Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/62814
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorจินตนา ยูนิพันธุ์-
dc.contributor.authorสุกันยา ฉัตรสุวรรณ-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย-
dc.date.accessioned2019-08-29T06:57:23Z-
dc.date.available2019-08-29T06:57:23Z-
dc.date.issued2529-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/62814-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2529-
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลองแบบสองกลุ่ม วัดก่อนและหลังทดลองเพื่อศึกษาผลของการใช้กระบวนการกลุ่มในการสอนผู้ป่วยต่อระดับความวิตกกังวลก่อนผ่าตัดของผู้ป่วยโรคต้อกระจก โดยเปรียบเทียบระดับวิตกกังวลก่อนผ่าตัดของผู้ป่วยที่ได้รับการสอนโดยการใช้กระบวนการกลุ่มกับได้รับการสอนตามปกติ กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยโรคต้อกระจกทั้งเพศชายและเพศหญิง ที่เข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยจักษุวิทยาสามัญของโรงพยาบาลศิริราช จำนวน 60 ราย แบ่งออกเป็นกลุ่มทดลอง และกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 30 ราย ซึ่งได้จากการจับคู่กลุ่มตัวอย่าง โดยการใช้ตัวแปรในเรื่อง เพศ อายุ ระดับการศึกษา และคะแนนความวิตกกังวลของการสอบวัดครั้งแรกให้อยู่ในระดับใกล้เคียงกัน โดยใช้คะแนนสอบครั้งแรกในการวัดของแบบสังเกตพฤติกรรมความวิตกกังวล และแบบสัมภาษณ์ความวิตกกังวลเป็นเกณฑ์ในการตัดสินจับคู่ แล้วสุ่มตัวอย่าง (Ramdom Assignment) กลุ่มควบคุมจะได้รับการสอนตามปกติจากพยาบาลวิชาชีพในหอผู้ป่วย และกลุ่มทดลองจะได้รับการสอนโดยการใช้กระบวนการกลุ่มจากผู้วิจัย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยเครื่องมือที่ใช้ในการทดลองและเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ซึ่งผู้วิจัยสร้างขึ้นเอง เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง ประกอบด้วยแผนการสร้างสัมพันธภาพกับผู้ป่วยโรคต้อกระจกเป็นรายบุคคล และบันทึกการสอนผู้ป่วยโรคต้อกระจกโดยการใช้กระบวนการกลุ่ม เครื่องมือทั้ง 2 ชนิดนี้ ได้ผ่านการทดลองใช้และตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิ ส่วนเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลมี 2 ชนิด ชนิดแรก คือ แบบสัมภาษณ์ความวิตกกังวล นำไปหาความตรงตามเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิ ทำการวิเคราะห์เป็นรายข้อ เพื่อเลือกข้อที่มีค่าอำนาจจำแนกตั้งแต่ 2.00 ขึ้นไป และหาความเที่ยงโดยการหาค่าสัมประสิทธิ์แอลฟ่า ตามวิธีของครอนบาช (Cronbach) ได้ค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.93 เครื่องมือชนิดที่สอง คือ แบบสังเกตพฤติกรรมความวิตกกังวล นำไปหาความตรงตามเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิ หาความสอดคล้องระหว่างผู้สังเกต (Interobserver Reliability) ตามวิธีของ วิลเลียม เอ สกอตต์ ได้ค่าเท่ากับ 0.96 การรวบรวมข้อมูลจะทำ 2 ครั้ง คือ ในวันแรกที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล (ก่อนการทดลอง) และในตอนเช้าวันทำผ่าตัด (หลังการทดลอง) วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยเป็นรายคู่ โดยทดสอบค่าที (t-test ) ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. ระดับความวิตกกังวลก่อนผ่าตัดของผู้ป่วยโรคต้อกระจกหลังได้รับการสอนโดยการใช้กระบวนการกลุ่ม จะต่ำกว่าระดับความวิตกกังวลก่อนได้รับการสอนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. ระดับความวิตกกังวลก่อนผ่าตัดของผู้ป่วยโรคต้อกระจกที่ได้รับการสอนโดยการใช้กระบวนการกลุ่ม จะต่ำกว่าผู้ป่วยที่ได้รับการสอนตามปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05-
dc.description.abstractalternativeThe purpose of this experimental research, Pre-test Post-test Control Group Design, were to study and compare the effects of using group process in teaching cataract patients between the groups taught by using group process technique and conventional method. The research samples comprised of 60 male and female cataract patients admitted in ophthalmologic unit, Siriraj Hospital. The subjects were randomly assigned to an experimental and a control group by matching sex, age, education and the level of anxiety before teaching. The first group was taught by using group process technique and the latter group taught by conventional method. Two kinds of instruments were utilized in this study. First, the instruments used in the experimental program which were the plan for establishing the nurse-patient relationship and the lesson plan utilized group process technique. These plans were developed by the researcher and reviewed by experts for their content validity. Secondly the instruments used in data collection which were the anxiety interviewing questionnaire and the anxiety observation scale. Both instruments were developed by the researcher. Their content validity were accepted by experts. The reliability of the first instrument, tested by Cronbach’s coefficient, was 0.93, whereas that of the second one, tested by William A Scott’s Interobserver reliability technique, was 0.96. The pre-test was done on the first day of admission, and the post-test was done in the morning of the operation day. The data were analysed by using arithmetic mean, standard deviation and t-test. The findings were as following: 1. There was a significant difference at the .05 level between the means of the preoperative anxiety level of patients before and after teaching. Therefore, the first hypothesis was supported. The preoperative anxiety level significantly decreased after the patients participated in a teaching class using group process technique. 2. There was a significant difference at the .05 level between the means of the preoperative anxiety level after the experiment of patients in the experimental group and the control group. Therefore, the second hypothesis was supported. The preoperative anxiety level of the patients who participated in a teaching class using group process technique was significantly lower than that of patients who participated in a class using conventional method.-
dc.language.isoth-
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.subjectผู้ป่วย -- จิตวิทยา-
dc.subjectความวิตกกังวล-
dc.subjectตา -- ศัลยกรรม-
dc.subjectต้อกระจก -- ศัลยกรรม-
dc.subjectการสอน-
dc.titleผลของการใช้กระบวนการกลุ่มในการสอนผู้ป่วย ต่อระดับความวิตกกังวลก่อนผ่าตัด ของผู้ป่วยโรคต้อกระจก-
dc.title.alternativeEffects of using group process in teaching patients on preoperative anxiety level of cataract patients-
dc.typeThesis-
dc.degree.nameครุศาสตรมหาบัณฑิต-
dc.degree.levelปริญญาโท-
dc.degree.disciplineสุขศึกษา-
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Sukanya_chat_front_p.pdf6.59 MBAdobe PDFView/Open
Sukanya_chat_ch1_p.pdf8.21 MBAdobe PDFView/Open
Sukanya_chat_ch2_p.pdf49.83 MBAdobe PDFView/Open
Sukanya_chat_ch3_p.pdf15.94 MBAdobe PDFView/Open
Sukanya_chat_ch4_p.pdf2.76 MBAdobe PDFView/Open
Sukanya_chat_ch5_p.pdf9.88 MBAdobe PDFView/Open
Sukanya_chat_back_p.pdf38.25 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.