Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/62662
Title: วิธีการควบคุมคุณภาพสำหรับระบบสร้างภาพ ทางเวชศาสตร์นิวเคลียร์
Other Titles: Quality control programs for nuclear medicine imaging systems
Authors: วินิจ ช้อยประเสริฐ
Advisors: อัญชลี กฤษณจินดา
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Subjects: เวชศาสตร์นิวเคลียร์
การบันทึกภาพรังสี
รังสีแกมมา
การควบคุมคุณภาพ
Issue Date: 2528
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: เครื่องมือสร้างภาพทางเวชศาสตร์นิวเคลียร์จำเป็นต้องมีความแม่นยำและถูกต้องเพื่อให้การวินิจฉัยโรคเป็นไปโดยมีประสิทธิภาพสูง ในการวิจัยนี้ได้ศึกษาการควบคุมสภาพของเครื่องมือโดยการสร้างแฟนทอมสำหรับใช้แทนอวัยวะที่จะวินิจฉัย พร้อมต้นกำเนิดรังสีแบบต่างๆ ผลการวิจัยเครื่องมือสร้างภาพที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ระหว่าง พ.ศ.2524-2527 มีดังนี้ เครื่องถ่ายภาพรังสีแกมมามีความสม่ำเสมอของภาพ เมื่อใช้ฝลัดแฟนทอมบรรจุเทคนีเซียม-99เอ็ม 12.4% กำลังแยกการขจัดโดยใช้วิลเลียมแฟนทอม 0.7 ซม. กำลังแยกพลังงานของเทคนีเซียม-99 เอ็ม 12.8% และความไวของการนับวัด 420 ครั้งต่อนาทีต่อไมโครคูรี สำหรับเครื่องมือสร้างภาพเรคติลิเนียร์สแกนเนอร์มีกำลังแยกพลังงานวัดด้วยซีเซียม-137 16.9% กำลังแยกการขจัด 1 ซม. และความถูกต้องของระบบในการแสดงภาพ 1.2% ผลที่ได้จากการวิจัยแสดงว่าการทำงานของเครื่องถ่ายภาพรังสีแกมมาอยู่ในขอบเขตที่กำหนดไว้จากสำนักงานมาตรฐานสากลให้ภาพถ่ายที่มีรายละเอียดถูกต้องเชื่อถือได้และมีประโยชน์ในการวินิจฉัยโรค การทำงานของเครื่องมือสร้างภาพเรคติลิเนียร์สแกนเนอร์ส่วนใหญ่ถูกต้องแม้มีความไวการนับวัด และกำลังแยกพลังงานเลวลง เนื่องจากการใช้งานมาเป็นเวลานาน แต่ปริมาณเหล่านี้ก็ไม่ทำให้คุณภาพของภาพสูญเสียไป จึงกล่าวได้ว่าความสามารถในการสร้างภาพของเครื่องมือทางเวชศาสตร์นิวเคลียร์ยังคงให้รายละเอียดของภาพเป็นประโยชน์ต่อการวินิจฉัยโรคอยู่
Other Abstract: Nuclear medicine imaging instruments must have precise and proper performances which will give high efficiency for diagnosis. The studies of quality control are done by constructing phantom represents patient’s organ, with the use of many kinds of sources. The results of testing in imaging instruments at Chulalongkorn hospital between 1981-1984 are, gamma camera; the uniformity with technetium-99m in flood phantom is 12.4%, spatial resolution of William phantom is 0.7 cm., energy resolution of technetium-99m is 12.8% and sensitivity is 420 cpm./uCi. Rectilinear scanner; energy resolution of cesium-137 is 16.9%, spatial resolution of William phantom is 1 cm. and system linearity is 1.2%. From these results indicate that the performances of gamma camera are in the acceptance limit which will give proper clinical images. Almost performances of rectilinear scanner are in acceptance limit except sensitivity and energy resolution which are not good due to its age, these quantities do not disturb the image quality and clinical images from the instruments are still very useful for the diagnosis.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2528
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ฟิสิกส์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/62662
ISBN: 9745646458
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Winit_cho_front.pdf9.41 MBAdobe PDFView/Open
Winit_cho_ch1.pdf4.99 MBAdobe PDFView/Open
Winit_cho_ch2.pdf19.96 MBAdobe PDFView/Open
Winit_cho_ch3.pdf7.84 MBAdobe PDFView/Open
Winit_cho_ch4.pdf11.2 MBAdobe PDFView/Open
Winit_cho_ch5.pdf19.61 MBAdobe PDFView/Open
Winit_cho_ch6.pdf29.69 MBAdobe PDFView/Open
Winit_cho_ch7.pdf10.81 MBAdobe PDFView/Open
Winit_cho_back.pdf15.01 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.