Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/62809
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorมานะ ศรียุทธศักดิ์-
dc.contributor.advisorนลิน นิลอุบล-
dc.contributor.advisorไพเราะ ปิ่นพานิชการ-
dc.contributor.authorสุกัญญา ป๋องทอง-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย-
dc.date.accessioned2019-08-29T04:00:20Z-
dc.date.available2019-08-29T04:00:20Z-
dc.date.issued2539-
dc.identifier.isbn9746349929-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/62809-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ม)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2539-
dc.description.abstractในงานวิจัยนี้ได้ทำการศึกษาการหลอมโพรโทพลาส์ท์ยีสต์ Endomycopsis fibuligera ATCC 9947 กับยีสต์ Candida oleophila NNU62 เพื่อสร้างลูกผสมที่ย่อยแป้งได้เหมือนกับ E. fibuligera และผลิตกรดมะนาวได้เหมือนกับ C. oleophila โดยใช้วิธีอิเล็กโทรฟิวชันเปรียบเทียบกับวิธีการใช้ PEG จากการเตรียมโพรโทพลาสต์เพื่อใช้ในการหลอม พบว่าภาวะที่เหมาะสมในการเตรียมโพรโทพลาสท์ E. fibuligera คือบ่มใน Zymolyase ความเข้มข้น 0.1 มก./มล. ที่อุณหภูมิ 35 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 30 นาที และพบว่าภาวะที่เหมาะสมในการเตรียมโพรโทพลาสท์ C. oleophila คือบ่มใน Zymolyase ความเข้มข้น 0.4 มก./มล. ที่อุณหภูมิ 35 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 30 นาที จากการหลอมโพรโทพลาสท์ระหว่างยีสต์ทั้ง 2 ชนิด พบว่าทั้ง 2 วิธี ได้ลูกผสมที่สามารถผลิตเอนไซม์ย่อยแป้งได้สูงขึ้นหรือลูกผสมที่สามารถผลิตกรดมะนาวได้สูงขึ้น อย่างไรก็ตามจากการหลอมโพรโทพลาสท์โดยวิธีอิเล็กโทรฟิวชัน พบลูกผสมที่สามารถผลิตได้ทั้งเอนไซม์ย่อยแป้งและกรดมะนาวแต่ไม่มีความคงตัว สำหรับภาวะที่เหมาะสมที่จะได้ลูกผสมที่สามารถย่อยแป้งได้สูงกว่า E. fibuligera โดยมีค่า fusion frequency เท่ากับ 0.07 คือการให้สัญญาณคลื่นรูปพัลส์ที่มีความเข้มข้น สนามไฟฟ้า 5 kV/cm จำนวน 10 พัลส์ ในสารละลายซอร์บิทอลเข้มข้น 0.7 โมลาร์ ที่มีแคลเซียมอิออนความเข้มข้น 0.5 มิลลิโมลาร์ และแมกนีเซียมอิออนความเข้มข้น 0.7 มิลลิโมลาร์ ส่วนลูกผสมที่สามารถผลิตกรดมะนาวได้สูงกว่า C. oleophila จะได้จากภาวะเช่นเดียวกับข้างต้น แต่ในสารละลายที่มีแคลเซียมอิออนความเข้[ม]ข้น 0.7 มิลลิโมลาร์ และแมกนีเซียมอิออนความเข้มข้น 0.1 มิลลิโมลาร์ โดยมีค่า fusion frequency เท่ากับ 0.2 ส่วนการหลอมโดยใช้ PEG โดยบ่มที่อุณหภูมิ 20 องศาเซลเซียส เป็นระยะเวลานาน 20 นาที จะได้ลูกผสมที่มีลักษณะโคโลนีเหมือนเชื้อ C. oleophila เท่านั้น โดยลูกผสมที่ได้จะสามารถผลิตกรดมะนาวได้สูงขึ้น โดยมีค่า fusion frequency เท่ากับ 0.2-
dc.description.abstractalternativeComparative studies of protoplast fusion between Endomycopsis fibuligera ATCC 9947, an amylases-producing strain, and Candida oleophila NNU62, a citric acid-producing strain, by electrofusion and by treatment with polyethylene glycol (PEG) were performed. Suitable conditions for protoplast formation from both strains were by incubating at 35℃ for 30 min. in zymolyase at 0.1 mg/ml for E.fibuligera and at 0.4 mg/ml for C. oleophila. Protoplast fusion by both methods yielded strains capable to produce higher level of either amylases or citric acid than those of the parental strains. However by using electrofusion, strains with ability to produce both amylases and citric acid were obtained but they were unstable after subculturing. Electrofusion conditions yielding strains capable to produce higher amylases than that of E. fibuligera were with direct current of 10 square pulse with 10 s pulse width and field strength at 5 kV/cm in 0.7 M sorbitol containing 0.5 mM Ca²⁺ and 0.7 mM mg²⁺. Under these conditions, fusion frequency of 0.07 was obtained. Conditions for electrofusion giving strains producing higher citric acid than that of C. oleophila were similar to the above except for the fusion solution contained 0.7 mM Ca²⁺ and 0.1 mM Mg²⁺. Fusion frequency under these conditions was 0.2. Suitable conditions for protoplast fusion by treating with PEG were at 20℃ for 20 min. under these conditions only strains capable to produce citric acid but higher than that of C. oleophila with fusion frequency of 0.20 were obtained.-
dc.language.isoth-
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.subjectการหลอมเซลล์ด้วยไฟฟ้า-
dc.subjectโปรโตพลาสต์เชื้อรา-
dc.subjectยีสต์-
dc.subjectElectrofusion-
dc.subjectFungal protoplasts-
dc.subjectYeast-
dc.titleการเปรียบเทียบการหลอมโพรโทพลาสท์ของยีสต์ ด้วยวิธีอิเล็กโทรฟิวชันและการใช้สารเคมี-
dc.title.alternativeComparative study of electrofusion and chemical fusion of yeast protoplasts-
dc.typeThesis-
dc.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต-
dc.degree.levelปริญญาโท-
dc.degree.disciplineเทคโนโลยีชีวภาพ-
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Sukanya_po_front_p.pdf12.45 MBAdobe PDFView/Open
Sukanya_po_ch1_p.pdf14.74 MBAdobe PDFView/Open
Sukanya_po_ch2_p.pdf9.27 MBAdobe PDFView/Open
Sukanya_po_ch3_p.pdf9.92 MBAdobe PDFView/Open
Sukanya_po_ch4_p.pdf21.56 MBAdobe PDFView/Open
Sukanya_po_ch5_p.pdf4.58 MBAdobe PDFView/Open
Sukanya_po_ch6_p.pdf5.78 MBAdobe PDFView/Open
Sukanya_po_ch7_p.pdf3.13 MBAdobe PDFView/Open
Sukanya_po_back_p.pdf33.3 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.