Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/6486
Title: ปัจจัยคัดสรรที่มีความสัมพันธ์กับความวิตกกังวลของผู้สูงอายุโรคต้อหิน
Other Titles: Selected factors related to anxiety of older persons with glaucoma
Authors: วาสนา ฟุ้งฟู
Advisors: ศิริพันธุ์ สาสัตย์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์
Advisor's Email: s_sasat@hotmail.com
Subjects: ความวิตกกังวล
ผู้สูงอายุ
โรคต้อหิน
Issue Date: 2548
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงบรรยาย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความวิตกกังวลของผู้สูงอายุ โรคต้อหินและเพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยคัดสรรได้แก่ เพศ อายุ ระดับการศึกษา รายได้ ความสามารถในการมองเห็น ระยะเวลาการเจ็บป่วย จำนวนโรคเรื้อรังอื่น ความสามารถใน การปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน การสนับสนุนทางสังคม และความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองกับความวิตก กังวลของผู้สูงอายุโรคต้อหิน กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้สูงอายุโรคต้อหินจำนวน 160 คน ที่มาติดตามการ รักษาที่คลินิกต้อหิน โรงพยาบาลราชวิถี โรงพยาบาลรามาธิบดี และโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า ซึ่งได้มาจากการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม ประกอบด้วยแบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบประเมินความสามารถในการปฏิบัติ กิจวัตรประจำวัน แบบสอบถามการสนับสนุนทางสังคม แบบสอบถามความรู้สึกมีคุณค่าในตนเอง และแบบสอบถาม ความวิตกกังวล ที่ผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ โดยการศึกษาครั้งนี้ ได้นำแบบสอบถามการสนับสนุนทางสังคม แบบสอบถามความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองและแบบสอบ ถามความวิตกกังวล มาตรวจสอบความเที่ยงโดยการคำนวณค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค โดยได้ค่าความเที่ยงเท่ากับ .863 .865 และ .983 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าความถี่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานหาความสัมพันธ์โดยหาค่าสัมประสิทธิ์การจรณ์ (Contingency Coefficient) ค่าสถิติทดสอบไคสแควร์ (Chi Square Test) และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน (Pearson{7f2019}s Product Moment Correlation Coefficient) ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. ความวิตกกังวล ของผู้สูงอายุโรคต้อหินอยู่ในระดับปานกลาง ([X-bar] = 2.65) 2. รายได้ จำนวนโรคเรื้อรังอื่นของ ผู้สูงอายุ ความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันและการสนับสนุนทางสังคมมีความสัมพันธ์ ทางลบในระดับต่ำกับความวิตกกังวลของผู้สูงอายุโรคต้อหิน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (r = -.186, -.277, -.245, และ -.273 ตามลำดับ) 3. ความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองมีความสัมพันธ์ทางลบ ในระดับปานกลางกับความวิตกกังวลของผู้สูงอายุโรคต้อหิน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (r = .586) 4. ระดับการศึกษาและความสามารถในการมองเห็นมีความเกี่ยวข้องกับความวิตกกังวล ของผู้สูงอายุโรคต้อหิน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (c = .25, และ .23 ตามลำดับ) 5. เพศ อายุ และระยะเวลาการเจ็บป่วยไม่มีความสัมพันธ์กับความวิตกกังวลของผู้สูงอายุโรคต้อหิน
Other Abstract: The purposes of this descriptive research were to study the anxiety of older persons with glaucoma and to investigate the relationships between age, sex, level of education, income, visual acuity, length of illness, numbers of other chronic illnesses, activity of daily living, social support, self esteem and anxiety of older persons with glaucoma. Subject consisted of 160 older persons with glaucoma at glaucoma clinic in Rachavithee Hospital, Ramathibodi Hospital and the King Mongkutklao Hospital, and were selected by using multi-stage sampling technique. Research instruments were demographic questionnaires, Barthel ADL Index, social support, self esteem and anxiety questionnaires which were tested for content validity and reliability. The reliabilities of social support, self esteem, and anxiety questionnaires were .863, .865 and .983 respectively. Data were analysed by using SPSS for Windows Version 13, including frequency, mean, standard deviation, Contingency Coefficient, Chi Square Test and Pearson's Product Moment Correlation Coefficient. Major findings were as follows: 1. Anxiety of the older persons with glaucoma was at medium level ([X-bar] = 2.65). 2. income, number of other chronic illness, activity of daily living and social support were significantly negative correlated with anxiety of the older persons with glaucoma, at low level of .05 (r = -.186, -.277, -.245, -.273, respectively). 3. Self esteem was significantly negative correlated with anxiety of the older persons with glaucoma, at medium level of .05 (r = -.586). 4. Level of education and visual acuity were significantly correlated with anxiety of the older persons with glaucoma, at level of .05 (c = .05, and .03, respectively). 5. Age, sex and length of illness were not correlated with anxiety of the older persons with glaucoma
Description: วิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2548
Degree Name: พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: พยาบาลศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/6486
ISBN: 9741424485
Type: Thesis
Appears in Collections:Nurse - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Wasana.pdf1.33 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.