Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/63430
Title: การศึกษาทางไฟฟ้ากล้ามเนื้อการกลืนระหว่างการได้รับออกซิเจนอัตราไหลสูงเทียบกับระหว่างการที่ได้รับออกซิเจนอัตราไหลต่ำ ในผู้ป่วยหลังการถอดท่อช่วยหายใจ; การศึกษาไขว้กลุ่มแบบสุ่ม
Other Titles: Electromyographic swallowing study during high flow oxygen therapy compared with low flow oxygen therapy in post extubated patients; A randomized crossover study
Authors: สริตา ธาวนพงษ์
Advisors: ณับผลิกา กองพลพรหม
วสุวัฒน์ กิติสมประยูรกุล
กันต์นิษฐ์ พงศ์พิพัฒไพบูลย์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์
Advisor's Email: Napplika@Yahoo.com
Wasuwat.K@Chula.ac.th
ไม่มีข้อมูล
Issue Date: 2561
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ที่มา การใช้ออกซิเจนอัตราไหลสูงผ่านสายจมูกมีการนำมาใช้มากขึ้นในปัจจุบันโดยเฉพาะในกลุ่มผู้ป่วยหลังการถอดท่อช่วยหายใจ แต่ข้อมูลเกี่ยวกับผลที่เกิดขึ้นต่อการกลืนนั้นยังไม่ชัดเจน การศึกษาครั้งนี้จึงต้องการเปรียบเทียบ latency time ของปฏิกิริยารีเฟล็กซ์ในผู้ป่วยหลังการถอดท่อช่วยหายใจที่ใช้ออกซิเจนอัตราไหลสูงผ่านทางสายจมูกด้วยอัตราไหล 50 ลิตรต่อนาที กับออกซิเจนอัตราไหลต่ำ 5 ลิตรต่อนาที วิธีศึกษา การศึกษาในระยะที่ 1 เป็นการศึกษาข้ามกลุ่มแบบสุ่ม ทำการศึกษาในกลุ่มผู้ป่วยใส่ท่อช่วยหายใจมา ≥ 48 ชั่วโมง และอยู่ในภาวะหลังการถอดท่อช่วยหายใจไม่เกิน 48 ชั่วโมง โดยผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงต่อการสำลัก มีภาวะกลืนลำบากอยู่เดิม หรือไม่ผ่านการตรวจคัดกรองการกลืนลำบากจะถูกตัดออกจากการศึกษา ก่อนที่จะเข้าสู่ ระยะ run-in ด้วยการให้ออกซิเจนอัตราไหลต่ำ 1-5 ลิตรต่อนาทีเพื่อให้ได้ค่าความอิ่มตัวของออกซิเจนที่ ≥ 92% เป็นเวลา 5 นาที จากนั้นจะทำการสุ่มผู้ป่วยออกเป็น 2 กลุ่มเพื่อได้รับออกซิเจนอัตราไหลสูง 50 ลิตรต่อนาที หรือออกซิเจนอัตราไหลต่ำ 5 ลิตรต่อนาที เป็นเวลา 5 นาที จากนั้นผู้ป่วยจะได้คำสั่งให้กลืนน้ำ 3 มิลลิลิตร จำนวน3 ครั้ง เพื่อทำการเก็บข้อมูลคลื่นไฟฟ้ากล้ามเนื้อ ซึ่งจะถูกอ่านค่าโดยทีมผู้วิจัยที่ไม่ทราบถึงวิธีการให้ออกซิเจนที่ผู้ป่วยได้รับ ตามด้วยระยะ wash out เป็นเวลา 5 นาที แล้วจึงสลับวิธีการให้ออกซิเจนแก่ผู้ป่วย แล้วทำการทดสอบการกลืนอีกครั้ง เมื่อเข้าสู่ระยะที่ 2 ของการศึกษาผู้ป่วยทุกรายจะได้รับออกซิเจนอัตราไหลสูงด้วยอัตรา 30 และ 40 ลิตรต่อนาที นาน 5 นาที ก่อนที่จะทดสอบการกลืน ผลการศึกษา จำนวนผู้ป่วยที่เข้าร่วมการศึกษามีทั้งหมด 20 คน มีค่าเฉลี่ยของค่า latency time ของปฏิกิริยารีเฟล็กซ์การกลืน ในกลุ่มผู้ป่วยที่ได้รับออกซิเจนอัตราไหลสูงด้วยอัตราไหล 50 ลิตรต่อนาที เท่ากับ 1.11 ±0.56 วินาที ซึ่งสั้นกว่าอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเมื่อเทียบกับกลุ่มผู้ป่วยที่ได้รับออกซิเจนอัตราไหลต่ำด้วยอัตราไหล 5 ลิตรต่อนาที เท่ากับ 1.29 ±0.7 วินาที (p= 0.027) ส่วนปัจจัยที่มีผลต่อค่า latency time ของปฏิกิริยารีเฟล็กซ์การกลืนเมื่อทำการวิเคราะห์แบบ multivariate analysis ได้แก่ การมีโรคประจำตัวเป็นโรคเบาหวาน ส่วนค่า latency time ของปฏิกิริยารีเฟล็กซ์การกลืนในกลุ่มผู้ป่วยที่ได้รับออกซิเจนอัตราไหลสูงด้วยอัตราไหล 30 และ 40 ลิตรต่อนาที ไม่แตกต่างกับการใช้ออกซิเจนอัตราไหลต่ำ ส่วนค่าแอมพลิจูดของคลื่นไฟฟ้ากล้ามเนื้อที่วัดได้ในขณะที่ใช้ออกซิเจนที่อัตราไหลต่างๆ กันนั้นก็ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ สรุป ในผู้ป่วยที่อยู่ในภาวะหลังการถอดท่อช่วยหายใจ การใช้ออกซิเจนอัตราไหลสูงด้วยอัตราไหล 50 ลิตรต่อนาที มีแนวโน้มจะช่วยให้ปฏิกิริยารีเฟล็กซ์การกลืนดีขึ้น
Other Abstract: Background High flow nasal cannula (HFNC) is increasingly used during a post-extubation period. There are limited data of HFNC’s effects on patient’s swallowing. Our study aimed to compare swallowing latency times between post-extubated patients using HFNC 50 LPM and oxygen cannula 5 LPM. Methods We performed a randomized crossover study in the post-extubated patients. We included patients with history of intubation for ≥48 hours, who were extubated within a 48-hour period, and excluded patients with at risk or history of dysphagia. The eligible patients were assessed swallowing function by modified water swallowing test and those who passed the test were recruited into a run-in period. Subsequently, they were randomly assigned to receive HFNC 50 LPM or oxygen cannula 5 LPM for 5 minutes. Then the patients swallowed 3 ml. of water and three values of the latency times and amplitudes were recorded by using surface electromyography, which were interpreted later by blinded assessors. After this phase, the patients received oxygen cannula as in the run-in period for 5 minutes and then were switched to the other treatment and the tests were repeated. After the crossover phase, we also measured the latency times in patients using HFNC 30 and 40 LPM. Results Totally, 20 patients were enrolled in our study. The mean swallowing latency time in the HFNC 50 LPM group was significantly shorter than the latency time in the simple oxygen group (1.11 ±0.56 VS 1.29 ±0.70 seconds; p = 0.027). The mean latency times in the patients using HFNC 30 LPM (1.24 ±0.80 seconds) and HFNC 40 LPM (1.23 ±0.70 seconds) were not different from the simple oxygen group. The amplitudes from each group of oxygen therapy were not statistically different. According to univariate analysis, factors affecting the latency time were age, diabetes mellitus, hypertension and dyslipidemia. However, multivariate analysis showed diabetes mellitus was the only factor affecting the latency time. Conclusion The post-extubated patients using HFNC 50 LPM potentially had better swallowing reflex.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2561
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: อายุรศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/63430
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2018.1513
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2018.1513
Type: Thesis
Appears in Collections:Med - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6074039430.pdf1.17 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.