Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/63680
Title: การประเมินวัฏจักรชีวิตของการเพิ่มประสิทธิภาพการกำจัดความขุ่นของถังตกตะกอนสัมผัสแบบหมุนเวียนตะกอน กรณีศึกษาโรงงานผลิตน้ำประปาบางเขน
Other Titles: Life cycle assessment of enhancing turbidity removal efficiency in solid contact clarifier sludge recirculation type : A case study at Bangkhen water supply plant
Authors: สราวิทย์ อาภรณ์รัตน์
Advisors: ศิริมา ปัญญาเมธีกุล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Advisor's Email: Sirima.P@Chula.ac.th
Issue Date: 2561
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยนี้วิเคราะห์แนวทางการดำเนินงานควบคุมและเพิ่มประสิทธิภาพการกำจัดความขุ่นถังตกตะกอนสัมผัสแบบหมุนเวียนตะกอน ของโรงงานผลิตน้ำบางเขน โดยวิเคราะห์ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมถังตกตะกอน โดยทดสอบกับสภาวะการทำงานจริงของโรงงานผลิตน้ำบางเขน ผลการวิจัยพบว่าที่ช่วงความขุ่นน้ำดิบ 15-30 เอ็นทียู ซึ่งเป็นความขุ่นน้ำดิบที่เข้าสู่ระบบผลิตโพลิอะลูมิเนียมคลอไรด์มีปริมาณการใช้ที่น้อยกว่าสารส้มน้ำในการสร้างตะกอนโดยมีประสิทธิภาพการกำจัดความขุ่นใกล้เคียงกัน การสร้างตะกอนในถังตะกอนสัมผัสที่เหมาะสมคือ อัตราการไหลของน้ำดิบเข้าถัง 200,000 ลูกบาศก์เมตรต่อวันและควบคุมความเร็วรอบมอเตอร์ของใบพัด 500 รอบต่อนาที สามารถสร้างตะกอนในบริเวณทำปฏิกิริยาให้มีปริมาณร้อยละ 10-15 ได้ด้วยสารเคมีทั้ง 2 ชนิด จากนั้นประเมินวัฏจักรชีวิตการเพิ่มประสิทธิภาพการกำจัดความขุ่นของถังตกตะกอนในกระบวนการผลิตน้ำประปา ในงานวิจัยนี้มีหน้าที่การใช้ (Functional unit) คือการผลิตน้ำประปา 1 ลูกบาศก์เมตร จากการประเมินวัฏจักรชีวิตผลิตภัณฑ์ของน้ำประปามีศักยภาพในการก่อให้เกิดผลกระทบต่อภาวะโลกร้อนเท่ากับ 0.121 กิโลกรัมคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า ผลกระทบต่อภาวะความเป็นกรดเท่ากับ 0.931 กรัมซัลเฟอร์ไดออกไซด์เทียบเท่า ผลกระทบต่อการสิ้นเปลืองทรัพยากรน้ำเท่ากับ 1.050 ลูกบาศก์เมตร และผลกระทบต่อการสิ้นเปลืองทรัพยากรเชื้อเพลิงเท่ากับ 1.704 เมกะจูล ผลการวิเคราะห์การควบคุมถังตกตะกอนเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการกำจัดความขุ่นสามารถลดปริมาณการใช้สารโคแอกกูแลนต์ และลดพลังงานที่ใช้ในกระบวนการผลิตน้ำประปา ซึ่งช่วยลดค่าผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมจากการประเมินวัฏจักรชีวิต
Other Abstract: This research investigated the operational guidelines for controlling and to enhance the efficiency of turbidity removal in solid contact clarifier, sludge recirculation. The results indicated that the raw water turbidity was 15-30 NTU and this turbidity was mostly found in water treatment plant system. The utilization of polyaluminium chloride concentration in the sedimentation was lower than that of aluminium sulphate but their efficiencies in the turbidity removal were similar. An analysis revealed that the flow rate of raw water was 200,000 cubic meters per day and the motor turbine speed drive was 500 rpm. This speed made the sludge in reaction area around 10-15 percent by the two coagulants. This study investigated the life cycle assessment of enhancing turbidity removal efficiency in solid contact clarifier. The results show that impact on global warming is equal 0.121 kg of carbon dioxide equivalent. Impact on acidification is equal 0.931 g of sulfer dioxide equivalent. Impact on water depletion is equal 1.050 cubic meters and impact on fossil depletion is equal 1.704 megajoule. From the results of increase turbidity removal efficiency can reduce the amount of coagulant and energy consumption in production process of tap water which reduces the environment impact.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2561
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมสิ่งแวดล้อม
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/63680
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2018.1297
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2018.1297
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6070415021.pdf5.37 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.