Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/65026
Title: ปฏิกิริยากลีเซอโรไลซิสของเมทิลปาล์มมิเตตโดยใช้โซเดียมฟอสเฟตเป็นตัวเร่งปฏิกิริยา
Other Titles: Glycerolysis of methyl palmitate using sodium phosphate as a catalyst
Authors: ภาณุพล ว่องกิตติพงษ์
Advisors: อภินันท์ สุทธิธารธวัช
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Advisor's Email: Apinan.S@Chula.ac.th
Issue Date: 2557
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วัตถุประสงค์ของงานวิจัยนี้เพื่อศึกษาปฏิกิริยากลีเซอโรไลซิสของเมทิลปาล์มมิเตตโดยใช้โซเดียมฟอสเฟตเป็นตัวเร่งปฏิกิริยา โดยการศึกษามีความมุ่งหวังเพื่อที่จะผลิตโมโนปาล์มมิตินที่มีค่าผลได้สูงที่สุดภายใต้ค่าการเปลี่ยนสูง ตัวเร่งปฏิกิริยาโซเดียมฟอสเฟตเป็นตัวเร่งปฏิกิริยาที่ใหม่ต่อปฏิกิริยากลีเซอโรไลซิส ซึ่งมีความจำเพาะต่อการเกิดโมโนปาล์มมิติน ในการศึกษางานวิจัยศึกษาผลกระทบของความเร็วรอบใบพัด อัตราส่วนของกลีเซอรอลต่อเมทิลปาล์มมิเตตโดยโมล  อุณหภูมิในการทดลอง ปริมาณตัวเร่งปฏิกิริยา และการศึกษาการนำเมทานอลออกจากระบบ ต่อปฏิกิริยากลีเซอโรไลซิสของเมทิลปาล์มมิเตต เมทานอลเป็นตัวแปรที่สำคัญต่อปฏิกิริยากลีเซอโรไลซิสของเมทิลปาล์มมิเตต เมื่อเมทานอลถูกแยกออกจากวัฏภาคเกิดปฏิกิริยาของเมทิลปาล์มมิเตต ทำให้ปฏิกิริยาดำเนินไปข้างหน้ามากขึ้น เกิดปริมาณผลิตภัณฑ์ในปริมาณมากขึ้น แต่ทำให้ค่าผลได้ของโมโนปาล์มมิตินมีค่าต่ำลง เมื่ออุณหภูมิสูงขึ้นทำให้ค่าการเปลี่ยนของกลีเซอรอลมีค่ามากขึ้น ปฏิกิริยาดำเนินไปข้างหน้ามากขึ้น เมื่ออัตราส่วนของกลีเซอรอลต่อเมทิลปาล์มมิเตตโดยโมลและปริมาณตัวเร่งปฏิกิริยาเพิ่มขึ้น ทำให้ค่าผลได้ของโมโนปาล์มมิตินมีค่าสูงขึ้น ในสภาวะที่เหมาะสมที่สุดในการผลิตโมโนปาล์มมิตินคือการทดลองที่อุณหภูมิ 245 องศาเซลเซียส อัตราส่วนกลีเซอรอลต่อเมทิลปาล์มมิเตตโดยมวล 3:1 ปริมาณตัวเร่งปฏิกิริยาร้อยละ 1 โดยมวลของเมทิลปาล์มมิเตต ภายใต้การนำเมทานอลออกจากระบบเป็น 1 ชั่วโมง ซึ่งค่าผลได้ของโมโนปาล์มมิตินที่มากที่สุดมีค่าร้อยละ 60 โดยโมล เมื่อค่าการเปลี่ยนของเมทิลปาล์มมิเตตร้อยละ 73 โดยโมล การทดลองในเครื่องปฏิกรณ์เหล็กกล้าไร้สนิมขนาด 2 ลิตร ทำการศึกษาที่ความเร็วรอบใบพัด 800 รอบต่อนาที เพื่อละผลกระทบของการถ่ายเทมวลสารต่ออัตราการเกิดปฏิกิริยา กลีเซอรอลวิเคราะห์ด้วยวิธีไทเทรต ผลิตภัณฑ์ที่เกิดขึ้นวิเคราะห์ด้วยเครื่องแก็สโครมาโทรกราฟีสมรรถนะสูง
Other Abstract: This work study glycerolysis of methyl palmitate using sodium phosphate as a catalyst. The study aim to synthesis the highest yield of monopalmitin. Sodium phosphate was a new catalyst for glycerolysis of methyl palmitate reaction. It was successful catalyst because of selectivity to monopalmitin. The influences of glycerolysis of methyl palmitate parameters; agitation speeds, molar ratio of glycerol to methyl palmitate, operating temperatures, the amount of catalyst and methanol removal from process were determined. Methanol was a key parameter for glycerolysis of methyl palmitate reaction because its influence reaction moving forward. The high amount of methanol which removed from methyl palmitate phase, reaction was forced to produce more product content but less monopalmitin yield. When the operating temperature was higher, glycerol conversion was also higher. The increasing of amount of catalyst and glycerol to methyl palmitate ratio, monopalmitin yield was higher. The highest monopalmitin yield condition was studied at 245 degree Celsius, molar ratio of glycerol to methyl palmitate 3:1, 1wt% of sodium phosphate with methanol removal 1h. The highest monopalmitin yield of the study was 60 percent yield with methyl palmitate conversion 73 percent by mole. The two liters autoclave stainless-steel reactor was agitated under 800 rpm condition to minimize effect of mass transfer on glycerolsis of methyl palmitate reaction. Glycerol was measured by titration. All products were determined by high temperature gas chromatography.  
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2557
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมเคมี
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/65026
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5570327621.pdf5.69 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.