Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/6234
Title: การศึกษาสถานะขององค์ความรู้ ด้านการสื่อสารและการมีส่วนร่วมในวิทยานิพนธ์ สาขานิเทศศาสตรพัฒนาการของไทย
Other Titles: The state of communication and participation in development communication theses in Thailand
Authors: ชลลดา กิจรื่นภิรมย์สุข
Advisors: อุบลวรรณ เปรมศรีรัตน์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์
Advisor's Email: Ubolwan.P@chula.ac.th
Subjects: วิทยานิพนธ์
สื่อมวลชนกับการพัฒนาชุมชน
การสื่อสารระหว่างบุคคล
Issue Date: 2548
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจสถานะขององค์ความรู้ด้านการสื่อสารและการมีส่วนร่วม โดยศึกษานิยามศัพท์ของการสื่อสารและการมีส่วนร่วม ประเด็นการศึกษาวิจัย ระเบียบวิธีวิจัยและข้อค้นพบที่นำมาสู่ องค์ความรู้ด้านการสื่อสารและการมีส่วนร่วม การศึกษาวิจัยนี้เป็นการวิจัยเอกสาร (Document Analysis) จากวิทยานิพนธ์จำนวน 73 เล่มที่มีการเผยแพร่ระหว่างปี พ.ศ. 2524-2547 ในสาขานิเทศศาสตรพัฒนาการ จาก 4 สถาบัน ได้แก่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ และมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล ได้แก่ แบบบันทึกข้อมูล และการวิเคราะห์ข้อมูลใช้ การสังเคราะห์งานวิจัยเชิงปริมาณด้วยการวิเคราะห์อภิมาน (Meta-Analysis) และการสังเคราะห์งานวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยการวิจัยเชิงชาติพันธุ์วรรณนาอภิมาน (Meta-Ethnography) ผลการศึกษาวิจัย พบว่า 1) นิยามศัพท์การสื่อสารและการมีส่วนร่วม หมายถึง แนวความคิดที่มุ่งเน้นให้สมาชิกในชุมชนมีส่วนร่วม โดยใช้การสื่อสารในรูปแบบต่างๆ ก่อให้เกิดการระดมความคิด การแลกเปลี่ยน ตัดสินใจ วางแผน และร่วมกันทำงาน รวมทั้งมีการตรวจสอบหรือประเมินผลการดำเนินการเพื่อก่อให้เกิดการพัฒนา หรือ เพื่อการแก้ไขปัญหาคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้นภายในชุมชน 2) ประเด็นที่มีการศึกษามากที่สุด คือ การสื่อสารเพื่อการพัฒนาทางด้านสิ่งแวดล้อม 3) ระเบียบวิธีวิจัยที่ใช้มากที่สุด คือ การวิจัยเชิงปริมาณ ใช้วิธีการศึกษาเชิงสำรวจและใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือหลักในการเก็บข้อมูล กลุ่มเป้าหมายที่ศึกษา คือ ประชาชนในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลมากที่สุด 4) ข้อค้นพบที่นำมาสู่องค์ความรู้ด้านการสื่อสารและมีส่วนร่วมนั้น งานวิจัยเชิงปริมาณส่วนใหญ่เน้นศึกษาพฤติกรรมของผู้รับสาร โดยมุ่งศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรต่างๆ โดยเฉพาะการเปิดรับข่าวสารกับการเปลี่ยนแปลงความรู้ ทัศนคติและพฤติกรรมการมีส่วนร่วม ส่วนงานวิจัยเชิงคุณภาพเป็นการศึกษากระบวนการสร้างการสื่อสารที่ก่อให้เกิดการมีส่วนร่วมซึ่งมีลักษณะ คือ(1) เป็นการสื่อสารสองทาง (2) เป็นการไหลแบบ 2 จังหวะ (Two-Step Flow) (3) มีเป้าหมายสร้างประโยชน์เพื่อประชาชนเป็นหลัก (4) ลักษณะของสื่อที่ใช้ ส่วนใหญ่คือ สื่อบุคคลซึ่งมีลักษณะเป็นผู้ที่น่าเคารพนับถือ เป็นผู้เชี่ยวชาญหรือมีชื่อเสียงเป็นที่รู้จัก (5) ลักษณะของสาร ได้แก่ เนื้อหาที่เกี่ยวกับปัญหาของชุมชน, ประโยชน์ที่สมาชิกจะได้รับ, เนื้อหาที่เป็นเรื่องใกล้ตัว (6) ระดับการมีส่วนร่วมของประชาชนนั้น พบว่ายังคงเป็นผู้รับสารแบบ Passive Audience ซึ่งจะรับข้อมูลข่าวสารจากหน่วยงานของรัฐเป็นส่วนใหญ่
Other Abstract: The main purpose of this research is to investigate the progression of knowledge on 'Communication and Participation' by considering the definitions of 'Communication and Participation', areas of study, and research methodologies. This research is based on document analysis from 73 theses of 'Development Communication Program' between 1981-2005. These theses are from four graduate schools: Chulalongkorn University, Thammasat University, Dhurakitbundit University, and Kasetsat University. This research also used coding sheets and employed Meta-Analysis synthesis in quantitative methods and Meta-Ethnography analysis in qualitative methods. Results of the research are as follows: 1) The definition of 'Communication and Participation' is an interactive process characterized by different kinds of interaction between people such as, exchanging ideas and information, making decision, and planning for developing or solving problem in their community. 2) The most famous subject in this area of study is 'Communication for Environmental Development'. 3) The most widely used research methodology is a quantitative research employing survey research and questionnaire as major research tools. The main target of the research is people in Bangkok and suburb areas. In addition, most of them employed inferential Statistics to analysis data. 4) Most of quantitative studies emphasis on the relationship between different variables to the behavior of information receivers especially perceiving information and changing paradigm, attitude, and participating behavior. On the other hand, qualitative studies concentrate on the process of initiating participatory communication which has six characteristics. They are: (1) The communication is two-way. (2) The communication is two-step flow. (3) The main goal is to benefit people. (4) The communication is usually from/with respectful or famous people or specialists. (5) Messages of the participatory communication are usually problems in community, benefits for the community members which are closely related to the community members. (6) The level of participation of the population is elementary. The receivers are 'Passive Audiences' i.e., the audiences mainly receive information from the government.
Description: วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2548
Degree Name: นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นิเทศศาสตรพัฒนาการ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/6234
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2005.457
ISBN: 9745329177
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2005.457
Type: Thesis
Appears in Collections:Comm - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
chollada.pdf2.57 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.