Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/62362
Title: ความสัมพันธ์ระหว่างฝ่ายบริหารกับฝ่ายนิติบัญญัติของกรุงเทพมหานคร อันมีผลกระทบต่อการเมืองและการบริหารของกรุงเทพมหานคร
Other Titles: Relations between executive and legislative of Bangkok metropolitan administration affecting politics and administration of Bangkok metropolitan administration
Authors: วรานนท์ วงษ์พันธ์สิงห์
Advisors: ประหยัด หงษ์ทองคำ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Subjects: กรุงเทพมหานคร
กรุงเทพมหานคร -- การบริหาร
อำนาจบริหาร -- ไทย
อำนาจนิติบัญญัติ -- ไทย
กรุงเทพฯ -- การเมืองและการปกครอง
Issue Date: 2531
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างฝ่ายบริหารกับฝ่ายนิติบัญญัติของกรุงเทพมหานครว่ามีความสัมพันธ์กันในลักษณะใด มีความขัดแย้งเกิดขึ้นหรือไม่ และมีผลอย่างไรต่อการเมืองและการบริหารของกรุงเทพมหานคร ผลการวิจัย พบว่า ความสัมพันธ์ระหว่างฝ่ายบริหารกับฝ่ายนิติบัญญัติของกรุงเทพมหานครมีลักษณะที่ฝ่ายบริหารมีอำนาจเหนือฝ่ายนิติบัญญัติ ซึ่งสาเหตุจาก การที่กฎหมายกำหนดบทบาทและอำนาจหน้าที่ให้ฝ่ายบริหารมีความเข้มแข็ง และไม่ได้มีมาตรการให้ฝ่ายนิติบัญญัติถ่วงรั้งได้อย่างเพียงพอ ประกอบกับการที่ฝ่ายบริหารได้รับชัยชนะจากการเลือกตั้งด้วยคะแนนเสียงท่วมท้น จนทำให้สามารถอ้างคะแนนนิยมมาเป็นเสียงสนับสนุนในการดำเนินนโยบายของตนได้ และฝ่ายนิติบัญญัติซึ่งมีเสียงข้างมากในสภา ได้รับการเลือกตั้งมาจากประชาชนสังกัดพรรคการเมืองคนละฝ่ายกับฝ่ายบริหาร จึงทำให้เกิดความขัดแย้งระหว่างทั้ง 2 ฝ่ายขึ้น ซึ่งผลกระทบของความขัดแย้งก่อให้เกิดผลเสียงทางการเมือง คือ เกิดการแตกแยกเป็นกลุ่ม/พรรคการเมือง แบ่งเป็นฝ่ายบริหารกับไม่ใช่ฝ่ายบริหาร มีการหาเสียงให้กับตนเองและโจมตีฝ่ายตรงข้ามทางสื่อมวลชนอยู่ตลอดเวลา ส่วนผลเสียงทางการบริหารนั้น ก่อให้เกิดการบริหารงานที่ล่าช้า ทำให้กรุงเทพมหานครไม่พัฒนาไปเท่าที่ควร ผู้วิจัยได้เสนอแนะวิธีการแก้ไขปัญหาความขัดแย้ง ด้วยการให้มีการปรับปรุงกฎหมายในบางมาตรา ให้ทั้ง 2 ฝ่ายศึกษาบทบาทและอำนาจหน้าที่ของกันและกันให้เข้าใจอย่างแจ่มชัดเพื่อจะได้ไม่ก้าวก่ายหน้าที่ซึ่งกันและกัน และให้จัดตั้งคณะทำงานขึ้นเพื่อทำหน้าที่ในการประสานงานทั้งในด้านความคิดเห็นและวิธีการปฏิบัติ เพื่อทั้ง 2 ฝ่ายจะได้มีความเข้าใจในแนวทางและวิธีการปฏิบัติที่ตรงกัน
Other Abstract: This research is confined to the identification and the appraisal of the existing phenomena pertaining to the relationship between the executive and the legislative of B.M.A. The Executive, according to the verification, confirmed by the study, to the predominant and prestigious position enjoyed by the executive, has been caused by the legal provision, setforth by the B.M.A. Act, as well as the overwhelming electoral support undered to the chief executive. Consequently, the prevailing conflicts between the executive and legislative have fostered certain digress of delay, confrontation and stagnation. Certain practical solutions would by the legal amendments and meaningful coordinating by means of close and consistent adjustment through permanent bodies upresenting each power.
Description: วิทยานิพนธ์ (ร.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2531
Degree Name: รัฐศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การปกครอง
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/62362
ISBN: 9745690139
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Varanoonth_wo_front_p.pdf3.54 MBAdobe PDFView/Open
Varanoonth_wo_ch1_p.pdf11.44 MBAdobe PDFView/Open
Varanoonth_wo_ch2_p.pdf18.59 MBAdobe PDFView/Open
Varanoonth_wo_ch3_p.pdf19.95 MBAdobe PDFView/Open
Varanoonth_wo_ch4_p.pdf33.81 MBAdobe PDFView/Open
Varanoonth_wo_ch5_p.pdf7.08 MBAdobe PDFView/Open
Varanoonth_wo_back_p.pdf6.93 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.