Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/63336
Title: เเนวทางการสอดเเทรกคุณธรรมจริยธรรมในการจัดการเรียนการสอนของครูมัธยมศึกษาตอนต้นกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา เเละวัฒนธรรม
Other Titles: Guidelines For Infuion Instruction Of Ethics And Moralitiesin Learning Area Of Social Studies, Religion And Culture
Authors: ปพิชญา จีนอิ่ม
Advisors: วิชัย เสวกงาม
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: Wichai.S@Chula.ac.th
Issue Date: 2561
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาสภาพการสอดแทรกคุณธรรมจริยธรรมในการจัดการเรียนการสอนของครูมัธยมศึกษาตอนต้นกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม 2) เพื่อกำหนดแนวทางการสอดแทรกคุณธรรมจริยธรรมในการจัดการเรียนการสอนของครูมัธยมศึกษาตอนต้นกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ประชากรในการวิจัย คือ ครูผู้สอนมัธยมศึกษาตอนต้นกลุ่มสาระสังคมศึกษาฯ จำนวน 237 คน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 3 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติบรรยายและการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า (1) สภาพการสอดแทรกคุณธรรมจริยธรรมในการจัดการเรียนการสอนของครูมัธยมศึกษาตอนต้นกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษาฯ ปฏิบัติในระดับมากทุกด้าน แต่เมื่อพิจารณาความถี่รายด้าน พบว่าครูบางส่วนปฏิบัติไม่มากเท่าที่ควร เน้นวัดและประเมินผลความรู้ ขาดความเข้าใจในวิธีการสอดแทรก และการติดตามพฤติกรรมผู้เรียนอย่างต่อเนื่อง (2) แนวทางการสอดแทรกคุณธรรมจริยธรรมในการจัดการเรียนการสอน ประกอบด้วย (1) ด้านการกำหนดวัตถุประสงค์การเรียนรู้ทางคุณธรรมจริยธรรม ครูกำหนดวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรมด้วยตนเองให้สอดคล้องกับเนื้อหา (2) ด้านการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนสอดแทรกคุณธรรมจริยธรรม ครูนำข่าวหรือคลิปวีดีโอเชื่อมโยงคุณธรรมจริยธรรมที่สอดแทรก เน้นอภิปรายกลุ่มเสนอทางเลือกในการตัดสินใจ (3) ด้านการวัดและประเมินผลผู้เรียนจากกิจกรรมการเรียนการสอน ครูวัดและประเมินความรู้ ทัศนคติ เหตุผล และพฤติกรรมการแสดงออกเชิงจริยธรรม (4) ด้านพฤติกรรมในชั้นเรียน แบ่งเป็น (4.1) พฤติกรรมของครู ครูเป็นแม่แบบที่ดีในการปฏิบัติตน รู้จักผู้เรียนรายบุคคล และ(4.2) พฤติกรรมของผู้เรียน ครูใช้หลักประชาธิปไตย ส่งเสริมผู้เรียนให้เป็นผู้นำ เคารพในความเห็นต่าง  
Other Abstract: The purposes of this research were to 1) study the state of infusion ethics and moralities into teaching social studies, religion and culture of lower secondary social studies, religion and culture teachers 2) implement how to infuse ethics and moralities into teaching social studies of lower secondary social study teachers. The sample consisted of 247 lower secondary social study teachers in the Secondary Educational Service Area office 3. Data were collected through questionnaire format. Descriptive analysis and content analysis were used in interpreting the data. The research findings were as follows: 1) Infusion ethics and moralities in teaching social studies, religion and culture of lower secondary social studies, religion and culture teachers took action in high level for all aspects. 2) That the guidelines for infusion of ethics and moralities in teaching social studies, religion and culture of lower secondary social studies teachers, were the following. (1) Identification of learning objectives in the aspects of ethics and moralities learning contents would be assessed and evaluated by themselves. (2) Providing appropriate activities of the learning contents such as integrating the use of media through video clips that relate or link with ethics and moralities. Group discussion activity however is also seen as an efficient way to gather their views on ethics and moralities, religion and culture (3) In the aspect of learning activity, assessment and evaluation, teachers must have better and broad understanding and knowledge in ethical behavior and ethical reasoning. (4) In the aspect of classroom interaction, the teacher’s sensitivity to the students’ personal background, students’ learning curves is the utmost important to properly conduct a smooth activity and interaction in the others opinion and the teachers not only act as a facilitator but also a good role model to the students.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2561
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: หลักสูตรและการสอน
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/63336
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2018.1455
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2018.1455
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5883877927.pdf2.22 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.