Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/63431
Title: การเปรียบเทียบอัตราเสียชีวิตในโรงพยาบาลระหว่างผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อผนังหัวใจช่วงล่างของเวนตริเคิลซ้ายขาดเลือดชนิดเอสทียกที่มีภาวะกล้ามเนื้อหัวใจเวนตริเคิลขวาขาดเลือดร่วมและไม่มีภาวะกล้ามเนื้อหัวใจเวนตริเคิลขวาขาดเลือดร่วมที่ได้รับการรักษาโดยวิธีการฉีดสีและถ่างขยายหลอดเลือดหัวใจด้วยการใช้บอลลูนหรือขดลวดในโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์
Other Titles: Comparison of in-hospital mortality between acute inferior wall STEMI patients with right ventricular infarction and without right ventricular infarction undergoing a primary PCI in KCMH
Authors: สุเมธ ปรีชาวุฒิเดช
Advisors: สุพจน์ ศรีมหาโชตะ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์
Advisor's Email: S_Srimahachota@Yahoo.co.th
Issue Date: 2561
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ที่มา: ผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อผนังหัวใจช่วงล่างของเวนตริเคิลซ้ายขาดเลือดชนิดเอสทียก ถ้ามีภาวะกล้ามเนื้อหัวใจเวนตริเคิลขวาขาดเลือดร่วม จะมีการพยากรณ์โรคที่ไม่ดี มีภาวะแทรกซ้อนทางด้านการไหลเวียนโลหิตและระบบไฟฟ้าหัวใจ ส่งผลต่อภาวะทุพพลภาพและการเสียชีวิตในโรงพยาบาล อย่างไรก็ตามผู้ป่วยส่วนใหญ่ของการศึกษาก่อนหน้านี้ได้รับการรักษาด้วยการให้ยาละลายลิ่มเลือดทางหลอดเลือดดำและยังจำกัดการศึกษาในประชากรผิวขาว วัตถุประสงค์: เพื่อเปรียบเทียบอัตราเสียชีวิตในโรงพยาบาลของผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อผนังหัวใจช่วงล่างของเวนตริเคิลซ้ายขาดเลือดชนิดเอสทียกซึ่งมีและไม่มีภาวะกล้ามเนื้อหัวใจเวนตริเคิลขวาขาดเลือดร่วมในผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาด้วยวิธีการฉีดสีและถ่างขยายหลอดเลือดหัวใจด้วยการใช้บอลลูนขดลวด วิธีการศึกษา: เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา ศึกษาย้อนหลังในผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อผนังหัวใจช่วงล่างของเวนตริเคิลซ้ายขาดเลือดชนิดเอสทียกที่ได้รับการรักษาด้วยวิธีการฉีดสีและถ่างขยายหลอดเลือดหัวใจด้วยการใช้บอลลูนขดลวดในโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ตั้งแต่ 1 มกราคม 2550 - 31 ธันวาคม 2559 ผลการศึกษา: ผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อผนังหัวใจช่วงล่างของเวนตริเคิลซ้ายขาดเลือดชนิดเอสทียกที่ได้รับการรักษาด้วยวิธีการฉีดสีและถ่างขยายหลอดเลือดหัวใจด้วยการใช้บอลลูนขดลวดจำนวน 452 ราย มีผู้ป่วยที่มีภาวะกล้ามเนื้อหัวใจเวนตริเคิลขวาขาดเลือดร่วมจำนวน 99 ราย อัตราเสียชีวิตในโรงพยาบาลเท่ากับร้อยละ 23.2 สาเหตุหลักมาจากการเกิดภาวะหัวใจช็อค เทียบกับร้อยละ 5.1 ในผู้ป่วยที่ไม่มีภาวะกล้ามเนื้อหัวใจเวนตริเคิลขวาขาดเลือด (ค่าพีน้อยกว่า 0.001) ผู้ป่วยที่มีภาวะกล้ามเนื้อหัวใจเวนตริเคิลขวาขาดเลือดมีอุบัติการณ์ของการเกิดภาวะหัวใจช็อคมากกว่าอย่างมีนัยสำคัญ (ร้อยละ 48.5 เทียบกับร้อยละ 15.6, ค่าพีน้อยกว่า 0.001) สัดส่วนการบีบตัวของหัวใจเวนตริเคิลซ้ายน้อยกว่า (ร้อยละ 51.15 ± 17.27 เทียบกับร้อยละ 55.79 ± 12.46, ค่าพี 0.037) ภาวะการนำกระแสไฟฟ้าในหัวใจผิดปกติชนิดเอวีบล็อคสมบูรณ์ (ร้อยละ 33.3 เทียบกับร้อยละ 11.9 ค่าพีน้อยกว่า 0.001) และภาวะชนิดวีที (ร้อยละ 15.2 เทียบกับร้อยละ 5.9 ค่าพี 0.003) หลังจากนำตัวแปรอายุ เพศหญิง ภาวะหัวใจช็อค สัดส่วนการบีบตัวของหัวใจเวนตริเคิลซ้าย ภาวะชนิดวีที และภาวะการนำกระแสไฟฟ้าในหัวใจผิดปกติชนิดเอวีบล็อคสมบูรณ์มาปรับ พบว่าภาวะกล้ามเนื้อหัวใจเวนตริเคิลขวาขาดเลือดมีแนวโน้มที่จะเป็นตัวทำนายที่ไม่ดีสำหรับการตายในโรงพยาบาล (อัตราส่วนความเสี่ยงอันตรายที่ปรับแล้ว 1.96 ช่วงความเชื่อมั่นร้อยละ 95, 0.73 ถึง 5.23 ค่าพี 0.18) อย่างไรก็ตามมันเป็นตัวทำนายอิสระที่สำคัญสำหรับการตายที่ 1 ปี (อัตราส่วนความเสี่ยงอันตรายที่ปรับแล้ว 2.12 ช่วงความเชื่อมั่นร้อยละ 95, 1.03 ถึง 4.36 ค่าพี 0.041) สรุปผล: ผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อผนังหัวใจช่วงล่างของเวนตริเคิลซ้ายขาดเลือดชนิดเอสทียกซึ่งได้รับการรักษาโดยวิธีการฉีดสีและถ่างขยายหลอดเลือดหัวใจด้วยการใช้บอลลูนขดลวด และมีภาวะกล้ามเนื้อหัวใจเวนตริเคิลขวาขาดเลือดมีอัตราตายในโรงพยาบาลสูงกว่าเมื่อเทียบกับที่ไม่มีภาวะกล้ามเนื้อหัวใจเวนตริเคิลขวาขาดเลือด และภาวะกล้ามเนื้อหัวใจเวนตริเคิลขวาขาดเลือดมีแนวโน้มที่จะส่งผลที่ไม่ดีเกิดขึ้นตามมามากกว่าเมื่อเทียบกับไม่มีภาวะกล้ามเนื้อหัวใจเวนตริเคิลขวาขาดเลือด
Other Abstract: Background: Patients with acute inferior wall ST elevation myocardial infarction, if there is a right ventricular infarction involvement, they have pretended a worse prognosis with hemodynamic and electrophysiologic complications causing higher in-hospital morbidity and mortality. However most patients in previous studies were mainly treated with intravenous fibrinolysis and also studied in the Caucasian populations. Objective: To compare the in-hospital mortality rate of patients with acute inferior wall ST elevation myocardial infarction with and without right ventricular infarction involvement, whom were treated with primary percutaneous coronary intervention (PPCI). Materials and Method: The study was a retrospective descriptive study which enrolled patients with acute inferior wall ST elevation myocardial infarction who were treated with PPCI in King Chulalongkorn Memorial Hospital from 1 January 2007 - 31 December 2016. Results: Among 452 acute inferior wall ST elevation myocardial infarction patients who were treated with PPCI, there were 99 patients who had right ventricular infarction involvement. The in-hospital mortality rate was 23.2%, mainly due to cardiogenic shock, compared with 5.1 % in patients those without right ventricular infarction (p < 0.001). Patients with right ventricular infarction had a significantly higher incidence of cardiogenic shock (48.5% versus 15.6%, P < 0.001), the lower left ventricle ejection fraction (51.15 ± 17.27% versus 55.79 ± 12.46%, p = 0.037), the higher incidence of complete heart block (33.3% versus 11.9%, p < 0.001) and ventricular tachycardia (15.2% versus 5.9%, p = 0.003). After adjustment for age, female sex, cardiogenic shock on admission, left ventricular ejection fraction, ventricular tachycardia and complete heart block, the right ventricular infarction had a tendency to be the poor predictor for in-hospital death (adjusted hazard ratio, 1.96; 95% confidence interval, 0.73 to 5.23; P = 0.18), nevertheless it was the significant independent predictor for 1-year mortality (adjusted hazard ratio, 2.12; 95% confidence interval, 1.03 to 4.36; P = 0.041). Conclusion: Patients with acute inferior wall STEMI and right ventricular infarction whom were treated with primary percutaneous coronary intervention (PPCI) had higher in-hospital mortality compared to no right ventricular infarction. The right ventricular infarction tended to have worse outcomes than those without right ventricular infarction.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2561
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: อายุรศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/63431
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2018.1516
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2018.1516
Type: Thesis
Appears in Collections:Med - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6074043930.pdf1.52 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.