Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/64177
Title: การพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารกึ่งแข็งกึ่งเหลวสำหรับผู้ที่มีปัญหาการกลืน
Other Titles: Development of semi solid food product for patients with difficulty swallowing
Authors: วรันธร นาคสัมฤทธิ์
ลัทธนันท์ ศรีอรุณ
Advisors: ณัฐธิดา โชติช่วง
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
Advisor's Email: Nattida.C@Chula.ac.th
Issue Date: 2561
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ผู้ที่มีภาวะการกลืนลำบากมักประสบปัญหาในด้านร่างกายจากภาวะทุพโภชนาการอันเนื่องมาจากการสำลัก การเคี้ยวและการกลืนอาหารที่ยากลำบาก ทำให้เกิดการหลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารและน้ำ ซึ่งผู้ป่วยที่มีปัญหาการบดเคี้ยวและการกลืนมักพบมากในกลุ่มผู้สูงอายุอันเนื่องมาจากการเสื่อมสภาพการทำงานของอวัยวะต่างๆ ในร่างกายและผลกระทบจากโรคต่างๆ นอกจากนี้โรคไตเรื้อรังและเบาหวานยังเป็นโรคที่พบมากในกลุ่มผู้สูงอายุอีกด้วย ซึ่งผู้ป่วยกลุ่มนี้มีข้อจำกัดในการบริโภคอาหารอันเนื่องมาจากความผิดปกติในการทำงานของไตและระบบเมตาบอลิซึมในร่างกาย งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารกึ่งแข็งกึ่งเหลวที่มีสารอาหารเหมาะสมสำหรับกลุ่มผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังและเบาหวาน รวมทั้งให้มีลักษณะเนื้อสัมผัสที่เหมาะสมสำหรับผู้ที่มีปัญหาการกลืน งานวิจัยนี้แบ่งออกเป็น 3 ขั้นตอน โดยขั้นตอนแรกคือการออกแบบ nutrition profile ให้เหมาะสมกับผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังและเบาหวาน ซึ่งประกอบด้วยโปรตีน 6.01 กรัม คาร์โบไฮเดรต 16 กรัม ไขมัน 8 กรัม ใยอาหาร 8.91 กรัม โซเดียม 0.2 กรัม โพแทสเซียม 0.6 กรัม และฟอสฟอรัส 0.2 กรัม ต่อหนึ่งหน่วยบริโภค 261 กรัม จากนั้นหาสูตรของผลิตภัณฑ์อาหารกึ่งแข็งกึ่งเหลวที่มีเนื้อสัมผัสเหมาะสมโดยเปรียบเทียบกับตัวอย่างควบคุมซึ่งใช้อาหารพระราชทานนูทริ เจลลี่ โดยทำการแปรสัดส่วนของสารก่อให้เกิดเจล(คาราจีแนน)ต่อสารเพิ่มความข้นหนืด(กัวกัม)เป็น 7:1, 5:3, 3:5 และ 1:7 และวิเคราะห์เนื้อสัมผัสโดยวิธี Texture Profile Analysis (TPA) จากผลการทดลองพบว่าค่าเนื้อสัมผัสที่ใกล้เคียงกับอาหารพระราชทานนูทริ เจลลี่มากที่สุดคือสูตรคาราจีแนนต่อกัวร์กัมเป็น 5:3 โดยมีค่า hardness และค่า adhesiveness ไม่มีความแตกต่างกับตัวอย่างควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p > 0.05)ในขั้นตอนที่สอง ได้ทำการศึกษารสชาติที่ผู้บริโภคยอมรับ โดยนำอาหารกึ่งแข็งกึ่งเหลวที่ได้จากขั้นตอนแรกมาทำการแปรสัดส่วนสารให้ความหวาน 3 สูตรคือ sucralose ต่อ maltitol เป็น 1:0, 0.5:0.5 และ 0:1 มาทำการทดสอบการยอมรับทางประสาทสัมผัสโดยใช้ 7 point hedonic scale พบว่าอาหารกึ่งแข็งกึ่งเหลวได้รับคะแนนความชอบด้านกลิ่นรส, สี และลักษณะปรากฏไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p > 0.05) แต่อาหารกึ่งแข็งกึ่งเหลวสูตรที่ใช้สัดส่วน sucralose ต่อ maltitol เป็น 1:0 ได้รับคะแนนความชอบด้านรสชาติและความชอบโดยรวมสูงที่สุดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p ≤ 0.05) และในขั้นตอนสุดท้าย ได้นำอาหารกึ่งแข็งกึ่งเหลวสูตรที่เหมาะสมที่สุดไปผ่านกรรมวิธีฆ่าเชื้อด้วยความร้อนแบบสเตอริไลส์ที่ 118 °C 30 นาที พบว่าค่า F0 เท่ากับ 4.1 และทำการศึกษาลักษณะทางกายภาพและทางเคมีของผลิตภัณฑ์หลังผ่านกระบวนการฆ่าเชื้อ พบว่าค่าวิเคราะห์เนื้อสัมผัสไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติจากตัวอย่างควบคุม (p > 0.05) , มีค่า pH เท่ากับ 6.37 , ค่าสีในระบบ L* เท่ากับ 79.34, A* เท่ากับ 4.12 และ B* เท่ากับ 12.26, และวิเคราะห์องค์ประกอบอาหาร (proximate analysis) มีค่าโปรตีน 6.71 กรัม คาร์โบไฮเดรต 24.74 กรัม ไขมัน 7.70 กรัม โซเดียม 0.09 กรัม โพแทสเซียม 0.30 กรัม ฟอสฟอรัส 0.11 กรัม ต่อหนึ่งหน่วยบริโภค 261 กรัม ตามลำดับ
Other Abstract: People with dysphagia often experience physical problems due to choking or difficult swallowing when they eat food or drink water which will lead to malnutrition. Dysphagia can occur at any age, but it's more common in the elderly because of deterioration of the functions of various organs in the body and the effects of various diseases. In addition, chronic kidney disease and diabetes are often found in the elderly.This group of patients has a limitation in food intake due to abnormalities in the kidneys and metabolism in the body. The objective of this research is to develop semi-solid food that have suitable nutrition profile for chronic kidney disease and diabetes patients as well as providing an appropriate food texture for those with swallowing problems. This research is divided into 3 steps. The first step is to design nutrition profiles that suitable for chronic kidney disease and diabetes in one serving size (261 grams) which consists of 6.01 grams of protein, 16 grams of carbohydrates, 8 grams of fat, 8.91 grams of fiber, 0.2 gram of sodium, 0.6 gram of potassium and 0.2 gram of phosphorus. Then, varying the proportion of gelling agent (carrageenan) to thickening agent (guar gum) to 7:1, 5:3, 3:5 and 1:7 and analyze the textures using Texture Profile Analysis (TPA) method compare to the control sample (Nutri Jelly) to find the most appropriate texture. It is found that the proportion of carrageenan to guar gum to 5:3 has the most appropriate texture due to hardness and adhesiveness are no significant difference when compare to the control sample (p > 0.05). The second step is sensory analysis on different proportion of sucralose to maltitol to 1:0, 0.5:0.5 and 0:1 evaluated on 7-point hedonic scale. It is found that there are no significant difference in flavor, color and appearance between each proportion of sucralose to maltitol (p > 0.05). However, proportion of sucralose to maltitol to 1: 0 has highest hedonic scores of taste and overall acceptability (p ≤ 0.05). And in the final step, the appropriate formular is sterilized at 118 °C for 30 minutes in horizontal stream retort. The sterilization value is 4.1. Texture analyses show that there are no significant difference in hardness and adhesiveness when compare to the control sample (p > 0.05). The pH is 6.37.The color in L* A* B* is 79.34, 4.12 and 12.26. The food composition analyses show that there are 6.71 grams of protein, 24.74 grams of carbohydrates, 7.70 grams of fat , 0.09 gram of sodium, 0.30 gram of potassium and 0.11 gram of phosphorus.
Description: โครงงานเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีทางอาหาร คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2561
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/64177
Type: Senior Project
Appears in Collections:Sci - Senior Projects

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Warunthorn_N_Se_2561.pdf2.98 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.