t[subscript .05(214) = 2.43) และมีความเป็นชาย (Ms = 5.65, 5.02, t[subscript .05(214) = 4.77) เมื่อเปรียบเทียบกลุ่มตัวอย่างที่มีความต้องการไมตรีสัมพันธ์สูงและกลุ่มตัวอย่างที่มีความต้องการไมตรีสัมพันธ์ต่ำ พบว่า ลักษณะองค์การที่กลุ่มตัวอย่างที่มีความต้องการไม่ตรีสัมพันธ์สูงต้องการทำงานด้วยมากกว่ากลุ่มตัวอย่างที่มีความต้องการไมตรีสัมพันธ์ต่ำ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.05) คือ องค์การที่มีลักษณะกลุ่มนิยม (Ms = 6.31, 6.00, t[subscript .05(214) = 2.43) มีความเหลื่อมล้ำของอำนาจต่ำ (Ms = 6.30, 5.80, t[subscript .05(194.52) = 4.14) มีความเป็นชาย (Ms = 6.23, 5.85, t[subscript .05(203.66) = 2.11) และมีความเป็นหญิง (Ms = 5.57, 5.13, t.05(214) = 3.26) เมื่อเปรียบเทียบกลุ่มตัวอย่างที่มีความต้องการอำนาจสูงและกลุ่มตัวอย่างที่มีความต้องการอำนาจต่ำ พบว่า ลักษณะองค์การที่กลุ่มตัวอย่างที่มีความต้องการทำงานด้วยมากกว่ากลุ่มตัวอย่างที่มีความต้องการอำนาจต่ำ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.05) คือ องค์การที่มีลักษณะปัจเจกนิยม (Ms = 3.55, 3.23, t[subscript .05(205) = 2.30) และมีความเหลื่อมล้ำของอำนาจสูง (Ms = 2.07, 1.65, t[subscript .05(181.08) = 2.96) แต่ลักษณะองค์การที่กลุ่มตัวอย่างที่มีความต้องการอำนาจสูงมีความต้องการทำงานด้วยน้อยกว่ากลุ่มตัวอย่างที่มีความต้องการอำนาจต่ำ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.05) คือ องค์การที่มีลักษณะกลุ่มนิยม (Ms = 6.00, 6.30, t[subscript .05(205) = -2.16) กลุ่มตัวอย่างชายและหญิงแสดงความต้องการทำงานในองค์การที่มีลักษณะต่างๆ ไม่แตกต่างกัน ยกเว้นองค์การที่มีลักษณะการหลีกเลี่ยงความไม่แน่นอนต่ำ (Ms = 4.80, 5.12, t[subscript .05(214) = -2.21) โดยกลุ่มตัวอย่างชายรู้สึกเฉยๆ แต่กลุ่มตัวอย่างหญิงต้องการ กลุ่มตัวอย่างชายและหญิงที่มีลักษณะความต้องการส่วนบุคคลแต่ละด้าน (ความต้องการประสบความสำเร็จ ความต้องการไมตรีสัมพันธ์ และความต้องการอำนาจ) ระดับเดียวกัน มีแนวโน้มจะเลือกองค์การที่ต้องการทำงานด้วยไม่แตกต่างกัน |
Other Abstract: | This research was purposed to investigate organization choices and the effects of personal needs and genders on them. The subjects comprised 216 undergraduate students of Chulalongkorn University. All of them were senior. They were supposed to fill out the 7 point skales questionnaires of personal needs and organization choices. The results were found that the subjects most prefered organizations where were collectivistic, low power distance, and feminine. They prefered an masculine organization to a weak uncertainty avoidance one. And they had passive preferences on organizations where were strong uncertainty avoidance, and individualistic. Anyway they did not prefer a high power distance organization so much. It was found that personal needs had effects on organization choices. Compared subjects high and low in need for achievement, organizations where the subjects high in need for achievement significantly more prefered than were the subjects low in need for achievement were low power distance (Ms = 6.23, 5.86, t[subscript .05(199.46) = 3.01), feminine (Ms = 6.18, 5.88, t[subscript .05(214) = 2.43), masculine (Ms = 5.65, 5.02, t[subscript .05(214) = 4.77), and weak uncertainty avoidance (Ms = 5.23, 4.75, t[subscript .05(214) = 3.54). Compared subjects high and low in need for affiliation, organizations where the subjects high in need for affiliation significantly more prefered than were the subjects low in need for affiliation were collectivistic (Ms = 6.31, 6.00, t[subscript .05(214) = 2.43), low power distance (Ms = 6.30, 5.80, t[subscript .05(194.52) = 4.14), masculine (Ms = 6.23, 5.85, t[subscript .05(203.66) = 2.11), and feminine (Ms = 5.57, 5.13. t[subscript .05(214) = 3.26). Compared subjects high and low in need for power, organizations where the subjects high in need for power significantly more prefered than were the subjects low in need for power were individualistic (Ms = 3.55, 3.23, t[subscript .05(205) = 2.30) and high power distance (Ms = 2.07, 1.65, t[subscript .05(181.08) = 2.96). But the high need for power subjects less prefered a collectivistic organization than were the low need for power subjects (Ms = 6.00, 6.30, t[subscript .05(205) = -2.16). Male and female subjects had no differences in organization choices except for a weak uncertainty avoidance organization (Ms = 5.12, 4.80, t[subscript .05(214) = -2.21). Male subjects had passive perferences on it, but female subjects perfered. Male and female subjects who had the same for each personal need (n-Ach, n-Aff, and n-Power) did not have differences in organization choices. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2546 |
Degree Name: | ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | จิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/6204 |
ISBN: | 9741740166 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Psy - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Nonnatee.pdf | 1.01 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.