Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/6242
Title: นิตยสาร a day กับภาพสะท้อนของกลุ่มวัฒนธรรมย่อยแบบโพสต์โมเดิร์น
Other Titles: A Day Magazine and the reflection of postmodern sub-culture
Authors: การณิก ยิ้มพัฒน์
Advisors: วิลาสินี พิพิธกุล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์
Advisor's Email: Wilasinee.P@chula.ac.th
Subjects: วารสาร
โพสต์โมเดิร์นนิสม์
วัฒนธรรม
Issue Date: 2548
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ศึกษาลักษณะแบบโพสต์โมเดิร์นที่ปรากฏในนิตยสาร a day รวมทั้งเพื่อทราบลักษณะของโพสต์โมเดิร์นที่สะท้อนในวิถีชีวิตของผู้อ่าน ทั้งนี้ศึกษาจากการวิเคราะห์เนื้อหานิตยสาร a day การสัมภาษณ์แบบเจาะลึกตัวแทนของผู้ผลิตนิตยสาร ประกอบกับข้อมูลบุคคลที่เก็บรวมจากการจัดกลุ่มสนทนาผู้อ่านนิตยสาร a day จากการศึกษาพบว่า ลักษณะแบบโพสต์โมเดิร์นที่ปรากฏในนิตยสาร a day จำแนกตามที่มาหรือกระบวนการได้เป็น 4 ประการคือ ประการแรก ท่าทีแบบโพสต์โมเดิร์นที่เป็นผลจากวิธีคิดของผู้ก่อตั้ง ประการที่สอง ความเป็นโพสต์โมเดิร์นที่ปรากฏในสิ่งที่ผู้ผลิตหยิบยกขึ้นมาพูด ประการที่สาม ลีลาการเขียนที่ใช้เทคนิคการประพันธ์แบบโพสต์โมเดิร์น และประการสุดท้ายคือเนื้อหาที่สะท้อนลักษณะของผู้คนและสังคม รวมทั้งวัฒนธรรมการบริโภคแบบโพสต์โมเดิร์น ส่วนลักษณะของโพสต์โมเดิร์นที่สะท้อนในวิถีชีวิตของผู้อ่านนิตยสาร a day นั้น พบในลักษณะที่เกาะอยู่เฉพาะส่วนผิวของแนวคิดโพสต์โมเดิร์น กล่าวคือ ผู้อ่านมีคตินิยมแบบโพสต์โมเดิร์นในแง่ของรสนิยมทางด้านศิลปะ และรูปแบบที่แตกต่างของนิตยสาร a day อันเป็นลักษณะหนึ่งของโพสต์โมเดิร์นเท่านั้น ทั้งนี้เมื่อนำแนวคิดเกี่ยวกับสื่อทางเลือกมาประกอบกับ ผลการศึกษารูปแบบและเนื้อหาของนิตยสาร a day อาจมองได้ว่า นิตยสารฉบับนี้เป็นการผสมผสานระหว่างสื่อทางเลือก ในความหมายของรูปแบบที่แสดงความแตกต่างจากนิตยสารฉบับอื่นๆ ซึ่งในขณะเดียวกัน รูปแบบที่ถูกนำมาสนับสนุนความแตกต่างนั้นก็คือ ความเป็นโพสต์โมเดิร์นที่ให้น้ำหนักกับ มิติของแนวคิดแบบโพสต์โมเดิร์นที่เข้าถึงได้ง่าย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ท่าทีแบบโพสต์โมเดิร์นในมิติของศิลปะ วรรณกรรม และมิติเกี่ยวกับการบริโภค
Other Abstract: To analyze the postmodernism reflected in designing format and presentation of A Day magazine and its readers. Data were acquired through the content analysis as well as in-depth interviews of the magazine's producers and also through the target group interviews of theirs readers. The finding of the study revealed that postmodernism reflected in A Day magazine, can be categorized into 4 sections. Firstly, the postmodernism that is mirrored from magazine's founder's perceptions. Secondly, the postmodernism referred by publisher to its tribute. Thirdly, the postmodernism writing technique. And lastly the content of the magazine, which characterizes society and its people of postmodernism culture. However, the readers of A Day magazine somewhat influenced by postmodernism, as they appreciate its postmodern art and its extraordinary style in magazine's illustration only. By using the perception on "alternative media" as an analytical device and the study of magazine's content and illustration, depict A Day magazine as the mixture of alternative media that offers specialties unlikely to the others. These specialties are postmodernism, which supports a fine understanding of postmodernism in its arts, literaure, and postmodernism consuming.
Description: วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2548
Degree Name: นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วารสารสนเทศ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/6242
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2005.1473
ISBN: 9741740379
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2005.1473
Type: Thesis
Appears in Collections:Comm - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
karanik.pdf4.94 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.