Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/63297
Title: รูปแบบการขนส่งทางถนนที่เหมาะสมสำหรับการกระจายพัสดุสายพลาธิการของกองทัพอากาศ
Other Titles: Road Transportation Model For Quartermaster Distribution Of Royal Thai Air Force
Authors: ณัฐพร คำพวง
Advisors: กมลชนก สุทธิวาทนฤพุฒิ
พงศา พรชัยวิเศษกุล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: Kamonchanok.S@Chula.ac.th
Pongsa.P@Chula.ac.th
Subjects: ยุทธสัมภาระ -- การขนส่ง
การส่งกำลังบำรุง
กองทัพอากาศ -- การจัดซื้อจัดจ้าง
Military supplies -- Transportation
Logistics
Air forces -- Procurement
Issue Date: 2561
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การศึกษาวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบการขนส่งทางถนนสำหรับการกระจายพัสดุสายพลาธิการของกองทัพอากาศ และเพื่อเปรียบเทียบรูปแบบการขนส่งทางถนนระหว่าง การขนส่งแบบ Milk Run โดยผ่านทุก ๆ หน่วยในภูมิภาค, การขนส่งแบบ Milk Run โดยแบ่งเป็นหลายเส้นทางในแต่ละภูมิภาค, การขนส่งผ่านศูนย์กระจายพัสดุ และการขนส่งผ่านศูนย์กระจายพัสดุ ร่วมกับ Milk Run เพื่อหาแนวทางเลือกที่มีความเหมาะสมกับการกระจายพัสดุไปยังหน่วยในแต่ละภูมิภาค โดยใช้สถิติการขนส่งพัสดุปีงบประมาณ 2559-2560 นำโปรแกรมระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (GIS) มาช่วยในวิเคราะห์การหาตำแหน่งที่เหมาะสม สำหรับใช้เป็นจุดกระจายพัสดุของแต่ละภูมิภาค รวมถึงนำการหาระยะทางขนส่งที่สั้นที่สุด (Optimal Solution) มาช่วยในการจัดเส้นทางการขนส่งพัสดุในรูปแบบ Milk Run ของแต่ละภูมิภาคอีกด้วย จากการศึกษาพบว่า รูปแบบการขนส่งผ่านศูนย์กระจายพัสดุ ร่วมกับ Milk Run ทำให้การขนส่งพัสดุในภาคเหนือมีต้นทุนต่ำที่สุด ซึ่งจะสามารถลดต้นทุนการขนส่งลงได้ 18.04 %, ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ รูปแบบการขนส่งแบบ Milk Run โดยแบ่งเป็นหลายเส้นทางในภูมิภาค ทำให้การขนส่งพัสดุมีต้นทุนต่ำที่สุด ซึ่งสามารถลดต้นทุนการขนส่งลงได้ 2.04 %, ภาคใต้ รูปแบบการขนส่งผ่านศูนย์กระจายพัสดุ ทำให้การขนส่งพัสดุมีต้นทุนต่ำที่สุด สามารถลดต้นทุนการขนส่งลงได้ 27.79 % และภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคตะวันตก การขนส่งพัสดุในรูปแบบเดิม (Direct Shipment) มีต้นทุนการขนส่งถูกที่สุด
Other Abstract: The aim of this research to study road transportation model for quartermaster distribution of Royal Thai Air Force and to compare road transportation model Milk Run transportation through every unit in the region, Milk Run transportation is divided into several routes in each region, Cross Docking Transportation and Cross Docking with Milk Run. To find alternatives that are appropriate for the distribution of supplies to each region. By using the parcel transport statistics for the fiscal year 2016-2017. Implementing the Geographic Information System (GIS) program to assist in the analysis of proper positioning for use as a distribution center for each region. Including the use of the optimal solution to support Milk Run for transport the parcels in each region. The study found that Cross Docking with Milk Run making transporting in The Northern region the lowest cost  which can reduce transportation costs 18.04%, Northeastern region, Milk Run transportation is divided into several routes in each region Causing the lowest cost of transportation which can reduce transportation costs 2.04%. Southern region Cross Docking makes the lowest cost it will reduce transportation costs 27.79%. the Central, Eastern and Western region transporting the parcels in the original (Direct Shipment) has the lowest transportation costs.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2561
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/63297
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2018.637
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2018.637
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6087139720.pdf3.59 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.