Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/62833
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorมยุรี เนตรนภิส-
dc.contributor.authorสุชาติ ขันธบุตร-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย-
dc.date.accessioned2019-08-30T07:38:50Z-
dc.date.available2019-08-30T07:38:50Z-
dc.date.issued2532-
dc.identifier.isbn9745766844-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/62833-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2532-
dc.description.abstractปัญหาในการอธิบายการเคลื่อนที่ของอนุภาคแม่เหล็กระดับไมครอนที่ปะปนกับของไหลในตัวกรองแม่เหล็กทรงกระบอกแบบตามแนวแกนและการคาดคะเนประสิทธิภาพของตัวกรองให้สมบูรณ์และสอดคล้องกับผลการทดลองนั้น ขึ้นอยู่กับการประมาณค่าความเข้มสนามแม่เหล็กรอบตัวจับใดๆ ซึ่งกระจายแบบสุ่มในตัวกรองแม่เหล็กให้ได้ใกล้เคียงกับความเป็นจริงมากที่สุด ทฤษฎีการจับอนุภาคในตัวกรองแม่เหล็กทรงกระบอกแบบตามแนวแกน เริ่มจากทฤษฎีของเกอร์เบอร์ที่ได้ประมาณสนามแม่เหล็กรอบตัวจับตามแบบจำลองตัวจับเดียว ซึ่งมีข้อจำกัดใช้ได้เฉพาะกรณีที่สัดส่วนของตัวจับในตัวกรองแม่เหล็กน้อยๆ ประมาณไม่เกิน 5 % และความเข้มสนามแม่เหล็กภายนอกมีค่าไม่สูงเกินไป เนื่องจากผลการคำนวณได้พื้นที่ของการจับของตัวจับตัวแทนที่พิจารณาคาบเกี่ยวกับพื้นที่ของการจับของตัวจับที่อยู่ข้างเคียง ซึ่งให้ผลการคำนวณประสิทธิภาพของตัวกรองแม่เหล็กมีการเพิ่มขึ้นทางเดียวกับความยาวในการจับแบบนอร์แมลไลซ์หรือกับสัดส่วนของตัวจับในตัวกรองแม่เหล็ก ในการวิจัยนี้เราได้ปรับปรุงทฤษฎีของเกอร์เบอร์ โดยใช้ความเข้มสนามแม่เหล็กรอบตัวจับที่ประมาณโดยวิธีตัวกลางยังผล ซึ่งวิธีการนี้ได้ประยุกต์ใช้กับตัวกรองแม่เหล็กทรงกลมได้ผลดีมาแล้ว ในการวิจัยนี้ให้ผลการคำนวณประสิทธิภาพของตัวกรองแม่เหล็กมีแนวโน้มของการเพิ่มแบบอิ่มตัวเมื่อ ความยาวในการจับแบบนอร์แมลไลซ์ หรือสัดส่วนของตัวจับในตัวกรองแม่เหล็กมีค่าเพิ่มมากขึ้น เกินค่าหนึ่งซึ่งสอดคล้องกับผลการทดลองของบริซซ์และทฤษฎีของไกร์เนอร์และฮอฟมานน์-
dc.description.abstractalternativeIn describing motion of magnetic particles of micron size in fluid carrier and prediction of capture efficiency of axial cylindrical magnetic filter with satisfactory agreement with experiment, depends on approximation of magnetic field around any collector which is randomly distributed in magnetic filters. Theory of particle capture in axial cylindrical magnetic filter was first developed by using the single collector model for approximation of magnetic field around a representative collector from Gerber’s theory, This theory was limited by small collector packing fraction, approximately about 5 %, and the applied magnetic field intensity was not too high. Otherwise, capture area of the representative collector overlaps with capture area of neighbouring collector and magnetic-filter efficiency is obtained as monotonic increasing function with increasing of normalized capture length or packing fraction. In this research, we develop Gerber’s theory by using magnetic field intensity around a representative collector determined by effective medium approach, which is applied to spherical magnetic filter. In this research, the calculated result of magnetic-filter efficiency has the tendency of saturated typed when the normalized capture length or packing fraction increases more than the specific value which corresponds to the experiment of Birss and the theory of Greiner and Hoffmann.-
dc.language.isoth-
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.subjectสนามแม่เหล็ก-
dc.subjectอนุภาค (นิวเคลียร์ฟิสิกส์)-
dc.subjectMagnetic fields-
dc.subjectParticles (Nuclear physics)-
dc.titleทฤษฎีการจับอนุภาคในสนามแม่เหล็กเกรเดียนต์สูง-
dc.title.alternativeTheory of particle capture in high gradient magnetic fie-
dc.typeThesis-
dc.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต-
dc.degree.levelปริญญาโท-
dc.degree.disciplineฟิสิกส์-
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Suchart_ku_front_p.pdf13.43 MBAdobe PDFView/Open
Suchart_ku_ch1_p.pdf8.85 MBAdobe PDFView/Open
Suchart_ku_ch2_p.pdf27.67 MBAdobe PDFView/Open
Suchart_ku_ch3_p.pdf20.84 MBAdobe PDFView/Open
Suchart_ku_ch4_p.pdf8.27 MBAdobe PDFView/Open
Suchart_ku_back_p.pdf11.91 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.