Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/62512
Title: การหาปริมาณฟลูออรีนในสารตัวอย่างอนินทรีย์ โดยเทคนิคฟาสต์นิวตรอนแอกติเวชัน
Other Titles: Determination of fluorine in inorganic samples by the fast neutron activation technique
Authors: ศักดิ์ศิลป์ ตุลาธร
Advisors: ธัชชัย สุมิตร
ศิริวัฒนา บัญชรเทวกุล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Subjects: ฟลูออรีน
นิวตรอนเร็ว
Fluorine
Fast neutrons
Issue Date: 2536
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การหาปริมาณฟลูออรีนในสารตัวอย่างอนินทรีย์โดยเทคนิคฟสาต์นิวตรอนแอกติเวชัน ใช้ต้นกำเนิดรังสีนิวตรอน ²³⁸Pu-Be ขนาดความแรง 5 Ci (185 GBq) และได้เลือกใช้ปฏิกิริยา ¹⁹F(n,α) ¹⁶N เนื่องจาก ¹⁶N มีครึ่งชีวิตสั้น (7.14 วินาที) จึงใช้ระบบส่งถ่ายตัวอย่างตัวลมซึ่งออกแบบและสร้างขึ้นเองในการส่งถ่ายตัวอย่าง การวิเคราะห์ทำโดยนำสารตัวอย่างและสารมาตรฐานใส่ใน Rabbit ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 21 มิลลิเมตร ยาว 60 มิลลิเมตร ส่งไปอาบรังสีนิวตรอนเป็นเวลา 40 วินาที จากนั้นส่งสารตัวอย่างกลับมาวัดปริมาณรังสี ใช้เวลาส่งตัวอย่างไปยังระบบวัดประมาณ 1.5 วินาที ระบบวัดประกอบด้วยหัววัดรังสีแบบ NaI(Tl) ขนาด 3”× 3” และ 5”× 5” ต่ออยู่กับเครื่องวิเคราะห์แบบช่องเดี่ยว ใช้เวลาในการวัดรังสี 20 วินาที จากนั้นส่งตัวอย่างเข้าไปอาบรังสีใหม่อีกครั้งและนำกลับมาวัดปริมาณรังสีอีก ทำซ้ำจนครบ 10 รอบ จะได้ปริมาณรังสีสะสมในเวลานับ 200 วินาที จากการวิจัยพบว่า การวิเคราะห์นี้สามารถหาปริมาณฟลูออรีนได้ต่ำถึงประมาณ 75 มิลลิกรัม และมีค่าความผิดพลาดไม่เกิน 2 เปอร์เซ็นต์
Other Abstract: The fast neutron activation analysis technique was conducted to determine fluorine in inorganic samples. The method utilised ¹⁹F(n,α) ¹⁶N reaction and a 5Ci (185GBq) ²³⁸Pu-Be neutron source. Samples, loaded in a rabbit with 21 mm in diameter and 60 mm long, were activated for 40 seconds, due to short half-life of ¹⁶N (7.14 seconds), and transferred to measuring unit in about 1.5 seconds by a home-made pneumatic transfer system. The gamma-ray detection system consisted of two opposing, matched cylindrical NaI(Tl) crystals3”× 3” and 5”× 5” connected to a single channel analyzer. The samples were counted for 20 seconds. This cycle was repeated 10 times and the cumulative counts in 200 seconds were recorded. The detection limit was found to be about 75 mg with relative error of less than 2 percent.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2536
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นิวเคลียร์เทคโนโลยี
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/62512
ISBN: 9745820245
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Sakdisilpa_tu_front_p.pdf2.84 MBAdobe PDFView/Open
Sakdisilpa_tu_ch1_p.pdf3.11 MBAdobe PDFView/Open
Sakdisilpa_tu_ch2_p.pdf7.97 MBAdobe PDFView/Open
Sakdisilpa_tu_ch3_p.pdf4.56 MBAdobe PDFView/Open
Sakdisilpa_tu_ch4_p.pdf5.32 MBAdobe PDFView/Open
Sakdisilpa_tu_back_p.pdf5.77 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.