Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/62891
Title: ความแตกต่างระหว่างหลักการบัญชีกับบทบัญญัติแห่งประมวลรัษฏากร ในการคำนวณกำไรสุทธินิติบุคคล
Other Titles: Differences between accounting principles and provisions of the revenue code relative to the determination of net profit of legal entites
Authors: สุนีย์ ชัยภิญโญ
Advisors: ณัฐเสกข์ ฉิมโฉม
วิชัย จึงรักเกียรติ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Subjects: รัษฎากร
กำไร
การบัญชี
Revenue
Profit
Accounting
Issue Date: 2532
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การศึกษาความแตกต่างระหว่างหลักการบัญชีกับบทบัญญัติแห่งประมวลรัษฎากรในการคำนวณกำไรสุทธิของนิติบุคคลนี้ทำขึ้นเพื่อศึกษาหลักการบัญชีรับรองทั่วไปรวมถึงวิธีปฏิบัติทางบัญชีในประเทศไทยเปรียบเทียบกันบทบัญญัติต่างๆ ในประมวลรัษฎากร รวมทั้งศึกษาวิธีที่นักบัญชีเลือกปฏิบัติเมื่อเกิดความแตกต่าง ปัญหาที่เกิดขึ้น และแนวทางแก้ไข ผลการศึกษาสรุปได้ว่า มีความแตกต่างระหว่างหลักการบัญชีและวิธีปฏิบัติทางบัญชีกับบทบัญญัติแห่งประมวลรัษฎากรในหลายเรื่องด้วยกัน อันอาจมีผลทำให้งบการเงินแสดงฐานะการเงินและผลการดำเนินงานต่างไปอย่างมีสาระสำคัญ ถ้านักบัญชีปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งประมวลรัษฎากรแทนการปฏิบัติตามหลักการบัญชีที่รับรองทั่วไป อย่างไรก็ตาม ผลจากการวิจัยโดยใช้แบบสอบถามเพื่อพิสูจน์สมมติฐานว่านักบัญชีส่วนใหญ่จะเลือกปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งประมวลรัษฎากรในการจัดทำบัญชี แทนที่จะยึดหลักการบัญชีที่รับรองทั่วไปในกรณีที่มีความแตกต่างระหว่างหลักการบัญชีกับประมวลรัษฎากรนั้นปรากฏผลว่า นักบัญชีส่วนใหญ่ คือร้อยละ 73 เลือกปฏิบัติตามหลักการบัญชีที่รับรองทั่วไป เมื่อมีความแตกต่างดังกล่าว โดยให้เหตุผลว่าต้องการให้งบการเงินแสดงฐานะการเงินและผลการดำเนินงานโดยถูกต้องตามหลักการบัญชีที่รับรองทั่วไป แต่ได้พบว่าความได้เปรียบเสียเปรียบทางภาษีอากรมีผลต่อการเลือกใช้วิธีปฏิบัติของนักบัญชีกล่าวคือเมื่อวิธีปฏิบัติตามหลักการบัญชีทำให้กิจการต้องเสียเปรียบในเรื่องภาษีอากร ร้อยละ 48 ของนักบัญชีจะเลือกปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งประมวลรัษฎากร ในขณะที่ร้อยละ 44 ของนักบัญชีเลือกปฏิบัติตามหลักการบัญชี สำหรับผู้ที่เลือกปฏิบัติตามหลักการบัญชีที่รับรองทั่วไปนั้น เมื่อพบว่ามีข้อแตกต่างระหว่างหลักการบัญชีที่รับรองทั่วไปกับบทบัญญัติแห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งทำให้การเลือกปฏิบัติตามหลักการบัญชีที่รับรองทั่วไปจะต้องเสียเปรียบแล้ว ร้อยละ 36 ของนักบัญชีจะเปลี่ยนมาเลือกปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งประมวลรัษฎากร นอกจากนั้น ผู้ตอบแบบสอบถามร้อยละ 79 มีความเห็นว่าควรมีการปรับปรุงกฎหมายภาษีอากรให้สอดคล้องกับหลักการบัญชี และมีผู้ตอบแบบสอบถามส่วนหนึ่งซึ่งมีเพียงร้อยละ 7 ไม่ทราบถึงความแตกต่างดังกล่าว จากผลการศึกษาได้ให้ข้อเสนอแนะเพื่อแก้ไขปัญหาในหลายประเด็น ซึ่งข้อเสนอแนะส่วนใหญ่เป็นในแนวที่ให้มีการแก้ไขประมวลรัษฎากรให้สอดคล้องกับหลักการบัญชีมากยิ่งขึ้น หรือให้การปฏิบัติตามหลักการบัญชีที่รับรองทั่วไปไม่ทำให้เกิดความเสียเปรียบทางภาษี นอกจากนี้ยังได้เสนอแนะให้มีการเผยแพร่และพัฒนาความรู้เกี่ยวกับความแตกต่างระหว่างหลักการบัญชีกับบทบัญญัติแห่งประมวลรัษฎากรโดยสถาบันการศึกษาหรือสถาบันวิชาชีพต่าง ๆ เพื่อยกกระดับมาตรฐานการปฏิบัติงานของนักบัญชีโดยทั่วไปยังให้ข้อมูลที่ได้จากนักบัญชีถูกต้องเป็นที่เชื่อถือ
Other Abstract: The objective of the thesis is to study generally accepted accounting principles (GAAP) including accounting practices in Thailand, and the provisions of the Revenue Code, in order to identify differences between GAAP and the tax law, and to determine whether accountants would choose to follow GAAP or the tax law in the preparation of financial statements where differences exist, as well as the problems involved, and then to recommend possible ways in which the problems may be resolved. The results of the study indicate that there are many differences between accounting principles and provisions of the Revenue Code which could lead to the preparation of financial statements on the basis of the tax law in preference to GAAP and consequently the financial statements may be materially misstated. However, from the results of the study which aimed to test the hypothesis that “the majority of accountants prefer to follow the provisions of the Revenue Code in the preparation of financial statements rather than accounting principles where there are differences between accounting principles and provisions of the Revenue Code”, it was found that the majority of accountants i.e.,73% prefer to apply accounting principles in order that the financial statements would present fairly the financial position and the results of operations of the business entities. On the other hand the study also indicates that tax advantage or disadvantage is a factor which affected the decisions of accountants. Where the adoption of the tax law provides more tax benefit than the adoption of accounting principles 48% of accountants would apply the provisions of the Revenue Code and 44% would apply accounting principles in the preparation of financial statements. In the same situation, 36% of those 73% of accountants who indicate preference to apply accounting principles change their preference to the adoption of the provisions of the Revenue Code. The study also indicates that 79% of accountants recommend that the Revenue Code be revised in accordance with GAAP, and 7% of accountants are not aware of differences between GAAP and the tax law. Many recommendations are proposed as a result of the study. The majority of the recommendations follow the reasoning that the application of GAAP should result in compliance with the tax law, or at least should not loose the benefits of the tax law. The study also recommends that educational institutions and professional bodies should publicise and provide education in the differences between accounting principles and tax law in order to raise the standards of accountants generally which in turn would enhance the reliability of financial statements.
Description: วิทยานิพนธ์ (บช.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2532
Degree Name: บัญชีมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การบัญชี
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/62891
ISBN: 9745761338
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Sunee_chai_front_p.pdf4.47 MBAdobe PDFView/Open
Sunee_chai_ch1_p.pdf7.62 MBAdobe PDFView/Open
Sunee_chai_ch2_p.pdf6.27 MBAdobe PDFView/Open
Sunee_chai_ch3_p.pdf56.43 MBAdobe PDFView/Open
Sunee_chai_ch4_p.pdf4.85 MBAdobe PDFView/Open
Sunee_chai_ch5_p.pdf13.7 MBAdobe PDFView/Open
Sunee_chai_back_p.pdf49.43 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.