Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/62718
Title: การทำให้น้ำหมักบิวทานอลเข้มข้นขึ้น โดยใช้กระบวนการออสโมซิสย้อนกลับ
Other Titles: Concentrating butanol fermentation broth by reverse osmosis
Authors: สารทูล เยี่ยมสมบัติ
Advisors: จิรกานต์ เมืองนาโพธิ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Subjects: บิวทานอล
ออสโมซิส
เมมเบรน (เทคโนโลยี)
ออสโมซิสผันกลับ
Butanol
Osmosis
Membranes (Technology)
Reverse osmosis
Issue Date: 2534
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วิทยานิพนธ์นี้ศึกษาการนำกระบวนการออสโมซิสย้อนกลับมาประยุกต์ ใช้แก้ปัญหาความเข้มข้นของสารทำละลายต่ำในกระบวนการหมักบิวทานอล-อะซิโตน โดยในการหมักแบบต่อเนื่องได้นำแผ่นเยื่อกรองอุลตราฟิวเตอร์แบบไหลผ่านผิวหน้าเพื่อแยกและหมุนเวียนเซลจุลินทรีย์ที่ใช้ในการหมักคือ Clostridium acetobutylicum ATCC 824 จากนั้นน้ำหมักที่กรองผ่านจะถูกนำมากำจัดน้ำออก เพื่อเพิ่มความเข้มข้นของสารละลายที่ผลิตได้ด้วยกระบวนการออสโมซิสย้อนกลับ โดยใช้เมนเบรนโพลีเอไมด์ที่มีพื้นที่ผิว 0.88 เมตร² โมดูแบบม้วน ที่สภาวะความดันและอัตราการไหลเวียนที่เหมาะสมคือ 50 กิโลกรัม/เซนติเมตร² และ 3 ลิตร/นาที ตามลำดับ พบว่าที่รีโคเวอรี 74% โดยปริมาตร สามารถเพิ่มความเข้มข้นของบิวทานอลจาก 6.0 กรัม/ลิตร เป็น 18.9 กรัม/ลิตร รีเจคชั่นของบิวทานอลเท่ากับ 87% รีโคเวอรีของบิวทานอลเท่ากับ 92.7% ในการเพิ่มความเข้มข้นบิวทานอล 6.0 กรัม/ลิตร เป็น 18.9 กรัม/ลิตร ใช้พลังงานไฟฟ้าเท่ากับ 0.15 กิโลวัตต์-ชั่วโมง/ลิตรผลิตภัณฑ์ (0.17 กิโลวัตต์-ชั่วโมง/ลิตรผลิตภัณฑ์-เมตร² เมมเบรน) เมื่อเปรียบเทียบกับการกลั่นลำดับส่วนอย่างง่ายที่รีโคเวอรีบิวทานอลเท่ากัน (92.7%) ความเข้มข้นของบิวทานอลเพิ่มจาก 6.0 กรัม/ลิตร เป็น 67 กรัม/ลิตร ใช้พลังงานไฟฟ้า 3.2 กิโลวัตต์-ชั่วโมง/ลิตรผลิตภัณฑ์ ดังนั้นจะเห็นว่า กระบวนการออสโมซิสย้อนกลับสามารถประหยัดพลังงานได้มากกว่าการกลั่น 95.3%
Other Abstract: Reverse osmosis was applied to solve the problem of dilute solvent concentration in butanol-acetone fermentations. In the continuous butanol-acetone fermentation, a cross-flow ultrafilter was used to separate and recycle cells in a fermentation of Clostridium acetobutylicum ATCC 824. After that, by reverse osmosis, the fermentation permeate was dewatered for increasing the solvent product concentration. The polyamide membrane with 0.88 m² surface area, spiral wound module, was used at the optimum applied pressure and recirculation flow rate of 50 kg/cm² and 3.0 L/min, respectively. It was found that we can increase the butanol concentration from 6.0 g/L to 18.9 g/L at butanol rejection 87% (recovery 74% volume basis) and butanol recovery 92.7% Electrical energy consumption for increasing butanol concentration from 6.0 to 18.9 g/L by reverse osmosis was 0.15 kw.h/L. product (0.17 kw.b/L. product-m². membrane area). Comparing with simple factional distillation at the same butanol recovery, butanol concentration was increased from 6.0 to 67 g/L with electrical energy consumption of 3.2 kw.h/L. product. Therefore, it was seen that by comparing the electrical energy consumption of these two systems, 95.3% energy saving was obtainable.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2534
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมเคมี
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/62718
ISBN: 9745787027
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Saratoon_yi_front_p.pdf5.48 MBAdobe PDFView/Open
Saratoon_yi_ch1_p.pdf1.22 MBAdobe PDFView/Open
Saratoon_yi_ch2_p.pdf3.18 MBAdobe PDFView/Open
Saratoon_yi_ch3_p.pdf7.62 MBAdobe PDFView/Open
Saratoon_yi_ch4_p.pdf5.36 MBAdobe PDFView/Open
Saratoon_yi_ch5_p.pdf13.65 MBAdobe PDFView/Open
Saratoon_yi_ch6_p.pdf1.79 MBAdobe PDFView/Open
Saratoon_yi_back_p.pdf12.96 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.