Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/62592
Title: อิทธิพลเชิงสาเหตุของการรู้เรื่องการประเมินของครู : การวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้างพหุระดับที่มีสมรรถนะการประเมินของผู้บริหารเป็นตัวแปรปรับ
Other Titles: Causal effects of teachers' assessment literacy: analysis of multilevel structural model moderated by principals' competency
Authors: ศุภมาส ชุมแก้ว
Email: ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล
Advisors: ชยุตม์ ภิรมย์สมบัติ
สุวิมล ว่องวาณิช
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: wsuwimon@chula.ac.th
Subjects: การประเมินผลทางการศึกษา
Educational evaluation
Issue Date: 2558
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาโมเดลสมการโครงสร้างพหุระดับของสมรรถนะการประเมินของ ผู้บริหารและการรู้เรื่องการประเมินของครูที่มีสมรรถนะการประเมินของผู้บริหารเป็นตัวแปรปรับข้ามระดับ เครื่องมือวิจัยเป็นแบบมาตรประมาตรค่า 5 ระดับ ตัวอย่างวิจัยประกอบด้วยผู้บริหาร 80 คน วัดตัวแปรสมรรถนะ การประเมินของผู้บริหารและทัศนคติต่อการประเมิน และครู 576 คน วัดตัวแปรการรู้เรื่องการประเมินของครู ทัศนคติต่อการประเมิน และการพัฒนาวิชาชีพ วิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานด้วยสถิติเชิงบรรยาย การวิเคราะห์การสมนัย การทดสอบสถิติที และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวด้วยโปรแกรม SPSS 22.0 และการวิเคราะห์โมเดล สมการโครงสร้างพหุระดับด้วยโปรแกรม Mplus 7.40 ผลการวิจัยพบว่า 1) การวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้างระหว่างทัศนคติของผู้บริหารต่อการประเมินและสมรรถนะการ ประเมินของผู้บริหาร พบว่า โมเดลมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ (Chi-square(8, N = 80) = 8.80, p = .40, RMSEA = .04) โดยทัศนคติของผู้บริหารต่อการประเมินมีอิทธิพลทางตรงต่อสมรรถนะการประเมินของ ผู้บริหาร (B = .32, t(79) = 2.97, p = .40) 2) ผลการวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้างของครูระหว่างทัศนคติต่อการประเมิน การพัฒนาวิชาชีพ และการรู้เรื่องการประเมินของครู พบว่า โมเดลมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ (Chi-square(48, N = 576) = 62.50, p = .08, RMSEA = .02) โดยการพัฒนาวิชาชีพมีอิทธิพลทางตรงต่อการรู้เรื่องการประเมินของครู (B= .49, t(575) = 2.79, p < .001) และมีอิทธิพลทางอ้อมต่อการรู้เรื่องการประเมินของครูผ่านทัศนคติต่อการ ประเมิน (B =.14, t(575) = 6.13, p < .001) และทัศนคติต่อการประเมินมีอิทธิพลทางตรงต่อการรู้เรื่องการ ประเมินของครู (B = 0.17, t(575) = 17.97, p < .001) 3) โมเดลสมการโครงสร้างพหุระดับของสมรรถนะการประเมินของผู้บริหารและการรู้เรื่องการประเมินของ ครูที่มีสมรรถนะการประเมินของผู้บริหารเป็นตัวแปรปรับข้ามระดับ พบว่า โมเดลมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิง ประจักษ์ โดยอิทธิพลของทัศนคติของครูต่อการประเมินที่มีต่อการรู้เรื่องการประเมินของครู และอิทธิพลของการ พัฒนาวิชาชีพของครูที่มีต่อการรู้เรื่องการประเมินของครูมีสมรรถนะการประเมินของผู้บริหารทำหน้าที่เป็นตัวแปร ปรับ (Bmod1 = .26, tmod1(575) = 3.11, pmod1 < .001, Bmod2 = -.72, tmod2(575) = -2.03, pmod2 < .001)
Other Abstract: This study aims to investigate multilevel causal relationships of principals’ assessment competency and teachers' assessment literacy when principals’ assessment competency also plays a role of cross-level moderator. Using 5-point rating scales, 80 principals assessed their assessment competency and attitude towards assessment while 576 teachers reported their assessment literacy, attitude towards assessment, and professional development. Data were analyzed by descriptive statistics, correspondence analysis, t- test, ANOVA using SPSS 22.0, and multilevel structural equation modeling (MSEM) with cross-level moderation effects by Mplus 7.40. Key findings were summarized as follows: 1) The causal relationship model of principals’ attitude towards assessment and their assessment competency fitted well with empirical data (Chi-square(8, N = 80) = 8.80, p = .40, RMSEA = .04). This model indicated that principals’ attitude towards assessment had a significant direct effect on their assessment competency (B = .32, t(79) = 2.97, p = .40). 2) For teachers, the causal relationship model of their attitude towards assessment, professional development, and assessment literacy also fitted well with empirical data (Chi-square(48, N = 576) = 62.50, p = .08, RMSEA = .02). The model revealed that teachers' professional development had a significant direct effect on their assessment literacy (B= .49, t(575) = 2.79, p < .001). It also had a significant indirect effect on teachers’ assessment literacy via their attitude towards assessment ( B = . 14, t( 575) = 6. 13, p < . 001) , while the attitude towards assessment had a significant direct effect on the assessment literacy (B = 0.17, t(575) = 17.97, p < .001). 3) The MSEM for principals and teachers, with the principals’ assessment competency as a cross- level moderator, also fitted well with empirical data. In this model, the effect of teachers’ attitude on teachers’ assessment literacy and the effect of teachers’ professional development on teachers’ assessment literacy in the teacher level were significantly moderated by principals’ assessment competency (Bmod1 =.26, tmod1(575) = 3.11, pmod1 < .001, Bmod2 = -.72 , tmod(575) = -2.03, pmod2 < .001).
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558
Degree Name: ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาเอก
Degree Discipline: วิธีวิทยาการวิจัยการศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/62592
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2015.915
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2015.915
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Supamas Chu_Thesis_2558.pdf1.74 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.