Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/64405
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorเพ็ชรพร เชาวกิจเจริญ-
dc.contributor.authorลัดดา ยาวิรัชน์-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์-
dc.date.accessioned2020-03-23T13:53:34Z-
dc.date.available2020-03-23T13:53:34Z-
dc.date.issued2544-
dc.identifier.isbn9740302491-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/64405-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2544-
dc.description.abstractการวิจัยนี้เป็นการศึกษาถึงความสามารถและประสิทธิภาพในการกำจัดสีย้อม 2 ชนิดได้แก่ สีรีแอคทีฟและสีไดเรกท์ และสีน้ำกากสาของวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตร 3 ชนิด ได้แก่ชานอ้อย ผักตบชวาและเส้นใยลูกปาส์ม ทั้งชนิดที่ไม่ได้ผ่าน และผ่านการปรับสภาพด้วยการทำควอร์เทอร์ไนซ์ครอสส์ลิงก์ โดยทำการทดลองแบบแบตซ์ และแบบคอลัมน์ ผลการทดลองพบว่า วัสดุที่ผ่านการทำควอร์เทอร์ไนซ์ครอสส์ลิงก์ จะมีลักษณพื้นผิวขรุขระและมีร่องลึกต่าง ๆ มากกว่าวัสดุที่ไม่ได้ผ่านการปรับสภาพเล็กน้อย รวมทั้งมีค่าความหนาแน่น การบวมน้ำ พื้นที่ผิว และโครงสร้างหลักของวัสดุ ได้แก่ หมู่ไฮดรอกซิล-OH, หมู่อัลคิล-CH และ CH2-O และหมู่อัลคีน C=C สูงกว่าวัสดุที่ไม่ได้ปรับสภาพ สำหรับประสิทธิภาพในการกำจัดสีย้อมนั้นพบว่า ชานอ้อย ผักตบชวา และเส้นใยลูกปาล์มที่ไม่ได้ผ่านการปรับสภาพ มีประสิทธิภาพการกำจัดสีรีแอคทีฟ และสีไดเรกท์ เฉลี่ยเท่ากับ 6.02% ซึ่งจัดว่าต่ำกว่าวัสดุที่ผ่านการทำควอร์เทอร์ไนซ์ครอสส์ลิงก์มาก โดยวัสดุที่ผ่านการปรับสภาพ จะมีประสิทธิภาพ เฉลี่ยเท่ากับ 91.54% ซึ่งผลการศึกษาไอโซเทอมโดยใช้ชาน้อย พบว่า ความสามารถในการดูดติดสี มีความสัมพันธ์กับไอโซเทอมของการดูดซับแบบแลงมัวร์ นอกจากนี้ผลจากการทดลองแบบคอลัมน์ สรุปได้ว่าชานอ้อยที่ผ่านการปรับสภาพด้วยการทำควอร์เทอร์ไนซ์ครอสส์ลิงก์ เหมาะสมในการนำไปประยุกต์ใช้มากที่สุด โดยมีประสิทธิภาพในการกำจัดสีรีแอคทีฟ มรีมาโซล แบล็ค บี (Remazol Black B) รีมาโซล บริลเลียน บรู อาร์ (Remazol Brilliant Blue R) และ รีมาโซล บริลเลียน เรด 3 บีเอส (Remazol Brilliant Red 3BS) และสีไดเรกท์ เบส ไดเรกท์ แบลค บี (Best Direct Black B) ไซเรียส บรู เคซีเอฟเอ็น (Sirius Blue KCFN) และ ไซเรียส รูไบน์เคแซทบีแอล (Sirius Rubine KZBL) ได้ 141, 247, 247, 99, 211 และ 229 มิลลิกรัมต่อกรัมของชานอ้อย ตามลำดับ ส่วนประสิทธิภาพในการกำจัดสีน้ำ กากสานั้น จากการทดลองแบบแบตซ์ พบว่า ประสิทธิภาพการกำจัดสีน้ำกากสาของวัสดุที่ไม่ได้ผ่านการปรับสภาพ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 13.55% ซึ่งต่ำกว่าวัสดุที่ผ่านการทำควอร์เทอร์ไนซ์ครอสส์ลิงก์ที่มีประสิทธิภาพในการกำจัดสีน้ำกากสา เฉลี่ยเท่ากับ 75.26% และเมื่อทดลองผ่านคอลัมน์ พบว่าชานอ้อย ผักตบชวา และเส้นใยลูกปาล์ม ที่ผ่านการปรับสภาพด้วยการทำควอร์เทอร์ไนซ์ครอสส์ลิงก์ จะมีประสิทธิภาพในการกำจัดสีน้ำกากสา เท่ากับ 457, 847 และ 43 มิลลิกรัมต่อกรัมของวัสดุ ตามลำดับ-
dc.description.abstractalternativeThis study was conducted to determine the efficiency on color removal of bagasse, water hyacinth and palm oil fiber both before and after being treated by a quarternized crosslinked chemical substance. By performing batch and column experiments, two types of dyes namely reactive dyes and direct dyes and distillery wastewater w ere used as color sources. The experimental results showed that a physical property of bagasse, water hyacinth and palm oil fiber could be improve by the quarternized crosslinked ion-exchange process. As in the study, the quarternized crosslinked ion-exchange resin presented a greater number of roughness, channel, density, water fill up, surface area and functional group: hydroxyl group -O H , alkyl group -C H and - CH2 -O and alkene group C = C than untreated cellulose. The average reactive and direct dyes removal efficiency of untreated cellulose was 6.02%. This showed less efficiency than those of the quarternized crosslinked ion-exchange resin which was 91.54% average. The adsorption isotherm of Q -R bagasse was fitted in the Langmuir adsorption isotherm. As determined by the column experiments, it was found that Q -R bagasse is the most appropriate material to be used in color removal. The exchange capacity of reactive dyes (Remazol Black B, Remazol Brilliant Blue R and Remazol Brilliant Red 3BS) and direct dyes (Best Direct Black B, Sirius Blue KCFN and Sirius Rubine KZBL) w ere 141, 247, 247, 99, 211 and 229 mg/g material, respectively. The average color removal efficiency of distillery wastewater by using batch experiment of untreated cellulose was 13.55%. It was less than those of the quarternized crosslinked ion-exchange resin, which was 75.26% in average. For the column experiments, Q-R bagasse, water hyacinth and palm oil fiber showed an exchange capacity of 457, 847 and 43 mg/g material, respectively.-
dc.language.isoth-
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.subjectน้ำเสีย -- การบำบัด -- การกำจัดสี-
dc.subjectของเสียทางการเกษตร-
dc.subjectเรซินแลกเปลี่ยนไอออน-
dc.subjectSewage -- Purification -- Color removal-
dc.subjectAgricultural wastes-
dc.subjectIon exchange resins-
dc.titleการกำจัดสีโดยใช้เรซินแลกเปลี่ยนไอออนชนิดควอร์เทอร์ไนซ์ครอสส์ลิงก์เซลลูโลสที่ทำจากชานอ้อย ผักตบชวา และเส้นใยลูกปาล์ม-
dc.title.alternativeColor removal by quarternized crosslinked cellulose ion exchange resin made from bagasse water hyacinth & palm oil fiber-
dc.typeThesis-
dc.degree.nameวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต-
dc.degree.levelปริญญาโท-
dc.degree.disciplineวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม-
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Ladda_ya_front_p.pdfหน้าปก และ บทคัดย่อ962.43 kBAdobe PDFView/Open
Ladda_ya_ch1_p.pdfบทที่ 1677.35 kBAdobe PDFView/Open
Ladda_ya_ch2_p.pdfบทที่ 22.52 MBAdobe PDFView/Open
Ladda_ya_ch3_p.pdfบทที่ 3855.44 kBAdobe PDFView/Open
Ladda_ya_ch4_p.pdfบทที่ 45.4 MBAdobe PDFView/Open
Ladda_ya_ch5_p.pdfบทที่ 5655.47 kBAdobe PDFView/Open
Ladda_ya_ch6_p.pdfบทที่ 6596.89 kBAdobe PDFView/Open
Ladda_ya_back_p.pdfบรรณานุกรมและภาคผนวก3.24 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.