Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/65085
Title: การตรวจสอบภาพถ่ายรอยแตกร้าวภายนอกอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก
Other Titles: Photo inspection of external crack in reinforced concrete building
Authors: ชนมน จารูญนาม
Advisors: วิทิต ปานสุข
รุ่งงรวี วัฒนพรพรหม
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Advisor's Email: Withit.P@Chula.ac.th
ไม่มีข้อมูล
Issue Date: 2562
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การตรวจสอบรอยแตกร้าวภายนอกอาคารคอนกรีตเสริมเหล็กในปัจจุบัน วิศวกรหรือผู้เชี่ยวชาญจะทำการตรวจสอบโดยการร่างลักษณะและประเมินขนาดความกว้างรอยแตกร้าวเบื้องต้น ซึ่งจะต้องใช้เวลา กำลังคน และค่าใช้จ่ายสูงในการทำงาน จึงได้มีการนำเทคโนโลยีการบันทึกภาพรอยแตกร้าวนำมาปรับปรุงใช้ในการตรวจสอบอาคาร ในงานวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยได้นำเอาเทคโนโลยีการบันทึกภาพรอยแตกร้าวเข้ามาประยุกต์ใช้ในการตรวจสอบรอยแตกร้าวภายนอกอาคารคอนกรีตเสริมเหล็กทั้งการบันทึกภาพด้วยกล้องถ่ายภาพ และการบันทึกภาพจากอากาศยานไร้คนขับหรือยูเอวี (Unmanned Aerial Vehicle: UAV) อีกทั้งยังทำการเปรียบเทียบการตรวจสอบดังกล่าวกับการตรวจสอบที่ใช้ทั่วไปคือการตรวจสอบโดยการประเมินด้วยสายตา และยังหาข้อบกพร่องในเรื่องระยะการถ่ายภาพที่เหมาะสมอีกด้วย จากผลการศึกษาสามารถหาระยะการถ่ายภาพที่เหมาะสมได้ และจากการเปรียบเทียบการตรวจสอบด้วยวิธีการประเมินด้วยสายตา วิธีการตรวจสอบภาพถ่ายจากกล้องถ่ายภาพ และวิธีการตรวจสอบภาพถ่ายจาก UAV พบว่าวิธีการตรวจสอบภาพถ่ายจาก UAV เป็นวิธีที่มีค่าเฉลี่ยเปอร์เซ็นต์ความคลาดเคลื่อนน้อยที่สุดเมื่อเทียบกับความกว้างรอยแตกร้าวที่เกิดขึ้นจริง เหมาะสมที่จะใช้ในการตรวจสอบภายนอกอาคารคอนกรีตเสริมเหล็กต่อไป
Other Abstract: An inspection of external cracks in reinforced concrete has been inspected by drawing a draft and estimate the width of initial cracks directly. The method would consume time, manpower, and also high in expense. Therefore, a new technology that could be used as a tool to capture all the cracks and measure crack width is utilized. In this research, the photograph shooting technology was applied to the external inspection of reinforced concrete structure’s cracks shooting with a camera and Unmanned Aerial Vehicle: UAV. Besides, the results from above inspection would compare to the general visual inspection to determine the most accuracy method. The study was also investigated on the appropriate photo shooting distance for the inspection. The results from the comparison among those three schemes showed that UAV photo inspection provide the smallest error percentage compared to the crack width data in actual concrete cracks. Hence, it can be concluded that UAV inspection would be the most appropriate method for the external inspection.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2562
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมโยธา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/65085
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2019.1208
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2019.1208
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6070147821.pdf3.86 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.