Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/62840
Title: มาตรการทางกฏหมายในการจัดหาที่ดินเพื่อประโยชน์ในการปฏิรูปที่ดิน
Other Titles: Legal measures for acquisition for the purpose of land reform
Authors: สุชาติ มงคลเลิศลพ
Advisors: ศิริ เกวลินสฤษดิ์
ไชยยศ เหมะรัชตะ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Subjects: กฎหมายที่ดิน
Issue Date: 2526
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: เป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปว่าสำหรับประเทศกำลังพัฒนานั้น เกษตรกรรมเป็นอาชีพที่สำคัญของประชากร และทำรายได้ส่วนใหญ่ให้แก่ประเทศ สามารถที่จะเสริมสร้างความสุขให้แก่ประชาชนในประเทศให้มีรายได้เพียงพอที่จะจับจ่ายใช้สอยเพื่อจัดหาสิ่งอำนวยความสะดวกในการครองชีพได้ ประเทศไทยในฐานะที่เป็นประเทศที่กำลังพัฒนาประเทศหนึ่งก็ตกอยู่ในฐานะดังกล่าวเช่นกัน แต่ในภาวะปัจจุบันนี้ปรากฏว่ามีเกษตรกรประสบความเดือดร้อนอย่างหนักในเรื่องสิทธิและการถือครองที่ดิน เกษตรกรส่วนใหญ่ไม่มีสิทธิในที่ดินเป็นของตนเองตกอยู่ในฐานะของผู้เช่าที่ดิน หรือเกษตรกรมีสิทธิในที่ดินเพียงเล็กน้อยไม่เพียงพอต่อการผลิต ทั้งที่ดินที่ถือครองเป็นแปลงเล็กแปลงน้อยไม่เหมาะสมต่อระบบการผลิตทางการเกษตรกรรม และโดยสภาพของเกษตรกรแล้วขาดอำนาจต่อรองในการจำหน่ายผลผลิต ด้วยสาเหตุเหล่านี้ส่งผลกระทบกระเทือนต่อเศรษฐกิจ สังคม และการเมืองของประเทศ จึงเป็นหน้าที่ของรัฐบาลต้องเข้าช่วยเหลือดำเนินการแก้ไขปัญหาโดยด่วน การปฏิรูปที่ดินเป็นวิธีการที่จำเป็นและเป็นที่ยอมรับของประเทศต่าง ๆ ในการแก้ไขปัญหาดังกล่าวของเกษตรกร ซึ่งโดยทั่วไปแล้วจุดมุ่งหมายของการปฏิรูปที่ดิน คือกระจายการถือครองที่ดินหรือสิทธิในที่ดิน แต่อย่างไรก็ตามลำพังแต่การกระจายการถือครองโดยไม่มีการปรับปรุงกิจการอื่นอันเกี่ยวข้องร่วมด้วย การปฏิรูปที่ดินก็จะไม่บังเกิดประโยชน์แต่อย่างใด ดังนั้น เพื่อให้บรรลุถึงวัตถุประสงค์ของการปฏิรูปที่ดินจึงต้องมีการปรับปรุง กิจการอย่างอื่นที่สำคัญและต้องจัดทำไปพร้อมกับการกระจายการถือครองที่ดินซึ่งเป็นวัตถุประสงค์หลักของการปฏิรูปที่ดินด้วย คือการสินเชื่อเพื่อเกษตรกรรม การตลาดของผลิตผลเกษตร การจัดหาปัจจัยในการเกษตรการสหกรณ์ การเผยแพร่ความรู้และเทคนิคในการเกษตรแผนใหม่ การพัฒนาชุมชนในชนบทรวมตลอดถึงการปรับปรุงระบบการเช่าที่ดินมิให้มีการเอารัดเอาเปรียบแก่กันจนเกินไปให้ผู้เช่ามีความมั่นคงในการถือครองที่ดิน ปรับปรุงการใช้แรงงานในการเกษตรกรรม การจัดรูปที่ดิน พัฒนาระบบสหกรณ์เพื่อการเกษตรและการครองชีพ ตลอดจนการศึกษาและสาธารณกิจต่าง ๆ ในชนบทด้วย ขั้นตอนหนึ่งที่เป็นขั้นต้นในการปฏิรูปที่ดินคือการจัดหาที่ดินเพื่อประโยชน์ในการปฏิรูปที่ดิน ซึ่งการกำหนดมาตรการทางกฎหมายในการจัดหาที่ดินเพื่อประโยชน์ในการปฏิรูปที่ดินที่มีประสิทธิภาพใช้ได้ผลในทางปฏิบัติเป็นสิ่งจำเป็นอันจะขาดมิได้ ดังนั้น จึงควรที่จะทำการศึกษารายละเอียดรวมทั้งปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นหรืออาจจะเกิดขึ้นในภายหน้าเกี่ยวกับการจัดหาที่ดินเพื่อประโยชน์ในการปฏิรูปที่ดิน เพื่อให้ได้มาซึ่งมาตรการทางกฎหมายในการจัดหาที่ดินของรัฐ การจัดซื้อหรือดำเนินการเวนคืนที่ดินของเอกชนตลอดจนมาตรการทางกฎหมายที่สนับสนุนการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมที่เหมาะสมที่สุด ทั้งนี้ก็เพื่อให้บรรลุถึงจุดมุ่งหมายสุดท้ายของการปฏิรูปที่ดินโดยทั่วไป คือเกษตรกรเท่านั้นควรจะเป็นผู้ถือครองที่ดินเพื่อการเกษตร ในการดำเนินการค้นคว้านี้ ได้ศึกษาถึงเนื้อหาสาระดังต่อไปนี้คือ:- - ประเภทของที่ดินในการนำมาดำเนินการปฏิรูปที่ดินคือที่ดินของรัฐและที่ดินของเอกชน อำนาจการดูแล บำรุงรักษา และจัดหาประโยชน์ที่ดินทั้งหลายอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินหรือทรัพย์สินของแผ่นดิน -มาตรการทางกฎหมายที่สนับสนุนการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม คือการห้ามมิให้จำหน่าย โอนแบ่งแยก หรือก่อให้เกิดการติดพันใด ๆ ซึ่งที่ดินในเขตปฏิรูปที่ดิน การกำหนดสิทธิในที่ดิน การควบคุมการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม การจัดรูปที่ดินและการจัดที่ดินเพื่อครองชีพ -มาตรการทางกฎหมายในการนำที่ดินของรัฐมาดำเนินการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม -มาตรการทางกฎหมายในการนำที่ดินของเอกชนมาดำเนินการปฏิรูปที่ดินโดยวิธีการจัดซื้อหรือดำเนินการเวนคืน ในการศึกษานี้ได้วิเคราะห์ถึงปัญหาตลอดจนแนวทางที่จะแก้ไขข้อบกพร่องต่าง ๆ โดยพิจารณาแล้วเห็นว่า -ควรกำหนดมาตรการทางกฎหมายในการห้ามแบ่งแยกที่ดินเป็นแปลงย่อยในบริเวณซึ่งกำหนดเขตปฏิรูปที่ดินภายในระยะเวลาที่กำหนดไว้ เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากคณะกรรมการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ทั้งนี้ก็เพื่อมิให้เป็นอุปสรรคในการปฏิรูปที่ดินและป้องกันการหลีกเลี่ยงในการที่จะถูกจัดซื้อหรือดำเนินการเวนคืนที่ดินจาก ส.ป.ก. –นำหลักการกำหนดสิทธิในที่ดินซึ่งเคยบัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายที่ดินมาใช้บังคับอีกเพื่อป้องกันการกว้านซื้อที่ดินของนายทุน -การให้เกษตรกรมีโอกาสเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่ดินของรัฐซึ่งนำมาดำเนินการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมเป็นการเปิดโอกาสในการจัดหาสินเชื่อและการเข้าร่วมกระบวนการพัฒนา การให้อำนาขแก่ ส.ป.ก. ในการจัดซื้อหรือดำเนินการเวนคืนที่ดินได้ทั้งแปลงในกรณีที่เจ้าของที่ดินไม่ประสงค์จะประกอบเกษตรกรรมอีกต่อไป -ให้อำนาจแก่ ส.ป.ก. ในการจัดซื้อหรือดำเนินการเวนคืนที่ดินของเจ้าของที่ดินผู้ซึ่งไม่ได้ประกอบเกษตรกรรมด้วยตนเองได้ทุกแปลง ซึ่งรวมตลอดถึงที่ดินซึ่งบุคคลในครอบครัวเดียวกันคนหนึ่งหรือหลายคนของผู้ซึ่งไม่ได้ประกอบเกษตรกรรมด้วยตนเองถือครองอยู่ด้วย อันจะเป็นในแนวทางเดียวกันกับการจัดซื้อหรือดำเนินการเวนคืนที่ดินในที่ดินของผู้ประกอบเกษตรกรรมด้วยตนเองอีกทั้งยังเป็นการป้องกันการหลีกเลี่ยงการจัดซื้อหรือดำเนินการเวนคืนที่ดินโดยทำการแบ่งแยกที่ดินแปลงย่อยของเจ้าของที่ดินผู้ซึ่งไม่ได้ประกอบเกษตรกรรมด้วยตนเองอีกด้วย มาตรการต่าง ๆ ดังกล่าวนี้หากได้มีการกำหนดไว้โดยชัดแจ้งและได้รับการปฏิบัติอย่างจริงจังแล้วก็จะสามารถดำเนินการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมให้ประสบผลสำเร็จได้ในที่สุด
Other Abstract: Agriculture is very important in any developing country, including Thailand, as it could provide her people with suitable income for family’s expenses and good standard of living. At present, Thai farmers find it difficult to maintain their occupation because most of them actually have none or just a small piece of land which is not fit for any effective horticultural project. This situation makes the farmers unable to bargain with middlemen, and then can ses the country’s social, political and economic systems collapse. The government must urgently step in and quickly solve the problem. Being accepted internationally, land reform is an effective technique to solve such a problem because its purpose is to help farmers have rights and holdings in land for agriculture. However, distribution without improvement could not serve the purpose of land reform. In order to accomplish it, the government, at the same time, should promote some necessary projects such as plans for developing agricultural loan, production and marketing of farming products, promotion plans for agricultural co-operation, providing modern farming technology to farmers, improvement of land rental system for fair and secured agreement, control of labor employment, landscape planning, as well as improvement of welfare, public utilities, education and public health services for farmers. The first step in land reform process is that land must be acquired for the purpose of reformation. Therefore, it is necessary to have some kinds of legal measure for acquisition of land, including purchase and expropriation by government. In order to regulate a proper method of such acquisition, the government should conduct researches studying all circumstances and problems which could occur in the future. Then, the ultimate end of land reform (land to the tillers) would possibly be fulfilled. This research studies the following subjects: - sort of land, both state-owned land and private owned land, which would be acquired for reformation; and the authority to take care and make profit out off it. - legal measures supporting agricultural land reform, such as prohibition of transferring, partitioning or creating a charge on land in a land reform area; imposing rights or holdings in land; rental control; and landscape planning for agricultural purpose. - legal measures for acquisition of state-owned land for agricultural land reform. - legal measures for acquisition of private-owned land for agricultural land reform by purchasing and expropriation. The research concludes: - that the government should provide regulations prohibiting partitioning of land in a land reform area for a period of time unless obtaining a permission of the Agricultural Land Reform Committee, in order to prevent any attempts by land-owners to avoid having their lands purchased or expropriated by the Agricultural Land Reform Office. - that the government should enforce the principle of imposition of rights in land which is already enacted in the Land Code, in order to avoid collective purchase of Land by capitalists. - that farmers should have opportunities to own state-owned land acquired for agricultural land reform by a credit purchase and to join the land development project. - that the Agricultural Land Reform Office should be empowered to purchase or expropriate land whose owner has no intention to cultivate any further; or whose owner is incapable to cultivate the whole of it by himself; or whose co-owner in the same family, alike the owner, does not cultivate or incapable to cultivate by himself. All these owners should be under the same regulations provided for agriculturists in connection with the purchase and expropriation of land, in order to prevent land-owners who do not cultivate their land by themselves to avoid having their land purchased or expropriated by partitioning their land. If all mentioned legal measures are clearly enacted and effectively enforced, the agricultural land reform in Thailand will be finally fulfilled.
Description: วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2526
Degree Name: นิติศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นิติศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/62840
ISBN: 9745622699
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Suchat_mo_front_p.pdf11.68 MBAdobe PDFView/Open
Suchat_mo_ch1_p.pdf4.9 MBAdobe PDFView/Open
Suchat_mo_ch2_p.pdf15.74 MBAdobe PDFView/Open
Suchat_mo_ch3_p.pdf15.55 MBAdobe PDFView/Open
Suchat_mo_ch4_p.pdf41.36 MBAdobe PDFView/Open
Suchat_mo_ch5_p.pdf18.48 MBAdobe PDFView/Open
Suchat_mo_ch6_p.pdf50.14 MBAdobe PDFView/Open
Suchat_mo_ch7_p.pdf11.1 MBAdobe PDFView/Open
Suchat_mo_back_p.pdf4.81 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.