Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/6490
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorบุษบา วิวัฒน์เวคิน-
dc.contributor.advisorภาวพันธ์ ภัทรโกศล-
dc.contributor.authorเอกสิทธิ์ โกวิทย์ดำรงค์-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์-
dc.date.accessioned2008-04-03T02:10:41Z-
dc.date.available2008-04-03T02:10:41Z-
dc.date.issued2546-
dc.identifier.isbn9741753039-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/6490-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2546en
dc.description.abstractวัตถุประสงค์: เพื่อเปรียบเทียบประสิทธิผลของการรักษาผู้ป่วยทารกโรคอุจจาระร่วงเป็นน้ำเฉียบพลันด้วยแลคโตบาซิลลัสร่วมกับไบฟิโดแบคทีเรียที่มีชีวิต, ไดอ็อกตาฮีดรัล สเม็กไทท์และสารละลายน้ำตาลเกลือแร่ทางปาก รูปแบบการวิจัย: เป็นการวิจัยแบบทดลอง open randomized controlled trial สถานที่ศึกษา: โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ประชากรที่ศึกษา: ผู้ป่วยเด็กอายุ 1 ถึง 24 เดือน ที่มารับการรักษาที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ด้วยโรคอุจจาระร่วมเป็นน้ำเฉียบพลัน ระหว่างมีนาคม พ.ศ. 2546 ถึงมกราคม พ.ศ. 2547 วิธีการศึกษา: ผู้ป่วยเด็กอายุ 1 ถึง 24 เดือน ที่มารับการรักษาที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ด้วยโรคอุจจาระร่วงเป็นน้ำเฉียบพลัน จำนวน 105 คน จัดเป็น 3 กลุ่ม ด้วยวิธีการสุ่มชนิด Random Number กลุ่มทดลองที่ 1 มีจำนวนผู้ป่วย 36 คน ได้รับการรักษาด้วยสารละลายน้ำตาลเกลือแร่ทางปากร่วมกับแลคโตบาซิลลัสและไบฟิโดแบคทีเรียที่มีชีวิต กลุ่มที่ 2 มีจำนวนผู้ป่วย 34 คน ได้รับการรักษาด้วยสารละลายน้ำตาลเกลือแร่ทางปากร่วมกับไดอ็อกตาฮีดรัล สเม็กไทท์ และกลุ่มควบคุม มีจำนวนผู้ป่วย 35 คน ได้รับการรักษาด้วยสารละลายน้ำตาลเกลือแร่ทางปากอย่างเดียว ผู้ป่วยได้รับการบันทึกความถี่และลักษณะของอุจจาระ และน้ำหนักที่เปลี่ยนแปลงภายหลังการรักษาจากผู้วิจัยและผู้ปกครองของผู้ป่วย ผลการศึกษา: ทั้ง 3 กลุ่มไม่มีความแตกต่างทางสถิติในด้านข้อมูลพื้นฐานก่อนการรักษา พบว่าผู้ป่วยกลุ่มที่ได้แลคโตบาซิลลัสและไบฟิโดแบคทีเรีย มีระยะเวลาที่มีอุจจาระร่วงลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ เท่ากับ 1.6+/-0.7 วัน เมื่อเทียบกับ 2.4+/-1.7 วัน ในผู้ป่วยกลุ่มที่ได้ไดอ็อกตาฮีดรัล สเม็กไทท์ และผู้ป่วยกลุ่มควบคุมตามลำดับ (p<0.001) โดยไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติของความถี่ของอุจจาระและน้ำหนักที่เปลี่ยนแปลงภายหลังให้การรักษาในผู้ป่วยทั้ง 3 กลุ่ม และไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติของระยะเวลาที่มีอุจจาระร่วงภายหลังให้การรักษาระหว่างผู้ป่วยกลุ่มที่ได้ไดอ็อกตาฮีดรัล สเม็กไทท์และกลุ่มควบคุม ผลสรุป: การรักษาผู้ป่วยทารกโรคอุจจาระร่วงเป็นน้ำเฉียบพลันด้วยแลคโตบาซิลลัส และไบฟิโดแบคทีเรียที่มีชีวิตลดระยะเวลาที่มีอาการอุจจาระร่วงลงได้อย่างมีนัยสำคัญเมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุมen
dc.description.abstractalternativeObjective: To compare the effectiveness of Lactobacillus plus Bifidobacteria, Dioctahedral Smectite and Oral Rehydration Solution in treatment of infantile acute watery diarrhea. Research design: Open, randomized controlled trial. Setting: King Chulalongkorn Memorial Hospital. Target population: Infants aged 1-24 months with acute watery diarrhea presented at King Chulalongkorn Memorial Hospital during March 2003 to January 2004. Methods: 105 infants aged 1-24 months with acute watery diarrhea presented at King Chulalongkorn Memorial Hospital were randomly divided into 3 groups. Study group 1 (n=36) was given Oral Rehydration Solution plus live Lactobacillus and Bifidobacteria. Study group 2 (n=34) was given Oral Rehydration Solution plus Dioctahedral Smectite. Control group (n=35) was given only Oral Rehydration Solution. Stool frequency, stool consistency and weight change after treatment were recorded by either researcher or their parents. Results: Baseline characteristics were similar among 3 groups. Patients receiving Lactobacillus plus Bifidobacteria had a significantly shorter duration of diarrhea after treatment [mean+/-SD, 1.6+/-0.7 days] than those receiving Dioctahedral Smectite [2.4+/-1.0 days] and those in the Control group [2.9+/-1.7 days] (p<0.001). Stool frequency and weight change after treatment were not significantly different among 3 groups. And there were no significant difference of duration of diarrhea after treatment between patients receiving Dioctahedral Smectite and those in the control group. Conclusion: Treatment of infantile acute watery diarrhea with live Lactobacillus plus Bifidobacteria significantly reduces duration of diarrhea compared with the control group.en
dc.format.extent578866 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectท้องร่วงในเด็กen
dc.subjectแลคโตแบซิลลัสen
dc.subjectไดอ็อกตาฮีดรัล สเม็กไทท์en
dc.titleการศึกษาแบบสุ่มเพื่อเปรียบเทียบการรักษาทารกโรคอุจจาระร่วงเป็นน้ำเฉียบพลันด้วยแลคโตบาซิลลัสร่วมกับไบฟิโดแบคทีเรีย และไดอ็อกตาฮีดรัล สเม็กไทท์en
dc.title.alternativeA randomized, controlled trial of Lactobacillus plus Bifidobacteria compared with dioctahedral smectite in infants with acute watery diarrheaen
dc.typeThesises
dc.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineกุมารเวชศาสตร์es
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorfmedbvv@md2.md.chula.ac.th-
dc.email.advisorParvapan.B@Chula.ac.th-
Appears in Collections:Med - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Ekasit.pdf565.3 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.