Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/62705
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorราตรี สุดทรวง-
dc.contributor.advisorสมศักดิ์ บวรสิน-
dc.contributor.authorสายฝน สฤษดิกุล-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย-
dc.date.accessioned2019-08-15T07:07:01Z-
dc.date.available2019-08-15T07:07:01Z-
dc.date.issued2536-
dc.identifier.isbn9745834939-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/62705-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2536-
dc.description.abstractการศึกษาวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ที่จะศึกษากลไกการทำงานของสารสกัดจากกระเทียม อัลลิซินต่อการหดตัวของกล้ามเนื้อมดลูกหนูแรทตั้งท้องระยะ 7, 14 และ 21 วัน ว่าอัลลิชินมีผลต่อการหดตัวของมดลูกโดยใช้กลไกอย่างไร ใช้หนูพันธ์ Wistar rat โดยได้ทำการศึกษาเบื้องต้นในหลอดทดลอง (in vitro) แยกส่วนของมดลูกที่มี implantation ขนาด 1 ซม. ใส่ในน้ำยา van Dykes Hasting buffer 20 มล. อุณหภูมิ 37 °ซ. นาน 15-20 นาที โดยใช้อัลลิซิน 0.22, 0.44 และ 0.88 mM การศึกษากลไกการหดตัวในมดลูกแรทตั้งท้อง 21 วัน ผ่าน alpha-1 เมื่อใช้ prazosin, alpha-2 receptor เมื่อใช้ yohimbine, prostaglandin F₂ₐ (PGF₂ₐ) เมื่อใช้ indomethacin และ calcium channel เมื่อใช้ nifedipine, verapamil และ chlorpromazine ซึ่งเป็น calcium channel blocker และปริมาณความเข้มข้นของแคลเซียมเมื่อใช้ CaCl₂ ใน extracellular fluid 2, 1, 0.5, 0.1, 0 mM และ EDTA ซึ่งเป็น calcium chelator โดยใช้เครื่อง Dynograph บันทึกผลการทดลองการหดตัว ผลการทดลองพบว่าอัลลิซินขนาด 0.44 และ 0.88 mM กระตุ้นการหดตัวของมดลูกหนูแรทที่ตั้งท้องในระยะ 14 และ 21 วัน (P<0.05) อัลลิซินกระตุ้นการหดตัวแรงขึ้นตามระยะเวลาของการตั้งท้อง 14 และ 21 วัน (P<0.01) แต่ไม่มีผลต่อการหดตัวของมดลูกที่ตั้งท้อง 7 วัน กลไกการออกฤทธิ์ของอัลลิซินในหนูแรทที่ตั้งท้องในระยะสุดท้าย (21 วัน) พบว่าผ่าน alpha-1 receptor เมื่อใช้ prazosin, ผ่าน PGF₂ₐ receptor เมื่อใช้ indomethacin, ผ่าน calcium channel เมื่อใช้ nifedipine, verapamil, chlorpromazine อัลลิซินไม่ออกฤทธิ์ผ่าน alpha-2 receptor เมื่อใช้ yohimbine และปริมาณของแคลเซียมใน extracellular fluid เมื่อใช้ CaCl₂ ขนาด 0.5-2mM ทำให้เพิ่มการหดตัวของมดลูกหนูแรท (p<0.01) ส่วน CaCl₂ ปริมาณ 0.1, 0 mM และ EDTA ไม่มีผลกระตุ้นการหดตัวของมดลูกเมื่อให้อัลลิซิน จากผลการทดลองอาจสรุปได้ว่าอัลลิซินออกฤทธิ์กระตุ้นการหดตัวของมดลูกได้โดยผ่านทาง alpha-1 adrenergic receptor, PGF₂ₐ receptor และผ่าน calcium channel และปริมาณแคลเซียมใน extracellular fluid ที่เพิ่มขึ้นมีผลเสริมฤทธิ์ของอัลลิซิน-
dc.description.abstractalternativeThe purpose of this study is to investigate the effect of allicin on the contraction of rat uterine muscle. The length of 1 cm implantation region of isolated uterine horns on 7, 14 and 21 days of pregnant Wistar rats were used. The experiment was in vitro. The uterine horn was suspended in 20 ml of van Dykes Hasting buffer at 37℃ for 15-20 minutes. Different doses of allicin preparation, garlic extracted by chloroform, of 0.22, 0.44 and 0.88 mM were added in the solution of each experiment. The mechanism of allicin action was conducted by the application of prazosin for alpha-1 receptor, yohimbine for alpha-2 receptor, indomethacin for prostaglandin F₂a (PGF₂a) receptor, calcium channel blockers (nifedipine, verapamil and chlorpromazine) for calcium channel. The addition of extracellular calcium into the bath was as follows: 2, 1, 0.5, 0.1 and 0 mM. EDTA was used as a calcium chelator. The contraction was recorded by a Dynograph in term of gram. It was found that 0.44 and 0.88 mM of allicin significantly increased the amplitude of contraction on days 14 and 21 of pregnancy (P<0.05). By the regimen described above the pregnant uterine muscle on day 21 demonstrated that allicin acts through alpha-1 adrenergic and PGF₂a receptors, and calcium channel. The amplitude of contraction was increased as the extracellular calcium concentration increases from 0.5-2.0 mM in a dose dependent fashion. It was noted that allicin did not act via alpha-2 receptor in this circumstances.-
dc.language.isoth-
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.subjectการหดตัวของกล้ามเนื้อมดลูก-
dc.subjectหนู -- ครรภ์-
dc.subjectกระเทียม-
dc.subjectสารประกอบซัลเฟอร์อินทรีย์-
dc.subjectMyometrium -- Contraction-
dc.subjectRats -- Pregnancy-
dc.subjectGarlic-
dc.subjectOrganosulfur compounds-
dc.titleผลของอัลลิซินต่อการหดตัวของกล้ามเนื้อมดลูกหนูแรทตั้งท้องที่แยกออกมา-
dc.title.alternativeEffect of allicin on contraction of pregnant uterine segment in rats-
dc.typeThesis-
dc.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต-
dc.degree.levelปริญญาโท-
dc.degree.disciplineสรีรวิทยา-
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Saifon_sa_front_p.pdf3.72 MBAdobe PDFView/Open
Saifon_sa_ch1_p.pdf5.42 MBAdobe PDFView/Open
Saifon_sa_ch2_p.pdf3.47 MBAdobe PDFView/Open
Saifon_sa_ch3_p.pdf7.39 MBAdobe PDFView/Open
Saifon_sa_ch4_p.pdf3.7 MBAdobe PDFView/Open
Saifon_sa_ch5_p.pdf913.47 kBAdobe PDFView/Open
Saifon_sa_back_p.pdf5.17 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.