Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/62620
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorมณฑี โพธิ์ทัย-
dc.contributor.advisorดุษฎี สงวนชาติ-
dc.contributor.authorวิไลลักษณ์ จีระนันตสิน-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย-
dc.date.accessioned2019-08-08T07:58:55Z-
dc.date.available2019-08-08T07:58:55Z-
dc.date.issued2530-
dc.identifier.isbn9745680567-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/62620-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (บช.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2530-
dc.description.abstractปัญหาการลดลงอย่างรวดเร็วของพื้นที่ป่าเป็นปัญหาซึ่งรัฐบาล นักวิชาการและองค์กรหลายแห่งเริ่มจะตระหนักมากขึ้นในปัจจุบัน และได้ตื่นตัวที่จะกระทำในหลายวิถีทางเพื่อแก้ไขปัญหานี้ วิธีการหนึ่งซึ่งต้องกระทำอย่างแน่นอนก็คือ ควรให้ภาครัฐบาลและเอกชนเร่งรัดการปลูกป่าให้มากขึ้นเพื่อทดแทนป่าธรรมชาติที่ถูกทำลายไป ซึ่งอันที่จริงวิธีการดังกล่าวนี้ก็ได้กระทำมานานแล้ว แต่ยังไม่ประสบผลสำเร็จเท่าที่ควร อันเนื่องจากอุปสรรคซึ่งเกิดจากการบุกรุกทำลายป่าของเกษตรกรผู้ไร้ที่ทำกิน และปัญหาด้านการลงทุนปลูกป่าของภาคเอกชนที่ต้องรอรับผลตอบแทนเมื่อครบรอบตัดฟันของต้นไม้ซึ่งเป็นระยะเวลายาวนานพอสมควร ดังนั้นเพื่อแก้ปัญหาดังกล่าวข้างต้น นักวิชาการในหลาย ๆ แขนงจึงได้เสนอรูปแบบของการปลูกสร้างสวนป่าแบบใหม่ นั่นคือการปลูกสร้างสวนป่าตามระบบวนเกษตร แต่การส่งเสริมวิธีการดังกล่าวนี้โดยเฉพาะในภาคเอกชนจะต้องมีสิ่งจูงใจพอสมควร สิ่งจูงใจสำหรับเอกชนก็คือ ผลตอบแทนซึ่งต้องเป็นผลตอบแทนที่มากกว่าการลงทุนปลูกสวนป่า ดังนั้นวัตถุประสงค์หลักในการวิจัยเพื่อแสดงให้เห็นถึงต้นทุนและผลตอบแทนโดยการเปรียบเทียบระหว่างการปลูกสวนป่า และการปลูกสร้างสวนป่าตามระบบวนเกษตร โดยพิจารณารอบตัดฟัน 5 ปี ในการศึกษาต้นทุน และผลตอบแทนจากการลงทุนตามระบบวนเกษตรนั้น เพื่อศึกษาเปรียบเทียบต้นทุนและผลตอบแทนจากการปลูกสวนป่าตามระบบวนเกษตร กับต้นทุนและผลตอบแทนจากการปลูกสวนป่า และศึกษาเปรียบเทียบถึงความแตกต่างของต้นทุนและผลตอบแทนของทั้งสองวิธี เมื่อมีการเปลี่ยนชนิดไม้ที่ปลูก จากไม้ยูคาลิปตัส เป็นไม้เลี่ยน ผู้วิจัยได้สำรวจ ข้อมูลจากการสอบถามหัวหน้าสวนป่า ผู้ควบคุมการปลูกไม้ยูคาลิปตัส และไม่เลี่ยน ตามวิธีการปลูกสร้างสวนป่า จากสวนป่าทองผาภูมิและสวนป่าองค์พระ และสำรวจข้อมูลจากเกษตรผู้ปลูกไม้ยูคาลิปตัสควบข้าวโพด และไม้เลี่ยนควบข้าวโพด ตามระบบวนเกษตรโดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย (Simple Random Sampling) สุ่มตัวอย่างผู้ปลูกไม้ยูคาลิปตัสควบข้าวโพด 29 ราย และผู้ปลูกไม้เลี่ยนควบข้าวโพด 26 ราย ผลการศึกษาปรากฏว่า ต้นทุนการปลูกสวนป่าตามระบบวนเกษตรต่ำกว่าต้นทุนการปลูกสวนป่า คือต้นทุนการปลูกไม้ยูคาลิปตัสควบข้าวโพด เฉลี่ยไร่ละ 2,298.99 บาท ต้นทุนของการปลูกไม้เลี่ยนควบข้าวโพดเฉลี่ยไร่ละ 2,326.12 บาท ส่วนต้นทุนของการปลูกสวนป่าไม้ยูคาลิปตัส และต้นทุนของการปลูกสวนป่าไม้เลี่ยนเฉลี่ยไร่ละ 2,611.04 บาท และ 2,597.28 บาท ตามลำดับ สำหรับผลตอบแทนของการปลูกสวนป่าตามระบบวนเกษตร สูงกว่า ผลตอบแทนจากการปลูกสวนป่า ซึ่งพิจารณาในรูปของอัตราผลตอบแทนภายใน ปรากฏว่า อัตราผลตอบแทนจากการปลูกไม้ยูคาลิปตัสควบข้าวโพด และอัตราผลตอบแทนของการปลูกไม้เลี่ยนควบข้าวโพด ร้อยละ 43.44 และ 10.27 ตามลำดับ ส่วนอัตราผลตอบแทนจากการปลูกสวนป่าไม้ยูคาลิปตัสและอัตราผลตอบแทนจากการปลูกสวนป่าไม้เลี่ยน ร้อยละ 25.00และ 1.78 ตามลำดับ และเมื่อเปรียบเทียบต้นทุนและผลตอบแทนเมื่อเปลี่ยนชนิดไม้ที่ปลูก ปรากฏว่า ไม้ยูคาลิปตัสเป็นไม้ที่เหมาะสมในการปลูกในรอบตัดฟัน 5 ปี เพราะให้อัตราผลตอบแทนสูงกว่า เมื่อปลูกไม้เลี่ยนทุกวิธีการปลูกโดยเปรียบเทียบอัตราผลตอบแทนข้างต้น นอกจากนี้ผู้วิจัยได้ศึกษาเพื่อวิเคราะห์ผลตอบแทนจากการลงทุนตามระบบวนเกษตรปรากฎว่า การลงทุนตามระบบวนเกษตร เป็นการลงทุนที่ให้ผลตอบแทนสูง เฉพาะเมื่อปลูกไม้ยูคาลิปตัสควบข้าวโพด มูลค่าปัจจุบันของกำไรสุทธิ ณ ระดับของอัตราหักลด 11.5 เท่ากับ 1,480.54 บาทต่อไร่ และ ณ ระดับ 17.5 เท่ากับ 967.95 บาทต่อไร่และมีอัตราผลตอบแทนภายในถึงร้อยละ 43.44 สำหรับการปลูกไม้เลี่ยนควบข้าวโพดมูลค่าปัจจุบันของกำไรสุทธิ ณ ระดับอัตราหักลด 11.5 และ 17.5 เท่ากับ -46.85 และ -218.98 ตามลำดับ และมีอัตราผลตอบแทนภายในเพียงร้อยละ 10.27 เท่านั้น เมื่อนำความอ่อนไหวของโครงการเข้ามาพิจารณา การปลูกไม้ยูคาลิปตัสควบข้าวโพด ก็ยังคงได้รับกำไรและอัตราผลตอบแทนภายในมีค่าเกินร้อยละ 30.97 ส่วนการปลูกไม้เลี่ยนควบข้าวโพดให้อัตราผลตอบแทนสูงสุดเพียงร้อยละ 5.38 เท่านั้น ปัญหาที่สำคัญในการปลูกสร้างสวนป่าตามระบบวนเกษตร คือ ความไม่เพียงพอของรายได้ของเกษตรกรซึ่งเป็นสมาชิกหมู่บ้านป่าไม้ เนื่องจากในปัจจุบันรายได้ของเกษตรกรมีเพียงรายได้จากการขายพืชกสิกรรมเท่านั้น ซึ่งอาจเป็นปัญหาทำให้การปลูกสร้างสวนป่าตามระบบเกษตรต้องล้มเลิกกลางคัน เพราะเกษตรกรกลับไปบุกรุกทำลายป่าเหมือนเดิม ดังนั้นจึงควรที่รัฐจะอนุญาตให้สิทธิสำหรับการขายไม้ป่าแก่เกษตรกร ผู้เป็นสมาชิกหมู่บ้านป่าบ้างพอสมควร-
dc.description.abstractalternativeNowadays, the problem of decreasing forest area has been a serious concern to the government sector, technicians and various agencies. Attempts have been made to find some measures to solve it. Reforestation has been adopted not only be government but also by private enterprises. However it has not been successful during the past years. The main causes were shifting cultivation, and lack of income during the growth period of plantation. To solve this problem, agro-forestry has been selected as the best silviculture for forest plantation in Thailand. However, stimulation from return on investment of agro-forestry system for private sectors is important. Therefore, the aim of this research is to make a comparative study of the cost and return on investment between ordinary forest, plantation and agro-forestry system with 5 years‘ rotation. The study will campare the cost and return on investment of forest plantation and agro-forestry system, as well as the differences of cost and return on investment of two forest plantation systems when Eucalyptus is replaced by Persian-Lilac. The researcher obtained primary data from the heads of forest plantation of Thongpapoom and Ongpra plantations who control the planting of Eucalyptus and Persian-Lilac in forest plantation, as well as from farmers who planted Eucalyptus together with Maize and Persian-Lilac together with Maize in agro-forestry system through simple random sampling method. Twenty nine farmers who planted Eucalyptus together with Maize and twenty-six farmers who planted Persian-Lilac together with Maize were selected. The result of study showed that the cost of agro-forestry system is lower than that of the ordinary forest plantation: the average cost per rai for Eucalyptus together with Maize plantation is Bath 2,298.99 and for Persian-Lilac together with Maize plantation is Bath 2,326.12 while the average cost per rai for Eucalyptus plantation is Bath 2,611.04 and for Persian-Lilac plantation is Bath 2,597.28. The internal rate return of agro-forestry system is higher than that of the ordinary forest plantation. Results showed that the internal rate of return from planting Eucalyptus together with Maize was 43.44 percent, that of Persian-Lilac with Maize was 10.27 percent, while the internal rate of return on Eucalyptus and Persian-Lilac plantation was 25.00 percent and 1.78 percent respectively. Comparing between Eucalyptus and Persian-Lilac plantations it was found that Eucalyptus was more appropriate than Persian-Lilac in the rotation of 5 years because it yielded higher return than the latter. In the study, the researcher has also analysed the return on investment in agro-forestry system. Results showed that it gave a high return when Eucalyptus were planted together with Maize, with the present value of net profit per rai being Bath 1,480.54 and Bath 967.95 at the discount rates of 11.5 and 17.5 percent respectively, while the internal rate of return was 43.44 percent. The planting of Persian-Lilac with Maize gave the present value of net profit of -46.85 and -218.98 Bath/rai at the discount rates of 11.5 and 17.5 percent respectively, while the internal rate of return was 10.27 percent. With sensitivity aspect of the project taken into account, the planting of Eucalyptus together with Maize still yielded profit with internal rate of return over 30.97 percent, while that of the planting of Persian-Lilac together with Maize was 5.38 percent. The important problem of agro-forestry system is inadequate income for each farmer. Since farmers get their income only from agricultural produce which is inadequate, this would result in them forsaking the agro-forestry system and return to shifting cultivation. Therefore, the government should permit farmers to derive certain income from selling some woods obtained from the agro-forestry plantation.-
dc.language.isoth-
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.subjectต้นทุนและประสิทธิผล-
dc.subjectการวิเคราะห์และประเมินโครงการ-
dc.subjectวนเกษตร -- ไทย-
dc.subjectหมู่บ้านป่าไม้-
dc.subjectยูคาลิปตัส -- ไทย-
dc.subjectเลี่ยน (พืช)-
dc.subjectข้าวโพด -- ไทย-
dc.titleการวิเคราะห์ต้นทุนและผลตอบแทนจากการลงทุน ของระบบวนเกษตรท้องที่สวน ป่าทองผาภูมิ และสวนป่าองค์พระ : กรณีศึกษาเฉพาะไม้ยูคาลิปตัส ไม้เลี่ยน และข้าวโพด-
dc.title.alternativeAnalysis of cost and return on investment of agro forestry system at Thongpapoom and Ongpra plantations : a case study of eucalyptus Persian-lilac and maize-
dc.typeThesis-
dc.degree.nameบัญชีมหาบัณฑิต-
dc.degree.levelปริญญาโท-
dc.degree.disciplineการบัญชี-
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Wilailuck_je_front.pdf8.93 MBAdobe PDFView/Open
Wilailuck_je_ch1.pdf3.46 MBAdobe PDFView/Open
Wilailuck_je_ch2.pdf11.07 MBAdobe PDFView/Open
Wilailuck_je_ch3.pdf4.72 MBAdobe PDFView/Open
Wilailuck_je_ch4.pdf14.83 MBAdobe PDFView/Open
Wilailuck_je_ch5.pdf25.84 MBAdobe PDFView/Open
Wilailuck_je_ch6.pdf20.51 MBAdobe PDFView/Open
Wilailuck_je_ch7.pdf4.6 MBAdobe PDFView/Open
Wilailuck_je_back.pdf29.64 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.