Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/63454
Title: ปัจจัยทางจิตสังคมของกลุ่มประชากรคนไร้บ้านที่มีโรคจิตเวชในเขตกรุงเทพมหานคร
Other Titles: Psychosocial Factors among Homeless with Mental Disorders in Bangkok.
Authors: ถิรนันท์ ช่วยมิ่ง
Advisors: บุรณี กาญจนถวัลย์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์
Advisor's Email: Buranee.K@Chula.ac.th
Issue Date: 2561
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยในครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างโรคจิตเวชกับสถานการณ์ก่อนและหลังภาวะไร้บ้านในกลุ่มประชากรคนไร้บ้าน และความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยทางจิตสังคมของคนไร้บ้านและการเปลี่ยนแปลงอาการของโรคจิตเวช กลุ่มตัวอย่างคือกลุ่มประชากรคนไร้บ้านในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 20 คน ซึ่งได้รับการวินิจฉัยจากเครื่องมือวินิจฉัย โรคจิตเวช Mini International Neuropsychiatric (Thai version) (5.0) (M.I.N.I) รวบรวมข้อมูลโดยผู้วิจัยด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก ตามหัวข้อคำถามที่สร้างขึ้น โดยมีเนื้อหาครอบคลุมวัตถุประสงค์ที่ต้องการศึกษา สัมภาษณ์เกี่ยวกับประวัติส่วนตัว สาเหตุสำคัญที่ทำให้ตัดสินใจไร้บ้าน  ประวัติความเจ็บป่วยทางจิตเวชของคนไร้บ้านทั้งในอดีตและปัจจุบัน ปัจจัยทางจิตสังคมของคนไร้บ้านและการเปลี่ยนแปลงอาการจิตเวช การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การวิเคราะห์เนื้อหา (content analysis) ผลการศึกษาพบข้อมูลความสัมพันธ์ระหว่างสถานการณ์โรคจิตเวชก่อนไร้บ้านและหลังภาวะไร้บ้าน  สถานการณ์โรคจิตเวชก่อนไร้บ้าน พบ 4 โรค ได้แก่ โรคซึมเศร้า โรคอารมณ์สองขั้ว โรคติดสุราหรือสารเสพติด และโรคจิต สถานการณ์โรคจิตเวชในปัจจุบัน พบ 5 โรค ได้แก่ โรคซึมเศร้า โรคอารมณ์สองขั้ว โรคติดสุราหรือสารเสพติด โรคจิต และโรควิตกกังวล พบว่าโรคจิตเวชมีความสัมพันธ์กับสาเหตุของการไร้บ้าน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ประชากรกลุ่มที่เสี่ยงต่อการเป็นคนไร้บ้านคือผู้ที่มีอาการจิตเวช ในระดับรุนแรง อาทิ โรคจิตหรือโรคอารมณ์สองขั้ว ซึ่งมีปัจจัยทางด้านสุขภาพจิตทับซ้อนกับปัญหาทางสังคม อันได้แก่ ปัญหาทางเศรษฐกิจ ความสัมพันธ์ภายในครอบครัว ความล้มเหลวของระบบการรักษาผู้ป่วยจิตเวช การสนับสนุนทางสังคม ทัศนคติทางลบ ความไม่รู้และไม่เข้าใจต่อผู้ป่วยจิตเวช ปัญหาเหล่านี้เป็นระเบิดเวลาที่จะสร้างปัญหาให้กับคุณภาพประชากรในอนาคตอย่างเลี่ยงไม่พ้น และพบปัจจัยจิตสังคมที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงอาการจิตเวช ดังนี้ ปัจจัยทางด้านสังคม 6 ด้าน ได้แก่ ปัญหาทางเศรษฐกิจ ปัจจัยด้านการงาน สภาพแวดล้อมและความปลอดภัยในสังคม สุขภาพและความพิการ นโยบายจัดระเบียบคนไร้บ้านของภาครัฐ และการเข้าถึงสวัสดิการทางสังคมและบริการสาธารณสุข และ ปัจจัยทางด้านจิตใจ  3 ด้าน ได้แก่ ความสิ้นหวัง ความโดดเดี่ยว และความรู้สึกไร้ค่า ดังนั้น จึงมีความจำเป็นที่จะต้องสร้างความเข้มแข็งในระดับชุมชน ไปจนถึงระดับนโยบายส่วนกลาง พัฒนาการมีส่วนร่วมของชุมชนในการแก้ไขปัญหาผู้ป่วยจิตเวช โดยเริ่มต้นได้จากการสร้างความเข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับโรคจิตเวชให้กับคนในชุมชนอย่างต่อเนื่อง เพื่อลดอคติ ทำให้เกิดความอาทร นำไปสู่ความช่วยเหลือของชุมชนที่จะมีต่อผู้ป่วยจิตเวชและครอบครัว เพื่อที่จะไม่ต้องแบกรับปัญหาและการแก้ไขสถานการณ์ปัญหาต่าง ๆ เพียงลำพัง เป็นการดีหากมีพื้นที่ในการฟื้นฟู ดูแล ผู้ป่วยจิตเวชที่ไม่สามารถดูแลตัวเองได้ จะมีเพิ่มขึ้นและเป็นต้นแบบในการดูแลผู้ป่วยจิตเวชอย่างรอบด้าน เป็นสิ่งที่ได้เริ่มขึ้นโดยชุมชนที่เข้มแข็งเป็นสำคัญ
Other Abstract: The purpose of this qualitative research is to study the relationship between mental disorders before and after becoming homeless of homeless in Bangkok, and the relationship between psychosocial factors and changes of mental disorders’ symptoms. The in-depth interviews were conducted among 20 homeless using Mini International Neuropsychiatric (Thai version) (5.0) (M.I.N.I), including the profiles, factors of leaving homes, mental illness history, psychosocial factors, and the changes in mental disorders’ symptoms. Content analysis is used for data analysis. The study revealed that there are 4 types of mental disorders on those homeless in Bangkok, namely major depressive disorder, bipolar disorder, drug or alcohol related disorder, and psychotic disorder, while having these 5 following mental disorders, major depressive disorder, bipolar disorder, drug or alcohol related disorder, and psychotic disorder, as related causes of being homeless. Having those mentioned mental disorders is the main cause of being homeless, which includes mental health problems that overlap with social structure problems, such as economic factors, family relationship problems, failure of treatments, lack of social supports and stigmas are also main factors that contribute to the psychiatric patients’ quality of life. For the psychosocial factors and changes of symptoms, there were 6 social factors, namely economic problems, employment systems, environment and safety, health and disability, government policy on homeless, and the access to public utilities and Public health service, while having hopeless, loneliness, and worthless as 3 main psychological factors. Therefore, it is necessary to improve the community as well as the public policy. Helping psychiatric patients can start with the development of the community and helping them to understand their roles in making a changes by spreading awareness about psychiatric patients’ conditions, which may help reducing their stigmas of being insane form the society
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2561
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: สุขภาพจิต
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/63454
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2018.1423
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2018.1423
Type: Thesis
Appears in Collections:Med - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6074256230.pdf8.1 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.