Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/63912
Title: พหุสัณฐานชนิดหนึ่งของยีน catechol-O-methyltransferase (COMT Val 158 Met) ในผู้เสพสารเสพติดและปัจจัยที่เกี่ยวข้องต่อความผิดปกติของการใช้สารระเหย ณ สถาบันธัญญารักษ์
Other Titles: A polymorphism of catechol-O-methyltranferase gene (COMT Val 158 Met) of individuals with substance-dependene and associated factors of inhalant-use disorders at Thanyarak Institute on Drug Abuse
Authors: วิชาภรณ์ อินทรชูติ
Advisors: รัศมน กัลยาศิริ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์
Advisor's Email: Rasmon.K@Chula.ac.th
Subjects: สถาบันธัญญารักษ์
ภาวะพหุสัณฐานทางพันธุกรรม
การใช้ยาในทางที่ผิด
การใช้สารระเหย
Thanyarak Institute on Drug Abuse
Genetic polymorphisms
Drug abuse
Inhalant abuse
Issue Date: 2553
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงความถี่ของพหุสัณฐานชนิดหนึ่งของยีน catechol-O-methyltransferase (COMT Val 158 Met) ของผู้เสพสารเสพติดที่สถาบันธัญญารักษ์ รวมถึงเพื่อศึกษาความแตกต่างของพหุสัณฐานของ COMT Val 158 Met และปัจจัยอื่นที่เกี่ยวข้องในผู้ที่มีความผิดปกติของการใช้สารระเหยและผู้ที่ไม่มีความผิดปกติของการใช้สารระเหย โดยทำการศึกษาจากผู้เข้ารับการบำบัดการเสพสารเสพติดแบบผู้ป่วยใน ณ สถาบันธัญญารักษ์ จำนวน 456 คน โดยใช้แบบสอบถาม Semi-Structured Assessment for Drug Dependence and Alcoholism (SSADDA) ฉบับภาษาไทย ทำการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างการติดสารระเหยกับลักษณะทางพันธุกรรม ลักษณะส่วนบุคคล ประวัติการเจ็บป่วย ประวัติการติดสารเสพติดชนิดอื่นๆ ความถี่จีโนไทป์ ความถี่อัลลีล โดยใช้การทดสอบไคสแควร์ และการวิเคราะห์ logistic regression ด้วยวิธี Enter ผลการศึกษาพบว่ากลุ่มตัวอย่างผู้เสพสารเสพติด มีความถี่จีโนไทป์แบบ Val / Val เท่ากับ 249 คน คิดเป็นร้อยละ 54.6 แบบ Met / Val เท่ากับ 171 คน คิดเป็นร้อยละ 37.5 และแบบ Met / Met เท่ากับ 36 คน คิดเป็นร้อยละ 7.9 และพบว่าการติดสารระเหยจากแบบสอบถาม SSADDA ของผู้เข้ารับการบำบัดสารเสพติดมีจำนวนผู้ที่ติดสารระเหย จำนวน 43 คน คิดเป็นร้อยละ 9.4 จากจำนวนกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 456 คน การวิเคราะห์เบื้องต้นพบปัจจัยที่สัมพันธ์กับการติดสารระเหย ได้แก่ COMT Val 158 Met เพศ อายุ จำนวนปีที่ได้รับการศึกษา ประวัติภาวะซึมเศร้า ประวัติการติดสารนิโคติน ประวัติการติดแอลกอฮอล์ ความถี่จีโนไทป์ และความถี่อัลลีล เมื่อนำปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการติดสารระเหยมาควบคุมอิทธิพลจากตัวแปรอื่นๆด้วยวิธี Enter พบว่าปัจจัยเรื่อง COMT Val 158 Met เพศ อายุ จำนวนปีที่ได้รับการศึกษา ประวัติภาวะซึมเศร้า และประวัติการติดแอลกอฮอล์ เป็นปัจจัยเสี่ยงในการติดสารระเหย
Other Abstract: The aims of this study were to assess the frequency of a polymorphism of catechol-O-methyltransferase gene (COMT Val 158 Met) of individuals with substance-dependence and the difference of a polymorphism of COMT Val 158 Met and associated factors of individuals with and without inhalant-use disorders. Data were collected by interviewing 456 substance dependent patients at Thanyarak Institute On Drug Abuse by using the Semi-Structured Assessment for Drug Dependence and Alcoholism (SSADDA) Thai version. COMT Val 158 Met, demographic data, history of illness, history of substance dependence, genotype frequency, allele frequency were assessed for association with inhalant-use disorders by using Chi-Squares statistics and logistic regression analysis, enter. Out of 456 subjects, 249 (54.6%) were Val homozygotes, 171 (37.5%) were heterozygotes, and 36 (7.9%) were Met homozygotes. Forty-three subjects (9.4%) met the DSM-IV diagnostic criteria for inhalant dependence (ID). Variables associated with ID were sex, age, number of education, major depressive episode (MDE), nicotine dependence, alcohol dependence, genotype frequency, allele frequency. From the logistic regression analysis, COMT Val 158 Met, sex, age, number of education, MDE and alcohol dependence were associated with inhalant-use disorders.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: สุขภาพจิต
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/63912
Type: Thesis
Appears in Collections:Med - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Wichaporn Intharachuti.pdf1.18 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.