Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/62047
Title: แผนที่ระดับความสูงน้ำท่วม และทิศทางการไหลของน้ำจากอำเภอป่าโมก จังหวัดอ่างทอง
Other Titles: Flood height map and flow direction of flood water from Amphoe Pamok, Changwat Angthong
Authors: เอกวัฒน์ ชาญภิญโญ
Advisors: มนตรี ชูวงษ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
Advisor's Email: Montri.C@Chula.ac.th
Subjects: ธรณีวิทยา -- ไทย -- อ่างทอง
การระบายน้ำ -- ไทย -- อ่างทอง
อุทกภัย -- ไทย -- อ่างทอง
Geology -- Thailand -- Angthong
Drainage -- Thailand -- Angthong
Floods -- Thailand -- Angthong
Issue Date: 2560
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ในปี พ.ศ.2554 ประเทศไทยประสบอุทกภัยครั้งใหญ่ในรอบหลายปี มหาอุทกภัยครั้งนี้เกิดจาก 2 ปัจจัยหลัก คือปัจจัยจากธรรมชาติมีพายุที่พัดผ่านเข้ามาอย่างต่อเนื่องและยาวนาน จึงสะสมเป็นมวลน้ำปริมาณมหาศาล ส่งผลให้ทางไหลของน้ำธรรมชาติไม่สามารถรองรับได้ ท้าให้เกิดน้ำล้นตลิ่งและส่งผลกระทบต่อปัจจัยการจัดการของหน่วยงาน สร้างความสูญเสียอย่างมหาศาลแก่ประชาชน ทั้งบ้านเรือน ไร่นา และพื้นที่ชุมชน อย่างไรก็ตามมหาอุทกภัยในครั้งนั้นได้ทิ้งร่องรอยน้ำท่วมไว้ในเกือบทุกพื้นที่ รวมถึงอำเภอป่าโมก จังหวัดอ่างทองริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา และแม่น้ำน้อย ซึ่งประสบอุทกภัยเป็นประจำ จากอดีตถึงปัจจุบันมีสิ่งก่อสร้างเกิดขึ้นมากมายในพื้นที่ เช่น บ่อทราย ถนน อาคาร ปัจจัยเหล่านี้อาจส่งผลต่อการไหลของน้ำในธรรมชาติได้ จุดประสงค์ของงานวิจัยชิ้นนี้คือการสร้างแผนที่ระดับความสูงน้ำท่วมจากข้อมูลร่องรอยน้ำท่วม ปี พ.ศ.2554 โดยบันทึกค่าความสูงวัดจากระดับคราบน้ำท่วมปี พ.ศ.2554 ลงมาถึงพื้นดิน ณ ปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็นถนน ดินถม หรือที่ราบเดิม รวมถึงการสอบถามผู้ที่อยู่อาศัย เพื่อใช้ในวิเคราะห์การไหลของน้ำในพื้นที่จากที่สูงลงสู่ที่ราบ ซึ่งพบว่าพื้นที่ฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยามีพื้นที่รับน้ำตามธรรมชาติหลายแห่ง ปัจจุบันพื้นที่ดังกล่าวได้มีการดำเนินธุรกิจบ่อทรายขนาดใหญ่ที่มีผลต่อการไหลของน้ำในธรรมชาติ และอาจเป็นหนึ่งในสาเหตุที่ก่อให้เกิดความรุนแรงของการเกิดอุทกภัยในพื้นที่ได้ งานวิจัยนี้จึงสามารถนำไปวางแผนการบรรเทาการเกิดอุทกภัยในพื้นที่ต่อไปได้
Other Abstract: In 2011, Thailand was suffered from a major flood disaster. The disaster has been described as one of the worst flooding yet in Thailand’s history. This flood had two main factors : first was natural factors, there were long-lasting storms that brought flooding throughout many places. As a result, the drainage areas couldn’t possible to carry these water masses that caused overflow all over the places and affecting management factor failed. The impacts of flooding included human life, damage to property and the land value. Nevertheless, the major flood left the water marks in almost affecting areas shown the maximum rise of water. Obviously seen in Amphoe Pamok, Angthong, one of the 2011 and annual’s flooding affected areas, these water marks stained on houses, poles and buildings. So far the constructions in area would divert the spontaneous movement of water. The purpose of research is to generate flood height map based on the maximum flood level in 2011 in the present state and the society association. The result of water flow direction in area shows that the western areas were drainage basins, at the present the area has been operated sand pits for years and would be the cause of unpredictable flood in the area afterward. For this research, including maps, imagery and the data purposes in planning flood mitigation process and flood risk mitigation plan.
Description: โครงงานเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาธรณีวิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2560
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/62047
Type: Senior Project
Appears in Collections:Sci - Senior Projects

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
senior_project_Ekawat Chanpinyo.pdf1.63 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.