Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/62988
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorวรวรรณ องค์ครุฑรักษา-
dc.contributor.authorชนิดา กิ่งรุ้งเพชร์-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์-
dc.date.accessioned2019-09-14T02:21:05Z-
dc.date.available2019-09-14T02:21:05Z-
dc.date.issued2561-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/62988-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2561-
dc.description.abstractงานวิจัยชิ้นนี้ทำการศึกษาแนวทางการสื่อสารของผู้ทรงอิทธิพลทางความคิดในอินสตาแกรม สำหรับสินค้าประเภทอาหารและเครื่องดื่ม โดยวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ จากการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ทรงอิทธิพลทางความคิดในอินสตาแกรมสำหรับอาหารและเครื่องดื่ม จำนวน 5 ท่าน และทำการศึกษาการเปิดรับ ทัศนคติ และพฤติกรรมการตอบสนองของผู้บริโภคที่มีต่อผู้ทรงอิทธิพลทางความคิดในอินสตาแกรม สำหรับสินค้าประเภทอาหารและเครื่องดื่ม รวมถึงความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรทั้ง 3 โดยวิธีวิจัยเชิงปริมาณ จากการสำรวจกลุ่มตัวอย่างจำนวน 400 คน   จากผลการวิจัยเชิงคุณภาพพบว่า ผู้ทรงอิทธิพลทางความคิดแบบบุคคลธรรมดา มักจะโพสต์เฉพาะภาพนิ่ง ส่วนผู้ทรงอิทธิพลทางความคิดที่มีชื่อเสียง มักจะโพสต์ภาพเคลื่อนไหว และจากผลการวิจัยเชิงปริมาณพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เลือกที่จะติดตามผู้ทรงอิทธิพลทางความคิดทั้ง 2 ประเภท โดยมีความถี่ในการเปิดรับเป็นประจำทุกวัน ซึ่งรูปภาพเป็นรูปแบบของสารที่เปิดรับมากที่สุด ทั้งนี้กลุ่มตัวอย่างเห็นด้วยอย่างยิ่งต่อทัศนคติที่ว่าผู้ทรงอิทธิพลทางความคิดมีความสามารถในการสร้างเนื้อหาให้น่าสนใจ และกลุ่มตัวอย่างมีพฤติกรรมการตอบสนองโดยการกดติดตามมากที่สุด ในขณะที่การเปิดรับสารมีความสัมพันธ์เชิงบวก กับทัศนคติของผู้บริโภคที่มีต่อผู้ทรงอิทธิพลทางความคิดในระดับต่ำ และทัศนคติของผู้บริโภคที่มีต่อผู้ทรงอิทธิพลทางความคิดมีความสัมพันธ์เชิงบวก กับพฤติกรรมการตอบสนองของผู้บริโภคที่มีต่อโพสต์ในระดับปานกลาง-
dc.description.abstractalternativeThis research was aimed to study the communication methods of Instagram influencers for marketing food and beverage products by the qualitative method, conducting by an in-depth interview with 5 Instagram influencers and explore consumers’ exposure, consumers’ attitude and consumers’ response including the relationship between these 3 factors by the quantitative research, which is a survey research with 400 respondents. Regards the qualitative research, it was found that Micro influencers usually post photos. As for Macro influencers, they tend to post video. On the other hand, the result of the quantitative research presents that most of sample group follow both Macro and Micro Influencers and check out Instagram on a daily basis. Instagram post in the form of photo gains the most exposure. The samples strongly agree with the attitude that Instagram Influencers has the ability to create interesting contents and the most frequent response is to follow the Instagram Influencers. Last but not least, the research indicates that the consumers’ exposure has a low positive relationship with consumer’s attitude. The positive relationship between consumers’ attitude and the consumers' responses is in the moderate level.-
dc.language.isoth-
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.relation.urihttp://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2018.830-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.subject.classificationArts and Humanities-
dc.titleผู้ทรงอิทธิพลทางความคิดในอินสตาแกรมสำหรับสินค้าประเภทอาหารและเครื่องดื่ม กับการเปิดรับ ทัศนคติ และพฤติกรรมการตอบสนองของผู้บริโภค-
dc.title.alternativeInstagram Influencers For Food And Beverage Products, Exposure, Attitudes And Consumers’ Responses-
dc.typeThesis-
dc.degree.nameนิเทศศาสตรมหาบัณฑิต-
dc.degree.levelปริญญาโท-
dc.degree.disciplineนิเทศศาสตร์-
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.email.advisorWorawan.O@Chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.58837/CHULA.THE.2018.830-
Appears in Collections:Comm - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6084856428.pdf3.17 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.