Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/62902
Title: การตามกระแสข่าวจากสื่อมวลชนของชาวบ้านบ่อสร้าง
Other Titles: Catching mass media news flow of Bo-Sang villagers
Authors: สุปราณี นิมมลรัตน์
Advisors: ศิริชัย ศิริกายะ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Subjects: การสื่อสาร -- แง่สังคม -- ไทย -- เชียงใหม่
วิทยุกระจายเสียง
Communication -- Social aspects -- Thailand -- Chiang Mai
Radio broadcasting
Issue Date: 2534
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้ มีจุดมุ่งหมายศึกษาถึงระบบการสื่อสารระดับหมู่บ้านและกระบวนการตามกระแสข่าวของชาวบ้านบ่อสร้าง ซึ่งใช้เวลาศึกษาภาคสนามในช่วงมีนาคมถึงกันยายน 2533 ณ หมู่บ้านบ่อสร้าง อำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่ ด้วยวิธีการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ มีผู้วิจัยเป็นเครื่องมือสำคัญในการเก็บข้อมูล โดยการสัมภาษณ์แบบเจาะลึกและบันทึกเทป การสังเกตการณ์และจดบันทึก จากการศึกษาวิเคราะห์โดยมีชาวบ้านบ่อสร้างเป็นผู้ให้ข้อมูล พบว่า ระบบการสื่อสารในหมู่บ้านสามารถแยกย่อยเป็น การสื่อสารระหว่างบุคคลและกลุ่มคน และระบบเสียงตามสายซึ่งเป็นการสื่อสารแบบ 2 ขั้นตอน มีผู้ใหญ่บ้านเป็นผู้คัดเลือกข่าว (Gatekeeper) และชาวบ้านมีอำนาจในการจัดการบริหารตัวระบบ ส่วนระบบสื่อมวลชน ชาวบ้านไม่สามารถจัดการได้นั้น มีการไหลของข่าวโดยตรงถึงชาวบ้านในทิศทางเดียว ซึ่งระบบย่อยทั้งหมดต่างมีภาระหน้าที่ร่วมกัน โดยเฉพาะระบบสื่อมวลชนได้เข้ามามีบทบาทและส่งผลกระทบถึงสถาบันศาสนา และสถาบันครอบครัวในการอบรมสั่งสอน ระบบเครือญาติและมิตรสหายในการบอกข่าว และสถาบันศึกษาในการเรียนรู้จากสื่อมวลชน ในการตามกระแสข่าวพบว่า ชาวบ้านใช้สื่อมวลชนเป็นแหล่งข่าวสำคัญ โดยเฉพาะโทรทัศน์เป็นหลักซึ่งมีแทบทุกครัวเรือน ใช้วิทยุและหนังสือพิมพ์เป็นสื่อรอง มีขั้นตอนเริ่มจากเปิดรับข่าวเป็นประจำก่อน จึงเลือกตามเฉพาะข่าวที่สนใจและหาเพิ่มเติมจากสื่ออื่นหรือผู้รู้ ในขณะเดียวกันบางทีได้เรียนรู้และเลือกสรรข่าวไปด้วย ซึ่งชาวบ้านเป็นผู้กำหนดพฤติกรรมการใช้สื่อและมีสถานการณ์สังคมเป็นตัวผลักดันความสนใจ โดยเฉพาะสถานการณ์ที่มีความขัดแย้งคลุมเครือ ทั้งนี้ลักษณะการตามกระแสข่าวมีทั้งไม่เลือกที่จะตามหรือผู้ยอมรับ (Passive) และเลือกที่จะตามข่าวเฉพาะหรือผู้กระทำ (Active) สำหรับคนรุ่นใหม่จะมีการตามข่าวหลายกระแสและเฉพาะเรื่องจากหลาย ๆ สื่อประกอบกันมากกว่าคนรุ่นเก่าที่มักใช้สื่อวิทยุและโทรทัศน์ ส่วนนิตยสารและภาพยนตร์ถูกใช้น้อยมาก แต่ทว่าชาวบ้านแทบทุกคนสามารถตามกระแสข่าวที่เกิดขึ้นได้อย่างเท่าทันกัน หากจะแตกต่างกันที่การสร้างความหมายแก่ตน (make sense) ซึ่งแล้วแต่ประสบการณ์และความรู้สะสมเดิมของแต่ละคน
Other Abstract: The objective of this research is to study the communication system in village and the mass media news flow of Bo-Sang villagers. The field research was done from March to June 1990 at Bo-Sang village, Sankampang district, Chiangmai using qualitative techniques. The data was collected by a researcher using these methods: depth interview with tape recorders, participant as observer and memos. The organized data collected from Bo-Sang villagers showed two steps flow of communication: The interpersonal and group communication, and the on-line radio systems. The head of the village is the gatekeeper while the villagers are authorized to set-up the management system. They can not manage the mass media system and therefore there is only one way that the mass media news flows. All sub-communication systems are a joint responsibility especially the mass media system which plays an important role in religion, family, friends and learning institutions. According to the mass media news flow, televisions are the main news sources in village while radios and newspapers are minor news sources. The villagers turn on their regular news channel before chosing any other news they might be interested in. Later they seek for more information from other media or friends. By doing so, they have learned to select the news by making their own choices of news media. They are especially stimulated by news involving conflict or vague situations. However, Some villagers choose to seek out the news actively while the others receive it passively. The younger generation seem to follow the news from several medial while the older generation only rely upon radio and television. They rarely accept news from magazines and movies. Nevertheless, almost all villagers are able to learn about what is going on from the new, but it is their experience and common sense which differentiate their comprehension.
Description: วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2534
Degree Name: นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การสื่อสารมวลชน
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/62902
ISBN: 9745784052
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Supranee_ni_front_p.pdf2.81 MBAdobe PDFView/Open
Supranee_ni_ch1_p.pdf2.52 MBAdobe PDFView/Open
Supranee_ni_ch2_p.pdf6.41 MBAdobe PDFView/Open
Supranee_ni_ch3_p.pdf5.69 MBAdobe PDFView/Open
Supranee_ni_ch4_p.pdf19.43 MBAdobe PDFView/Open
Supranee_ni_ch5_p.pdf17.98 MBAdobe PDFView/Open
Supranee_ni_ch6_p.pdf2.83 MBAdobe PDFView/Open
Supranee_ni_back_p.pdf2.33 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.