Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/65239
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | ทิพวรรณ ธราภิวัฒนานนท์ | - |
dc.contributor.author | วรรณา โล้วพฤกษ์มณี | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะทันตแพทยศาสตร์ | - |
dc.date.accessioned | 2020-04-10T18:31:27Z | - |
dc.date.available | 2020-04-10T18:31:27Z | - |
dc.date.issued | 2545 | - |
dc.identifier.issn | 9741710186 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/65239 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545 | en_US |
dc.description.abstract | การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงทดลองในห้องปฏิบัติการ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบแรงยึดเฉือนและการรั่วซึมของวัสดุเคลือบหลุมและร่องฟันประเภทเรซินผสมฟลูออไรด์ (เฮลิโอซิลเอฟ) กับวัสดุประเภทเรซินไม่ผสมฟลูออไรด์ (เฮลิโอซิล) การศึกษาแรงยึดเฉือนใช้ฟันกรามถาวรจำนวน 15 ซี่ แบ่งฟันในแนวด้านใกล้แก้ม-ใกล้ลิ้นออกเป็น 2 ส่วนเท่า ๆ กัน เลือกแบบสุ่มเข้ากลุ่มควบคุม (เฮลิโอซิล) และกลุ่มทดลอง (เฮลิโอซิลเอฟ) ยึดวัสดุเคลือบหลุมและร่องฟันขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 3 มิลลิเมตรบนผิวเคลือบฟันด้านใกล้แก้มที่เรียบและบ่มด้วยแสงให้แข็งตัวนำชิ้นตัวอย่างทั้งหมดแช่ในน้ำกลั่นที่อุณหภูมิ 37 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 24 ชั่วโมง จากนั้นทดสอบแรงยึดเฉือนด้วยเครื่องทดสอบสากลอินสตรอนที่ความเร็ว 0.5 มิลลิเมตรต่อนาที ผลการทดสอบค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานแรงยึดเฉือนของเฮลิโอซิลเอฟและเฮลิโอซิลมีค่า 15.91±5.18 และ 15.52±3.75 เมกกะปาสคาลเมื่อทดสอบด้วยสถิติ แพร์ทีเทส ที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95 พบว่าไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ การศึกษาการรั่วซึมใช้ฟันกรามน้อยบนจำนวน 30 ซี เลือกแบบสุ่มแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มละ 15 ซี่ เข้ากลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลอง หลังทางวัสดุเคลือบหลุมและร่องฟัน นำฟันทั้งหมดแช่ในน้ำกลั่นที่อุณหภูมิ 37 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 24 ชั่วโมง ก่อนนำไปผ่านขบวนการเทอร์โมไซคลิงที่ 5 กับ 55 องศาเซลเซียส สลับไปมาทุก ๆ 30 วินาที จำนวน 500 รอบ ทาน้ำยาทาเล็บและลงแช่ในสารละลายเมทิลลีนบลูเข้มข้นร้อยละ 1 เป็นเวลา 24 ชั่วโมง ตัดฟันที่หลุมและร่องฟันด้านใกล้และไกลกลางฟัน ส่องดูด้วยกล้องสเตอริโอไมโครสโคปกำลังขยาย 40 เท่า บันทึกการรั่วซึมเป็นร้อยละของระยะทางของวัสดุเคลือบหลุ่มและร่องฟัน ผลการทดสอบค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานการรั่วซึมของเฮลิโอซิลเอฟและเฮลิโอซิล ค่าร้อยละ 26.40±31.29 และ 36.33±32.24 เมื่อทดสอบด้วยสถิติ ทีเทส ที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95 พบว่าไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ | - |
dc.description.abstractalternative | The purpose of this in vitro study was to compare the shear bond strength and microleakage between fluoridated (Helioseal F) and non-fluoridated (Helioseal) resin sealants. Fifteen human permanent molars were used to test the shear bond strength. The teeth were sectioned equally in buccolingual direction and randomly assigned to control (Helioseal) and experimental (Helioseal F) groups. After sealants were placed, the specimens were immersed in distilled water at 37℃ for 24 hours. Then, the shear bond strength was tested with the Instron Universal Testing Machine at a crosshead speed of 0.5 millimeter per minute. The mean and standard deviation of the shear bond strength of Helioseal F and Helioseal were 15.91±5.18 and 15.52±3.75 MPa. Paired T-test at 95 % confidence interval showed that the difference was not statistically significant. Thirty human upper permanent premolars were used to test microleakage. The teeth were randomly assigned to control and experimental groups of 15 each. Sealants were applied and specimens were immersed in distilled water at 37°c for 24 hours before subjected to thermocycling (5º-5 5 º C, 30 second dwell time, 500 times). They w ere applied with nail varnish and immersed in 1% methylene blue solution for 24 hours. Each tooth was sectioned at mesial and distal pits. The penetrating depth of dye in comparison to the sealant depth was measured with a grid by stereomicroscope at 40x magnification. The leakage was expressed as percentage of dye penetration to sealant depth. The mean and standard deviation of leakage of Helioseal F and Helioseal were 26.4 0±31.29 and 36.33±32.24 % of sealant depth. T-test at 95 % confidence interval showed that the difference was not statistically significant. | - |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.14457/CU.the.2002.603 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.subject | ฟันผุ | en_US |
dc.subject | ฟลูออไรด์ | en_US |
dc.subject | ผิวเคลือบฟัน | en_US |
dc.subject | แรงเฉือน (กลศาสตร์) | en_US |
dc.subject | สารยึดติดทางทันตกรรม | en_US |
dc.subject | การยึดติดทางทันตกรรม | en_US |
dc.subject | Dental caries | en_US |
dc.subject | Fluorides | en_US |
dc.subject | Composite Resins | en_US |
dc.subject | Shear (Mechanics) | en_US |
dc.subject | Dental adhesives | en_US |
dc.subject | Dental bonding | en_US |
dc.title | การเปรียบเทียบแรงยึดเฉือนและการรั่วซึมของวัสดุเคลือบหลุมและร่องฟันประเภทเรซินผสมฟลูออไรด์กับประเภทเรซินไม่ผสมฟลูออไรด์ | en_US |
dc.title.alternative | The comparison of shear bond strength and microleakage between fluoridated and non-fluoridated resin sealants | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
dc.degree.name | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต | en_US |
dc.degree.level | ปริญญาโท | en_US |
dc.degree.discipline | ทันตกรรมสำหรับเด็ก | en_US |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.email.advisor | Thipawan.T@Chula.ac.th | - |
dc.identifier.DOI | 10.14457/CU.the.2002.603 | - |
Appears in Collections: | Dent - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Wanna_lo_front_p.pdf | หน้าปก บทคัดย่อ และสารบัญ | 861.48 kB | Adobe PDF | View/Open |
Wanna_lo_ch1_p.pdf | บทที่ 1 | 729.66 kB | Adobe PDF | View/Open |
Wanna_lo_ch2_p.pdf | บทที่ 2 | 1.33 MB | Adobe PDF | View/Open |
Wanna_lo_ch3_p.pdf | บทที่ 3 | 939.44 kB | Adobe PDF | View/Open |
Wanna_lo_ch4_p.pdf | บทที่ 4 | 667.37 kB | Adobe PDF | View/Open |
Wanna_lo_ch5_p.pdf | บทที่ 5 | 864.18 kB | Adobe PDF | View/Open |
Wanna_lo_back_p.pdf | รายการอ้างอิง และภาคผนวก | 1.11 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.