Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/62279
Title: ความคิดเห็นของพยาบาลวิชาชีพต่อบทบาทของพยาบาล ในการเป็นที่ปรึกษาเกี่ยวกับเรื่องเพศ
Other Titles: Opinions of professional nurses' towards nurses' role on sex counselling
Authors: ศรีวรรณ วงศ์เจริญ
Advisors: จินตนา ยูนิพันธุ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Subjects: เพศศึกษา
พยาบาล -- ทัศนคติ
Issue Date: 2525
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อการศึกษาความคิดเห็นของพยาบาลวิชาชีพต่อบทบาทของพยาบาลในการเป็นที่ปรึกษาเกี่ยวกับเรื่องเพศ และเปรียบเทียบความคิดเห็นระหว่างพยาบาลวิชาชีพที่เป็นโสด และสมรส อาจารย์พยาบาลและพยาบาลปฏิบัติการ ช่วงอายุต่างๆ และแผนกที่ทำงานต่างๆ โดยเป็นรายหมวด (4 หมวด) ตัวอย่างประชากรที่ใช้ในครั้งนี้เป็นพยาบาลวิชาชีพ 240 คน จากโรงพยาบาลของรัฐและวิทยาลัยพยาบาลในเขตกรุงเทพมหานคร การเลือกตัวอย่างประชากรใช้วิธีการสุ่มแบบแยกประเภท เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นเอง และนำไปหาความตรงตามเนื้อหาและความเที่ยง มีค่า 0.80 ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าคะแนนเฉลี่ยความเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที (t – test) ANOVA และเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยเป็นรายคู่ด้วย q – statistic ผลการวิจัยพบว่า พยาบาลวิชาชีพส่วนมากมีความคิดเห็นต่อบทบาทของพยาบาลในการเป็นที่ปรึกษาเกี่ยวกับเพศเป็นไปในเชิงบวก ซึ่งแสดงว่าพยาบาลมีความรู้เกี่ยวกับเรื่องเพศ พอที่จะทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาเกี่ยวกับเรื่องเพศได้ และผลจากการทดสอบสมมติฐานสรุปได้ดังนี้ 1.คะแนนเฉลี่ยความคิดเห็นต่อบทบาทของพยาบาลในการเป็นที่ปรึกษาเกี่ยวกับเรื่องเพศ (ทุกหมวด) ระหว่างกลุ่มตัวอย่างที่เป็นโสดและสมรส เมื่อวิเคราะห์เป็นรายข้อส่วนใหญ่ไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ ไม่เป็นไปตามสมมติฐาน ยกเว้นข้อ 5 (หมวด 1) ข้อ 2 และ 15 (หมวด 2) เรียงตามลำดับดังนี้ หญิงมีครรภ์ควรมีเพศสัมพันธ์ได้ตามปกติ, โฮโมเซ็กส์ชวลหรือเลสเบียนไม่จำเป็นต้องรับการรักษา และขนาดของอวัยวะเพศชายเป็นสิ่งสำคัญในการทำให้หญิงถึงจุดสุดยอด มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. คะแนนเฉลี่ยความคิดเห็นต่อบทบาทของพยาบาลในการเป็นที่ปรึกษาเกี่ยวกับเรื่องเพศ (ทุกหมวด) ระหว่างกลุ่มตัวอย่างที่เป็นอาจารย์พยาบาล และพยาบาลปฏิบัติการเมื่อวิเคราะห์เป็นรายข้อ ไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ เป็นไปตามสมมติฐาน ยกเว้นข้อ 5 และ 5 (หมวด 1) ข้อ 6 และ 15 (หมวด 2) ข้อ 2 และ 4 (หมวด 4) เรียงตามลำดับดังนี้ หญิงมีครรภ์ควรมีเพศสัมพันธ์ได้ตามปกติ ผู้ป่วยโรคหัวใจไม่ควรมีเพศสัมพันธ์โดยเด็ดขาด วิชาเพศศึกษาทำให้ผู้เรียนมีความเชี่ยวชาญในการมีเพศสัมพันธ์มากขึ้น ผู้ที่หมั้นหมายกันมีเพศสัมพันธ์กันได้ และสามีหรือภรรยาควรยินยอมให้คู่ของตนมีเพศสัมพันธ์กับผู้อื่นได้ ถ้าตนเองมีความบกพร่องทางเพศ มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ .01 ในข้อ 2, 4 (หมวด 4) 3. คะแนนเฉลี่ยความคิดเห็นต่อบทบาทของพยาบาลในการเป็นที่ปรึกษาเกี่ยวกับเรื่องเพศ (ทุกหมวด) ระหว่างกลุ่มตัวอย่างที่มีช่วงอายุ 20-30 ปี, 31-45 ปี และ 45 ปีขึ้นไป มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 เป็นไปตามสมมติฐานผลจากการทดสอบความแตกต่างเป็นรายคู่ พบว่าทุกหมวดไม่มีความแตกต่างกัน ยกเว้นหมวด 4 กลุ่มตัวอย่างช่วงอายุ 20-30 ปี มีความคิดเห็นเกี่ยวกับการมีเพศสัมพันธ์ก่อนแต่งงานและการมีเพศสัมพันธ์กับผู้อื่นนอกเหนือจากคู่ของตนเป็นไปในเชิงบวกมากกว่า กลุ่มอายุ 45 ปี ขึ้นไป แต่ไม่แตกต่างกับกลุ่มอายุ 31-45 ปี 4. คะแนนเฉลี่ยความคิดเห็นต่อบทบาทของพยาบาลในการเป็นที่ปรึกษาเกี่ยวกับเรื่องเพศ (ทุกหมวด) ระหว่างกลุ่มตัวอย่าง แผนกการพยาบาลอายุรกรรมและศัลยกรรม แผนกการพยาบาลสูติกรรม, cแผนกการพยาบาลกุมารเวชกรรม และแผนกการพยาบาลจิตเวช ไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ ไม่เป็นไปตามสมมติฐาน ยกเว้นหมวด 2 (ความคิดเห็นเกี่ยวกับสังคมความเชื่อในเรื่องเพศ) มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 ผลจากการทดสอบเป็นรายคู่ พบว่ากลุ่มตัวอย่างแผนกการพยาบาลจิตเวชมีความคิดเห็นไปในเชิงบวกมากกว่ากลุ่มตัวอย่างแผนกการพยาบาลอายุรกรรม และศัลยกรรม, แผนกการพยาบาลสูติกรรม, แผนกการพยาบาลกุมารเวชกรรม และแผนกการพยาบาลจิตเวช แต่ไม่พบความแตกต่างทางสถิติระหว่างกลุ่มเหล่านี้
Other Abstract: The purposes of this research were to study the opinions of professional nurses’ towards nurses’ role on sex counseling and to compare those opinions at differences ages, marital status, positions, and field of practices. The research population were nurses from various governmental hospitals and nursing schools in Bangkok. The stratified random sampling method was employed in selecting the sample group of 240 nurses. The questionnaire was developed by the researcher which had been tested for content validity. Its reliability was .080. Statistic procedures used to analyze data were arithmetic mean, standard deviation, t-test, ANOVA and q-statistic. The result is that most of professional nurses had positive opinions towards nurses’ role on sex counseling. It meant that professional nurses had enough sex knowledge. Therefore a sex counselor could be a role of the nurse. Hypotheses were tested which found that ; 1. There was no significant difference between the arithmetic means of the opinions of single and married nurses towards nurses’ role on sex counseling, except the means of the opinions towards item no.5 (section 1) item no.2, 15 (section 2) which were “the pregnant woman can have sexual intercourse regulary, homosexual or lesbian person does not needs sex therapy and the size of penis is the important aspect in stimulation of orgasm in a woman” were significant difference at level .05 2. There was no significant difference between the arithmetic means of the opinions of nursing instructors and staff nurses towards nurses’ role on sex counseling, except the means of the opinions towards item no. 5,6 (section 1) item no.6,15 (section 2) , item no. 3,4 (section 4) which were “the pregnant woman can have sexual intercourse regulary, the cardiac patient should not have sexual intercourse, sex education leads students more experiences in sexual intercourse, the size of penis is the important aspect in stimulation of orgasm in a woman, extramarital relationship is bad, and a husband or wife should allow his or her spouse to have sex with other person if they have sexual dysfunction” were significant difference at level .05 for all above items and level .01 for item no.3, 4 (section 4) 3. There was significant difference at level.001 between the arithmetic means of the opinions towards sex counseling of the nurses at various age groups. Although the 20 – 30 year nurses have more positive opinions in section 4 than those 31-45 year, no significant difference was found through the q-statistic test of Newman Keuls, between those means 4. There was no significant difference between the arithmetic means of the opinions towards sex counseling between the nurses who worked at difference field of practices. With the exception that the means of the opinions of medical & surgical nurses, obstetric nurses, pediatric nurses and psychiatric nurses towards sex myth (section 2) was significant difference at level .05. Interestingly, the psychiatric nurses have the most positive opinions towards sex myth.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2525
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: สุขศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/62279
ISBN: 9745611395
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Sriwan_Wo_front.pdf405.24 kBAdobe PDFView/Open
Sriwan_Wo_ch1.pdf440.52 kBAdobe PDFView/Open
Sriwan_Wo_ch2.pdf708.65 kBAdobe PDFView/Open
Sriwan_Wo_ch3.pdf242.51 kBAdobe PDFView/Open
Sriwan_Wo_ch4.pdf807.85 kBAdobe PDFView/Open
Sriwan_Wo_ch5.pdf457.87 kBAdobe PDFView/Open
Sriwan_Wo_back.pdf522.47 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.