Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/62663
Title: การนำเม็ดดินเผามาใช้ประโยชน์ในงานผิวทางแอสฟัลท์ติด
Other Titles: Application of calcined clay aggregate for asphaltic pavement
Authors: วินิจ ชัยชนะศิริวิทยา
Advisors: สุประดิษฐ์ บุนนาค
บุญสม เลิศหิรัญวงศ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Subjects: ผิวจราจร -- แบบจำลอง
กรวดดินเผา
แอสฟัลต์ คอนกรีต
Issue Date: 2527
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานผิวทางแอสฟัลท์ติคในบริเวณภาคกลางของประเทศไทย ส่วนมากจะใช้หินปูนเป็นมวลรวม ซึ่งผิวทางประเภทนี้ พบว่าจะถูกขัดสีเป็นมันและลื่นมากขึ้นตามอายุของผิวทางและตามปริมาณการจราจรบนผิวทางที่เพิ่มขึ้น การวิจัยนี้เป็นการศึกษาเกี่ยวกับความเป็นไปได้ในการนำกรวดดินเผามาใช้เป็นมวลรวมหยาบในงานผิวทางแอสฟัลท์ติค โดยสร้างผิวทดลองจริงซึ่งสร้างต่อเนื่องกับผิวทางแอสฟัลท์ติคที่ใช้มวลรวมหินปูน ผิวทดลองนี้มีขนาดความยาวประมาณ 2.30 ม. กว้าง 3.25 ม. และหนา 5.8 ซม. ในการออกแบบและทดสอบคุณสมบัติของตัวอย่างแอสฟัลท์ติคคอนกรีตใช้ตามวิธีของ Marshall ส่วนการวัดค่าความลึกผิวของผิวทางใช้ Sand Patch Method และการวัดค่าความต้านทานการลื่นไถลของผิวทางทั้งสภาพผิวทางแห้งและผิวทางเปียกใช้เครื่องมือ British Portable จากการศึกษาพบว่า กรวดดินเผาซึ่งเป็นมวลรวมประกอบอยู่ในผิวทดลอง สามารถนำมาใช้ในงานผิวทางแอสฟัลท์ติคได้ อย่างไรก็ตาม ในการบดอัดในสนามจะต้องกระทำด้วยความระมัดระวัง เพราะอุณหภูมิของส่วนผสมของผิวทดลองจะลดลงเร็วกว่าผิวทางปกติทั่วไป การทดลองภายใต้สภาวะแวดล้อมและเงื่อนไขเดียวกัน พบว่าผิวทดลองจะให้ผิวที่มีความลึกผิวสูงกว่าและแนวโน้มให้ความต้านทานการลื่นไถลที่ผิวสูงกว่าผิวทางปกติทั่วไปซึ่งใช้มวลรวมหินปูน
Other Abstract: Limestone is generally used as aggregate for the asphaltic concrete surface in the central part of Thailand. This type of surface has been found to be progressively polished with its age and an increase in traffic volume. This research was proposed to study the possibility of using calcined clay aggregate as coarse aggregate of the asphaltic concrete pavement. The test section of 2.3 metres in length and 3.25 metres in width with a depth of 5.8 centimeters was laid closed to the asphaltic concrete pavement composed of limestone. The Marshall method was used for designing and testing the properties of samples. The sand patch method was used to measure the texture depth and the skidding resistances in both wet and dry conditions were measured by the British Portable Tester. It has been found that the section which is composed of clay [aggregate] could be used as an ordinary asphaltic pavement. However, the field compaction has to be made with caution since the temperature of the tested section drops more quickly than ordinary type. The test section was found to have a deeper texture depth and tend to give a higher skid resistance than the limestone asphaltic pavement when tested under the same condition throughout the period of study.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2527
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมโยธา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/62663
ISBN: 9745639664
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Vinit_ch_front.pdf4.26 MBAdobe PDFView/Open
Vinit_ch_ch1.pdf929.48 kBAdobe PDFView/Open
Vinit_ch_ch2.pdf6.1 MBAdobe PDFView/Open
Vinit_ch_ch3.pdf10.1 MBAdobe PDFView/Open
Vinit_ch_ch4.pdf4.75 MBAdobe PDFView/Open
Vinit_ch_ch5.pdf11.38 MBAdobe PDFView/Open
Vinit_ch_ch6.pdf642.86 kBAdobe PDFView/Open
Vinit_ch_back.pdf6 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.