Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/63414
Title: การศึกษาเปรียบเทียบขนาดก้อนมะเร็งตับอ่อน ในผู้ป่วยมะเร็งตับอ่อนระยะลุกลาม ระหว่างกลุ่มที่ได้รับการรักษาด้วยการเผาทำลายโดยใช้เข็มคลื่นวิทยุผ่านทางกล้องคลื่นเสียงร่วมกับการรักษาด้วยเคมีบำบัดสูตรมาตรฐาน และ กลุ่มที่รักษาโดยการรักษาด้วยการให้ยาเคมีบำบัดสูตรมาตรฐานเพียงอย่างเดียว
Other Titles: Eus-Guided Radiofrequencyablation As Adjunctive Treatment For Advanced Pancreatic Cancer Versus Standard Treatment (Erap)
Authors: เกศินี เธียรกานนท์
Advisors: ประเดิมชัย คงคำ
รังสรรค์ ฤกษ์นิมิตร
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์
Advisor's Email: Pradermchai.K@Chula.ac.th
Rungsun.R@Chula.ac.th
Issue Date: 2561
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: เป้าหมายงานวิจัย: เพื่อศึกษา เปรียบเทียบการเปลี่ยนแปลงของขนาดของก้อนที่ตับอ่อน ของมะเร็งตับอ่อนระยะลุกลาม ระหว่างผู้ป่วยที่รับการรักษาด้วยการเผาทำลายโดยใช้เข็มคลื่นวิทยุผ่านทางกล้องคลื่นเสียงร่วมกับการให้ยาเคมีบำบัด วิธีการศึกษา : เทียบกับผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาด้วยยาเคมีบำบัดเพียงอย่างเดียว โดยกลุ่มทดลองจะได้รับการรักษาด้วยการเผาทำลายโดยใช้เข็มคลื่นวิทยุผ่านทางกล้องคลื่นเสียงร่วมกับการให้ยาเคมีบำบัดและกลุ่มควบคุม คือผู้ป่วยที่มี อายุ เพศ ระยะของมะเร็งตับอ่อน และ ECOG ใกล้เคียงกับผู้ป่วยกลุ่มทดลอง แต่ได้รับการรักษาด้วยยาเคมีบำบัดเพียงอย่างเดียว มาเปรียบเทียบขนาดก่อนหลัง,ภาวะแทรกซ้อน และ ปริมานยาแก้ปวดที่ใช้ ก่อนและหลังทำการรักษาในช่วง 3เดือน ผลการศึกษา :เก็บข้อมูลตั้งแต่ กรกฎาคม พ.ศ. 2560 ถึง กันยายน พ.ศ. 2561ที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์มีผู้ป่วยเข้าร่วมการศึกษาทั้งสิ้น28 ราย เป็นกลุ่มทดลอง และ กลุ่มควบคุม อย่างละ 14 ราย (อายุเฉลี่ย66.14±10ปี; อัตราส่วน ชาย: หญิง= 1: 3)พบว่า ไม่มีความแตกต่างของลักษณะก่อนทำการรักษาระหว่างประชากรระหว่างทั้งสองกลุ่ม มีการส่องกล้องคลื่นเสียง และเผาทำลายด้วยเข็มคลื่นวิทยุ ทั้งสิ้น 34 ครั้ง(พิสัย 1-4ครั้ง/คน)มีรายงานภาวะแทรกซ้อน ทั้งสิ้น3 ใน 34 ครั้ง ในผู้ป่วย2 ราย คิดเป็นร้อยละ 8.8 ได้แก่ การติดเชื้อในก้อนมะเร็ง จำเป็นต้องได้ยาฆ่าเชื้อ (นอนโรงพยาบาล 7 วัน ), เลือดออกจากรอยเจาะเข็ม ใช้ฮีโมคลิปหยุดเลือด (นอนโรงพยาบาล 7 วัน)และ ตับอ่อนอักเสบไม่รุนแรง (นอนโรงพยาบาล 2วัน)โดยภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้น ผู้ป่วยไม่มียังสามารถเข้ารับยาเคมีบำบัดได้ตามกำหนดการเดิม ผลการทดลองพบว่า ในกลุ่มทดลอง ความยาวของก้อนมะเร็งไม่โตขึ้น (ก่อน เทียบกับ หลัง ; 61.37±20.1 ม.ม. เทียบกับ 64.25±22.0 ม.ม. (P = 0.099)แต่ในกลุ่มควบคุม ความยาวก้อนมะเร็งโตขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ (ก่อน เทียบกับ หลัง ; 50.1 ± 21.1ม.ม. เทียบกับ 55.4 ± 18  ม.ม.(P = 0.017), กลุ่มทดลองสามารถลดการใช้ยาแก้ปวดได้ร้อยละ 50 เท่ากับมอร์ฟีน 22.5มิลลิกรัมต่อวัน แต่ไม่พบความแตกต่างในอัตราการรอดชีวิตที่ 6เดือนของทั้งสองกลุ่ม ข้อสรุปการศึกษา: ในผู้ป่วยมะเร็งตับอ่อนที่ไม่สามารถผ่าตัดได้ การทำการรักษาด้วยเข็มคลื่นวิทยุผ่านการส่องกล้องคลื่นเสียงร่วมกับการใช้ยาเคมีบำบัด สามารถชะลอการโตของก้อนมะเร็ง และ สามารถลดการใช้ยาแก้ปวดในกลุ่มมอร์ฟีนได้ ดีกว่าการรักษาด้วยยาเคมีบำบัดเพียงอย่างเดียว
Other Abstract: Introduction: Feasibility and safety of EUS-guided radiofrequency ablation (EUS-RFA) for unresectable pancreatic cancer (UPC) has been reported in a few small non-comparative studies. This study aim to compare radiological response and pain medication used between EUS-RFA plus chemotherapy versus chemotherapy (CMT) alone as a primary treatment of UPC. Methods: Patients with UPC with ECOG below 3 were recruited. Patients treated with EUS-RFA plus concurrent CMT were classified as group A. Control group was patients treated with CMT alone (group B) with matching clinical parameters. Results: Since July 2017 until August 2018, 28 patients (mean age 66.14±10years; M: F= 1: 3) at King Chulalongkorn Memorial hospital were recruited. No statistical difference of baseline parameters. 34 EUS-RFA procedures were performed in 14 patients with median number of procedure at 3 times (range 1-4 times), median total ablation time at 270 seconds (range 90 - 962 seconds), and adverse event (AEs) rate at 8.8 % (3/34). 3 AEs were post-procedure infection (length of stay (LOS) 7 days), bleeding puncture site (LOS 7 days), and mild pancreatitis (LOS 2 days). No delay of scheduled chemotherapy. Outcomes of both groups were compared. Dosage reduction of morphine equivalent analgesia was significantly better in group A, 22.5 mg/day(range 0-60)versus 0 mg/day (-20 to 30) (p=0.003), respectively, as well as median percentage of dosage reduction (50 % (0 to 100) versus 0 % (-100 to 42.9), p=0.001), respectively. No enlargement of mean maximal target lesion diameter (mm) in group A (before vs. after; 61.37±20.1 mm vs 64.25±22.0 mm (P = 0.099), but significant increase in group B (50.1 ± 21.1 mm vs. 55.4 ± 18 mm (P = 0.017), respectively). No significant difference of 6-month survival rate. Conclusion: In UPC patients, EUS-RFA plus concurrent CMT significantly reduce morphine dosage requirement than CMT.RFA additionally stabilized the tumor maximal target diameter whereas CMT failed to halt tumor progression.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2561
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: อายุรศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/63414
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2018.1486
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2018.1486
Type: Thesis
Appears in Collections:Med - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6074003830.pdf2.79 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.