Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/63920
Title: | การพัฒนาหลักสูตรแบบเน้นผลลัพธ์การเรียนรู้โดยใช้แนวคิดภาษาศาสตร์สังคมเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะการสนทนาภาษาไทยสำหรับผู้เรียนชาวต่างชาติ |
Other Titles: | Development of an outcomes-based curriculum using sociolinguistic approach to enhance Thai conversation competencies for foreign learners |
Authors: | ภาสพงศ์ ผิวพอใช้ |
Advisors: | พรทิพย์ แข็งขัน ฤดีรัตน์ ชุษณะโชติ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ |
Advisor's Email: | Pornthip.S@Chula.ac.th Ruedeerath.C@Chula.ac.th |
Subjects: | การศึกษา -- หลักสูตร ภาษาไทย -- การศึกษาและการสอน ภาษาไทย -- บทสนทนาและวลี Education -- Curricula Thai language -- Study and teaching Thai language -- Conservation and phrase books |
Issue Date: | 2555 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงพัฒนา มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาหลักสูตรแบบเน้นผลลัพธ์การเรียนรู้โดยใช้แนวคิดภาษาศาสตร์สังคมเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะการสนทนาภาษาไทยสำหรับผู้เรียนชาวต่างชาติ และ 2) ประเมินคุณภาพหลักสูตรที่พัฒนาขึ้น แบ่งเป็นการประเมินคุณภาพหลักสูตรโดยผู้ทรงคุณวุฒิ และการประเมินคุณภาพหลักสูตรโดยการนำไปทดลองใช้กับนักศึกษาชาวต่างชาติของมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา จำนวน 30 คน เป็นระยะเวลา 1 ภาคการศึกษา เครื่องมือที่ใช้ในทดลอง ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้รายหน่วย และเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบประเมินสมรรถนะการสนทนาภาษาไทย แบบบันทึกผลการจัดการเรียนรู้ และ แบบบันทึกผลการสัมภาษณ์ผู้เรียน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวัดก่อนและหลังการทดลองหลายครั้ง (the single group, pretest-posttest time series design) แบบอนุกรมเวลาสมมูล (equivalent times series design) เพื่อศึกษาพัฒนาการของผู้เรียน และใช้สถิติเชิงอ้างอิงโดยการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียวเมื่อมีการวัดซ้ำ (repeated measure ANOVA) ทดสอบค่าเฉลี่ยรายคู่ด้วยวิธีของบอนเฟอร์โรนี (Bonferroni) ผลการวิจัยพบว่า 1.หลักสูตรแบบเน้นผลลัพธ์การเรียนรู้โดยใช้แนวคิดภาษาศาสตร์สังคมเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะการสนทนาภาษาไทยสำหรับผู้เรียนชาวต่างชาติ ดำเนินการพัฒนาตาม 5 ขั้นตอนหลัก คือ 1) การกำหนดผลลัพธ์การเรียนรู้และจัดเนื้อหาหลักสูตร 2) การศึกษาผู้เรียน 3) การออกแบบหน่วยการเรียนรู้ 4) การนำหลักสูตรไปใช้ และ 5) การประเมินผลลัพธ์การเรียนรู้ของหลักสูตร หลักสูตรที่พัฒนาขึ้นประกอบด้วย หน่วยการเรียนรู้จำนวน 6 หน่วย ได้แก่ หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 สวัสดี (10 ชั่วโมง) หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 ของฝากจากเมืองไทย (20 ชั่วโมง) หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 วันนี้มีนัด (20 ชั่วโมง) หน่วยการเรียนรู้ที่ 4 งานเลี้ยงวันเกิด (20 ชั่วโมง) หน่วยการเรียนรู้ที่ 5 ของหายได้คืน (10 ชั่วโมง) หน่วยการเรียนรู้ที่ 6 สงกรานต์เบิกบานใจ (10 ชั่วโมง) รวมทั้งสิ้น 90 ชั่วโมง 2.การประเมินคุณภาพหลักสูตรโดยนำไปใช้ พบว่า คะแนนสมรรถนะการสนทนาภาษาไทยของผู้เรียนชาวต่างชาติรายบุคคลสูงขึ้นกว่าการประเมินครั้งก่อนหน้าทุกครั้งอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และเมื่อเปรียบเทียบคะแนนระหว่างการประเมินครั้งแรกกับครั้งสุดท้าย พบว่าผู้เรียนชาวต่างชาติมีค่าเฉลี่ยของคะแนนสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 |
Other Abstract: | This study aimed to 1) develop the learning an outcomes-based curriculum using sociolinguistic approach to enhance Thai conversation competencies for foreign learners and 2) evaluate the quality of the developed curriculum, comprised of curriculum quality evaluation by the experts and curriculum quality evaluation by implementing with 30 foreign learners of Bansomdejchaopraya Rajabhat University. The study was carried out for 1 semester. The instrument used was unit learning management plan. The data collection was carried out using the Thai conversation competency assessment, learning log, and interview learning log. The data were analyzed by the single group, pretest-posttest time series design and the equivalent times series, designed to study the learner development using the inferential statistics to analyze repeated measure ANOVA and Bonferroni’s method. The research results revealed as follows: 1.The learning result based curriculum according to the sociolinguistics concepts to enhance Thai conversation for the foreign learners was developed according to 5 major stages as follows: 1) to plan outcome and sequence topics, 2) to study the learners, 3) to design the learning units, 4) to implement the curriculum, and 5) to asses outcomes. The developed curriculum consisted of 6 learning units with 90 hours in total, namely Learning Unit 1: Sawasdee (10 hours), Learning Unit 2: souvenir from Thailand (20 hours.), Learning Unit 3: I have a date today (20 hours), Learning Unit 4: Birthday party (20 hours), Learning Unit 5: Belongings Returned (10 hours), Learning Unit 6: Delight Songkran (10 hours). 2. The curriculum implementation evaluation was found that the Thai conversation competency scores of individual foreign learner were higher than the previous evaluation for every sub evaluation by the statistic significance at .05 level. When compared the scores between the pre-test post-test evaluation, the mean of foreign learners was increased by statistic significance at the .05 level. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2555 |
Degree Name: | ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาเอก |
Degree Discipline: | หลักสูตรและการสอน |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/63920 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2012.1845 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2012.1845 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Edu - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Passapong Pewporchai.pdf | 3 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.